วันนี้มาด้วย..ความรู้นิดหน่อยครับ ..การปฎิบัติให้ถูกกอง.
โดย pepsi5510
pepsi5510
#1
เหอๆๆเพื่อนๆคงอ่านแล้วคิดว่าผมเขียนผิด...แทนที่ที่เขียนการปฏิบัติให้ถูกกอง เป็นการปฎิบัติให้ถูกต้อง.....

วันนี้ผมนําเอาบทความในหัวเรื่อง การปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ให้ถูกกองกรรมฐานมานําเสนอครับ. บางท่านคิดว่าทําไมเรานั่งสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานแล้วไปไม่ถึงไหน...

ดังนั้นจึงเกิดเป็นกองกรรมฐานขึ้นมาถึง 40 กอง.

การฝึกกรรมฐานนั้น ควรพิจารณาในเบื้องต้นว่าตัวเราเองถูกจริตกับกรรมฐานของไหนมากที่สุด ก็

ให้ใช้สิ่งนั้นเป็นตัวกำหนดเพิจารณา หรือถ้าอยากจะลองหลายๆ อย่างก็ได้ เพื่อดูว่าสิ่งใดเหมาะสม

กับตัวเรามากที่สุด ที่ว่าเหมาะสมก็คือ การที่เราเพิ่งพิจารณาแล้ว ทำให้เรามีใจที่สงบ เห็นสภาพ

ตามความเป็นจริงในสิ่งที่นำมาพิจารณานั้นโดยเนื้อแท้ แต่ถ้าจะให้ดีควรจะลองให้มากกว่า ๑ อย่าง

ขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ทั้งหมดนี้ก็คืออุบายในการโน้มใจเราให้เข้าถึงธรรมชาติ เกิดความเบื่อ

หน่ายในสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ และเห็นธรรม เกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นตามความเป็นจริงตามสภาพ

ของวัตถุธาตุและกระบวนการของขันธ์ ๕ นั่นเอง รวมแล้วมี ๔๐ อย่างดังนี้





๑. วัตถุที่ใช้เพ่งรวมจิตให้สงบนิ่ง (กสิณ ๑๐)

๒. สิ่งที่ไม่สวยงาม ของเน่าเสีย (อสุภะ ๑๐)

๓. ใช้การระลึกถึง (อนุสติ ๑๐)

๔. ธรรมที่ใช้สำหรับดำเนินชีวิตอันประเสริฐ (อัปปมัญญา ๔)

๕. อาหารที่ต้องเน่าเสีย (อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)

๖. ใช้การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ในกาย (จตุธาตุววัฏฐาน)

๗. ใช้สิ่งที่ไม่มีรูป จับต้องไม่ได้เป็นอารมณ์ (อรูป ๔)




1.วัตถุที่ใช้สำหรับเพ่งเพื่อโน้มน้าวรวมจิตให้เกิดสมาธิได้มี ๑๐ อย่าง (กสิณ ๑๐) ได้แก่

๑.ดิน (ปฐวีกสิณ) ๖.สีเหลือง (ปีตกกสิณ)

๒.น้ำ (อาโปกสิณ) ๗.สีแดง (โลหิตกสิณ)

๓.ไฟ (เตโชกสิณ) ๘.สีขาว (โอทาตกสิณ)

๔.ลม (วาโยกสิณ) ๙.แสงสว่าง (อาโลกกสิณ)

๕.สีเขียว (นีลกสิณ) ๑๐.ที่ว่างเปล่า (อากาสกสิณ)

(คือการเพ่งด้วยตา...เพื่อให้จิตรวมเป็นหนึ่ง เรียกได้ว่าเป็นการเพ่งกสิณ)

...................................................................................

2.สิ่งที่ไม่สวยงามสามารถนำมาใช้เป็นอารมณ์ในการทำกรรมฐานได้ ๑๐ อย่าง (อสุภ ๑๐) มีดังนี้คือ

๑.ซากศพที่เน่าพอง (อุทธุมาตกะ) ๖.ซากศพที่หลุดออกเป็นส่วนๆ (วิกขิตตกะ)

๒.ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละสีต่างๆ (วินีลกะ) ๗.ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อนๆ (หตวิกขิตตกะ)

๓.ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มปริออกมา (วิปุพพกะ) ๘.ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบอยู่ (โลหิตกะ)

๔.ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน (วิจฉิททกะ) ๙.ซากศพที่เต็มไปด้วยหนอน (ปุฬุวกะ)

๕.ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว (วิกขายิตกะ) ๑๐.ซากศพที่เหลือแต่กระดูก (อัฏฐิกะ)

(คือการเพ่งด้วยตา หรือจะนําเอามาเป็นอารมณ์ในการปฎิบัติ เรียกได้ว่า เป็นกอง อสุภ)

3. ใช้การระลึกถึงเป็นอารมณ์ในการทำกรรมฐาน (อนุสติ ๑๐) มี๑๐ อย่างดังนี้

๑.ระสึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า (พุทธานุสติ) ๖.นึกถึงพระคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย (เทวดานุสติ)

๒.ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอน (ธัมมานุสติ) ๗.ใช้ความตายเป็นอารมณ์ (มรณสติ)

๓.ระลึกถึงพระสงฆ์ (สังฆานุสติ) ๘.พิจารณาส่วนประกอบในร่างกายเรา (กายคตาสติ)

๔.ระลึกถึงศีลที่เราปฏิบัติ (สีลานุสติ) ๙.ใช้จิตกำหนดที่ลมหายใจ (อานาปานสติ)

๕.นึกถึงการบริจาคทานที่เราเคยทำ (จาคานุสติ) ๑๐.ระลึกถึงคุณของพระธรรม(อุปสมานุสติ)

(นําเอามาเป็นอารมณ์ในการปฎิบัติ)


4. ระลึกถึงธรรมที่ประเสริฐที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่าพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง (เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา)

๑.เมตตา คือความปรารถนาที่อยากให้ผู้อื่นมีความสุข

๒.กรุณา คือความคิดรู้สึกสงสารอยากให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์

๓.มุทิตา คือความรู้สึกยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีสุข

๔.อุเบกขา คือการวางเฉย เป็นกลางในความประพฤติและความคิด

(นําเอาเป็นอารมณ์ในการปฎิบัติ)



5. ใช้อาหารเป็นอารมณ์ในการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลง เน่าเสีย บูดและกินไม่ได้ (อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)
(นําเอามาเป็นอารมณ์ในการปฎิบัติ)



6.พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย (จตุธาตุววัฏฐาน)

๑.ธาตุที่กินพื้นที่นั่นก็คือธาตุดิน (ปฐวีธาตุ)

๒.ธาตุที่เป็นของเหลวนั่นก็คือธาตุน้ำ (อาโปธาตุ)

๓.ธาตุที่มีความร้อนนั่นก็คือธาตุไฟ (เตโชธาตุ)

๔.ธาตุที่ทำให้สั่นไหวนั่นก็คือธาตุลม (วาโยธาตุ)

(นําเอามาเป็นอารมณ์ในการปฎิบัติ) กองนี้ไม่ใช่เป็นการเพ่งกสิณนะครับ...กองนี้เป็นการเอาอารมณ์ในการปฎิบัติ เพื่อพิจารณาธาตุทั้ง 4 ในร่างกายเรา.



7. ใช้สิ่งที่ไม่มีรูปคือจับต้องไม่ได้เป็นอารมณ์มี ๔ อย่าง (อรูป ๔) ได้แก่

๑.ภาวะของฌาณที่ใช้ช่องว่าง หรือความว่างเปล่าอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (อากาสานัญจายตนะ)

๒.ภาวะของฌาณที่ใช้ความหาที่สุดไม่ได้ของวิญญาณเป็นอารมณ์ (วิญญาณัญจายตนะ)

๓.ภาวะของฌาณที่ใช้ภาวะที่ไม่มีอะไรกำหนดเป็นอารมณ์ (อากิญจัญญายตนะ)

๔.ภาวะของฌาณที่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)

(นําเอามาเป็นอารมณ์ในการปฎิบัติ)




คัดลอกออกมาจากหนังสือ... วิปัสสนากรรมฐาน 40 กอง
titled
#2
^^ขอบคุณนะครับ น่ารักจริงๆเลยครับ
noinoi5
#3
ขอบคุณนะคะ....แต่ยากจัง....

คือต้องเลือกแต่ละกองเพื่อนำมาปฏิบัติใช่ไหมคะ...

ให้เราเพ่งจิต..ไปถึงสิ่งที่เรานึกถึงใช่ไหมคะ
TEDDY07
#4
ขอบคุณจ๊ะ เอ๊ะ คุ้นๆๆ 555555555555555
hut2211
#5
ขอขอบคุณและอนุโมทนากับคุณอาpepsi ครับ
ขออนุญาติเพิ่มเติมในส่วนของกรรมฐาน ครับ
เพื่อให้มีสติเท่าทันอารมณ์ตามหลักสติปัฏฐาน 4
ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติธรรมครับ

อารมณ์ของสติปัฏฐาน มี 4 อย่าง คือ
1.ดูกายในกาย
2.ดูเวทนาในเวทนา
3.ดูจิตใจจิต
4.ดูธรรมในธรรม

1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ดูกายในกาย)


คือสติที่ตั้งมั่นพิจารณากายเนืองๆ ได้แก่สติ ที่กำหนดรู้ ที่เรากำหนดอยู่ ณ บัดนี้
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อิริยาบถใหญ่ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถย่อย
ได้แก่การเคลื่อนไหว คู้เหยียด เหยียดขา เป็นต้น
เพื่อให้ตระหนักว่า การยืน การเดิน นั่ง นอน อันเป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น
เกิดจากธาตุลมที่มีอยู่ในร่างกาย โดยอำนาจของจิต

ทางธรรมะ เรียกว่ารูป คือ รูปที่เกิดจากจิต หาได้มีผู้ใดมาบงการแต่อย่างใดไม่
ในบางแห่งจะพบว่าพิจารณากายในกาย หรือกายในอันเป็นภายใน
กายในอันเป็นภายนอก คำเหล่านี้เป็นภาษาธรรมะ อธิบายกันเป็นหลายนัย
เช่น กาเยกายานุปัสสี แปลว่าเห็นกายในกาย คำว่ากาเย หมายถึง รูปกับกายคือ กัมมัชรูป
แต่ร่างกายมีทั้งจิต เจตสิกและรูป ส่วนคำว่ากายานุปัสสี หมายเพียงให้กำหนดดูแต่รูปธรรมเท่านั้น
คือดูรูปอย่างเดียว ไม่ใช่ดูจิต เจตสิกที่มีอยู่ในร่างกายด้วย

คำว่า กายในกาย หมายตรงว่า รูปในรูป แต่ในร่างกายนี้มีมากมายหลายรูป
แต่ให้พิจารณาดูรูปเดียวในหลายๆ รูปนั้น

เช่นจะพิจารณาลมหายใจเข้าออก พองหนอ ยุบหนอ คือลมหายใจเข้าก็พอง
ลมหายใจออกก็ยุบ ก็พิจารณาวาโยธาตุแต่รูปเดียว เรียกว่าอานาปานสติ
ลมหายใจเข้าออก พองหนอ ยุบหนอ เรียกว่าอานาปานสติ

ส่วนคำว่ากายในอันเป็นภายใน และกายในอันเป็นภายนอกนั้น
ถ้าพิจารณาดูรูปในกายของตนเองก็เป็นภายใน รูปในกายผู้อื่นถือว่าเป็นภายนอก ดังนี้


2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ดูเวทนาในเวทนา)


การพิจารณาเวทนานี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว ต่างกับพิจารณากาย
ช้ได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา เพราะจะเพ่งเวทนาโดยความเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐาน
ให้เกิดฌาณจิตหาได้ไม่ การพิจารณาเวทนา จะเป็นสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาก็ดี
เป็นธรรมชาติที่ไม่มีรูปร่างสัณฐานที่จะให้เห็นได้ด้วยตา จึงมิใช่รูปธาตุ แต่เป็นนามธาตุ

เวทนาจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุปัจจัย จะห้ามไม่ให้เกิดก็ห้ามไม่ได้ ครั้นเมื่อหมดเหตุปัจจัยก็จะดับไปเอง
หมดไปเอง เป็นต้น

อนึ่ง ความหมายของเวทนาในเวทนานี้ และเวทนาในเวทนาอันเป็นภายในภายนอก
ก็เป็นทำนองเดียวกับกายในกายตามที่กล่าวมาแล้ว

ความจริงเวทนาก็เกิดอยู่ทุกขณะ ไม่มีเวลาว่างเว้นเลย คนทั้งหลายก็รู้สึกสุขบ้าง ทุกข์บ้าง
เพราะไปยึดว่า เราสุข เราทุกข์ จึงไม่อาจรู้สภาวะความเป็นจริงได้
เวทนานี้เวลาเกิดก็จะเกิดแต่อย่างเดียว เป็นเจตสิกธรรม ปรุงแต่งจิตให้รับรู้


3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ดูจิตใจจิต)


สติตั้งมั่นพิจารณาเนืองๆ ซึ่งจิต ก็คือ วิญญาณชันธ์ ที่กำหนดพิจารณาจิต ก็เพื่อให้รู้เท่าทันว่า
จิตที่กำลังเกิดอยู่นั้นเป็นจิตชนิดใด เป็นจิตโลภ จิตหลง จิตฟุ้งซ่าน จิตที่เป็นสมาธิ หรือไม่เป็นสมาธิ

เพื่อให้ประจักษ์ชัดว่า ที่มีความรู้สึกโลภ โกรธ หลง หรือ ศัรทธา ฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน เป็นอาการของจิต
เป็นธรรมชาติที่เป็นนามธรรม ย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่มาปรุงแต่ง เพื่อรับอารมณ์
เมื่อหมดเหตุปัจจัย อาการนั้นๆ ก็ดับไปเอง ไม่มีอะไรเหลืออยู่

อันสภาวธรรมที่เรียกว่าจิตนั้น เป็นธรรมชาติที่ไม่มีตัวตน เห็นด้วยตาก็ไม่ได้ จึงไม่ใช่รูปธรรม
แต่เป็นนามธรรม เป็นนามจิต ไม่ใช่นามเจตสิก เช่น เวทนา เป็นต้น

ที่ว่าจิตในจิต หรือจิตภายใน จิตภายนอกนั้น ก็เช่นเดียวกันกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเหมือนกัน


4. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ดูธรรมในธรรม)


สติตั้งมั่นพิจารณาเนืองๆ ซึ่งธรรม มีนิวรณ์ อุปาทานขันธ์ อายตนะ โพชฌงค์ อริยสัจ
ธรรมานุปัสสนาสติปัฎฐานนี้ เป็นสติในการเจริญวิปัสสนาแต่อย่างเดียว
เป็นการพิจารณาให้รู้ให้เห็นทั้งรูปทั้งนาม จึงกล่าวได้ว่า
การพิจารณา กาย เวทนา และจิต ย่อมรวมลงได้ในธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานทั้งสิ้น


สรุปแล้วการเจริญสติปัฏฐาน 4 ก็เพื่อให้เกิดปัญญารู้ว่า
กายก็สักแต่ว่ากาย เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา จิตก็สักแต่ว่าจิต
ล้วนเป็นเพียงธรรมชาติ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนเราเขา
แม้แต่สติหรือปัญญาที่รู้ก็เป็นเพียงธรรมชาติเท่านั้น


ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้ พิจารณาทั้งรูปธรรม นามธรรม ปัญญารู้แจ้ง
เห็นชัดทั้งรูปทั้งนาม แยกจากกันเป็นคนละสิ่งคนละส่วน รูปก็ส่วนรูป
นามก็ส่วนนาม ไม่ปะปนกัน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
รู้เห็นเช่นนี้จัดว่าเข้าถึงนามรูปปริจเฉทญาณอันเป็นญาณต้น
ที่เป็นทางให้บรรลุถึงมรรคและผลต่อไป


ผลที่ได้รับจากการเจริญสติปัฏฐาน 4 นั้นก็คือ


1. พิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาก็คือ รูปขันธ์
เหมาะแก่มัณฑบุคคลที่มีตัณหาจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณา
ได้แก่ อสุภสัญญา จะประหารสุภสัญญา

2. พิจารณาเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาคือ เวทนาขันธ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ละเอียด
เหมาะแก่บุคคลซึ่งมีตัณหาจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณาได้แก่
ทุกขสัญญา ทำให้ประหารสุขสัญญาเสียได้

3. พิจารณาจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาคือ วิญญาณขันธ์ ซึ่งมีอารมณ์ไม่กว้างขวางนัก
เหมาะแก่มัณฑบุคคลที่มีทิฏฐิจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณา ได้แก่ อนิจจสัญญา
ทำให้ประหารนิจจสัญญาเสียได้

4. พิจารณาธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อารมณ์ที่พิจารณาคือ ทั้งรูปทั้งนาม ซึ่งมีอารมณ์กว้างขวางมาก
เหมาะแก่บุคคลที่มีทิฏฐิจริต เพราะนิมิตที่ได้จากการพิจารณาได้แก่ อนัตตสัญญา
ทำให้ประหารอัตตสัญญาเสียได้


ฉะนั้น การเจริญสติปัฏฐาน ก็เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นรูปเห็นนามที่เคยแห็นว่าสวยงาม
เห็นว่าเป็นความสุขสบาย เห็นว่าเที่ยง เห็นว่าเป็นตัวตน จะได้รู้ว่าของจริงแท้นั้นเป็นประการใด?


************************************

แหล่งที่มา : หนังสือ “ชีวิต การงาน หลักธรรม หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม” หน้า 183-187
ขอขอบคุณและอนุโมทนาบทความดี ๆ จาก http://forum.sukiflix.com/index.php?topic=253.5;wap2
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3