เจาะลึกการรักษาอาการปวดหลังอย่างตรงจุด ปวดหลังแบบไหน บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?
โดย thidaratt
thidaratt
#1
อาการปวดหลัง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การยกของหนักเกินกำลัง การนั่ง การนอนที่ผิดท่า การออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการสะพายกระเป๋าที่ใส่ของหนักในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นประจำ ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้ปวดหลังได้เช่นกัน และอาการปวดหลัง ก็สามารถบ่งบอกถึงโรคต่าง ๆ ที่คุณกำลังเป็นอยู่ได้ วันนี้เรามีข้อมูลแบบเจาะลึกเกี่ยวกับการรักษาอาการปวดหลัง จากศูนย์กระดูกสันหลังของทางโรงพยาบาลนครธนมาฝากกันค่ะ ปวดหลังแบบไหน บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง? มาดูกันเลย



เมื่อมีอาการปวดหลัง หลายคนเลือกที่จะเมินเฉยกับอาการปวดนี้ หรือแค่หายาแก้ปวดมารับประทานเพื่อบรรเทาอาการ ข้อสังเกตสำคัญหากปวดหลังร่วมกับอาการร้าวลงขาหรือปวดคอร้าวลงแขน และปวดบริเวณอื่น ๆ ร่วมด้วย คงไม่ใช่แค่อาการปวดหลังธรรมดา เพราะอาการปวดหลังในแต่ละแบบนั้น อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกความผิดปกติของร่างกายหรือโรคต่าง ๆ ได้

อาการปวดหลังแบบไหน บ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง
ปวดหลังแบบกว้างๆ ก้มหรือแอ่นหลังไม่ได้ – โรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน

โรคนี้ไม่ได้เกิดหรือเกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังโดยตรง แต่เป็นที่กล้ามเนื้อหลังโดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุโดนกระแทกที่หลัง การเล่นกีฬาอย่างหนัก จนทำให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบอักเสบเฉียบพลันทันที โดยอาการที่พบจะปวดเกร็งหลัง ปวดตึงหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา รู้สึกปวดหลังแบบกว้างๆ ระบุตำแหน่งชัดเจนไม่ได้ รวมทั้งอาการยังคล้ายหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา

ปวดหลังร้าวลงขา ไอ จาม หรือเบ่งจะยิ่งปวด – โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากเจลในหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือรากประสาท ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก นั่งทำงานอยู่ในท่านั่งเดิมเป็นเวลานาน แล้วไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมถึงความเสื่อมตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม ผู้ป่วยจะมีอาการมีอาการปวดหลังรุนแรง ปวดมากจนไม่อาจขยับตัวได้ ปวดหลังร้าวลงขา ปวดขณะไอ จาม รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการชา ขาอ่อนแรง มีอาการผิดปกติในการควบคุมปัสสาวะและ อุจจาระ มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวได้ไม่ดี เดินลำบาก ขาแข็งเกร็ง เป็นต้น

ปวดหลังแบบขัดๆ ภายในข้อ ปวดลึก ปวดเสียว – โรคกระดูกสันหลังเสื่อม
มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังทรุดตัว จากข้อต่อ Facet joint ที่ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เกิดเสื่อมลง เป็นผลให้ข้อกระดูกชิ้นบนกับชิ้นล่างอยู่ชิดกันมากเกินไป หากเป็นในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเมื่อใดที่ข้อต่อนั้นเสื่อมสภาพลงมากจนทำให้กระดูกสันหลังทรุดตัวลงเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการปวดหลัง เมื่อใช้มือกดไปที่ข้อกระดูกสันหลังตรง ๆ จะรู้สึกปวดลึก ปวดเสียว และรู้สึกขัดๆ ภายในข้อ สามารถชี้ระบุตำแหน่งได้ชัดเจน หลังแข็งก้มหลังได้น้อยลง บางครั้งอาจเกิดกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งค้าง จนนำไปสู่อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้

ปวดหลังส่วนล่าง ปวดร้าวลงสะโพก ก้น ต้นขา – โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ โดยมักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เกิดจากข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม อุบัติเหตุที่มีการกระแทกต่อกระดูกสันหลังโดยตรงจนทำให้ข้อเคลื่อน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่อ้วนลงพุง ผู้ที่ทำงานต้องก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ และอาจเกิดจากติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น วัณโรคกระดูกหลัง เป็นต้น โดยมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดมากเมื่อยืนหรือเดิน ผู้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อนมากจะมี อาการปวดร้าวลงสะโพก ก้น ต้นขา แต่ถ้ากระดูกเคลื่อนไปโดนเส้นประสาทจะมีอาการขาชา และขาอ่อนแรงร่วมด้วย

ปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง – โรคไต โรคนิ่ว
โรคที่เกิดจากความผิดปกติภายใน เช่น โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น จนทำให้มีอาการปวดหลังบริเวณเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีอาการปัสสาวะขุ่น แสบ ขัด มีไข้ นอกจากนี้โรคกระเพาะ ลำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก็ส่งให้เกิดอาการปวดหลังบริเวณนี้เช่นกัน แต่โรคเหล่านี้มักจะมีอาการปวดท้องควบคู่กันด้วย

เจาะลึกถึงปัญหาการรักษาอาการปวดหลังอย่างตรงจุด
ขั้นตอนรักษาอาการปวดหลัง ปวดคอ ของศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน แพทย์จะเลือกการผ่าตัดเป็นวิธีการสุดท้าย โดยจะใช้แนวทางการรักษาด้านอื่น ๆ ก่อนการผ่าตัดเสมอ (ยกเว้นในรายที่แพทย์พิจารณาว่ามีอาการรุนแรง) โดยพิจารณาแนวทางการรักษา เป็น 3 รูปแบบ
1.การรักษาแบบประคับประคอง โดยการรับประทานยา ทำกายภาพบำบัด พร้อมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำวัน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการปวดไม่หายไปในเวลา 3 เดือน อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีที่ 2 และ 3

2.การรักษากระดูกสันหลังแบบไม่ต้องผ่าตัด
- การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการปวด ลดอาการอักเสบและบวมของปมประสาทที่เกิดจากหมอนรองกระดูกกดทับหรือโพรงประสาทตีบ
- การใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อบำบัดปวดข้อต่อฟาเซ็ต ทำให้ลดการส่งสัญญาณปวดและลดอาการปวด
- การฉีดยาข้อต่อฟาเซ็ตหรือเข้าเส้นประสาทฟาเซ็ต จะใช้การฉีดยาชาที่อาจผสมกับยาเสตียรอยด์ไปบริเวณข้อต่อฟาเซ็ตหรือเส้นประสาทฟาเซ็ตที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุที่ปวด

3.การรักษากระดูกสันหลังแบบผ่าตัด
- การผ่าตัดโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้องเอ็นโดสโคป
การผ่าตัดจะทำผ่านกล้องเอ็นโดสโคปความละเอียดสูงโดยสอดกล้องผ่านแผลเล็ก ๆ ทางผิวหนังเข้าไปยังกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาแบบ “Minimally Invasive Spine Surgery” ที่มีแผลผ่าตัดเล็ก อาการปวดแผลผ่าตัดน้อย ความเสี่ยงในการติดเชื้อต่ำ ลดการทำลายเนื้อเยื่อส่วนดีที่อยู่รอบบริเวณผ่าตัด และผู้ป่วยฟื้นตัวหลังผ่าตัดเร็ว สามารถกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง
- การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกต้นคอจากทางด้านหน้า รักษาโรคหรือภาวะหมอนรองกระดูกต้นคอเลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือทับไขสันหลังหรือหมอนรองกระดูกต้นคอที่เสื่อม ร่วมกับมีกระดูกงอกกดทับเส้นประสาท
- การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกคอเทียม ผ่าตัดโดยใช้กล้องไมโครสโคปเพื่อนำหมอนรองกระดูกต้นคอ ที่เคลื่อนทับเส้นประสาทอออก แล้วแทนที่ด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังต้นคอเทียม
- การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังระดับเอวแบบผ่านทางรูออกเส้นประสาท พร้อมกับนำหมอนรองกระดูกออกทั้งหมดแล้วใส่หมอนรองกระดูกเทียม ใส่สกรูยึดระหว่างข้อและเศษกระดูก เพื่อให้เกิดการเชื่อมของกระดูก
- การฉีดซีเมนต์เสริมกระดูกด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์นำวิถี เป็นการฉีดซีเมนต์ผ่านผิวหนัง ผ่านทางแผลเล็ก ๆ ที่มีขนาดราวหลอดกาแฟ เข้าไปเสริมกระดูกส่วนที่หักโดยไม่ต้องยึดสกรู

รูปแบบใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ ของบำรุงราษฎร์ที่เรียกว่า บำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิรก์
คือการนำองค์ความรู้ทางการแพทย์ บุคลากรที่มีประสบการณ์เทคโนโลยีของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ที่ได้สั่งสมมากว่า 40 ปี มาร่วมมือกับ โรงพยาบาลนครธน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันให้บริการทางการแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเทคโนโลยีการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ทันสมัยเพื่อผลการรักษาและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมได้รับการรักษาในราคาที่สามารถเข้าถึงได้

เมื่อมีอาการปวดหลังตามตำแหน่งต่าง ๆ ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการปวดหลังอาจมีหลายสาเหตุ ดังนั้นเมื่อมีสัญญาณเตือนอาการเหล่านี้ ควรเริ่มป้องกันและค้นหาต้นตอสาเหตุคือสิ่งที่ดีที่สุด และเมื่อมีอาการแล้วก็ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงโรคร้ายแรงได้ ควรรีบนำมาปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านโรคกระดูกสันหลัง ของศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลก่อนได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยค่ะ

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน https://www.nakornthon.com/article/detail/อย่ามองข้ามอาการปวดหลัง-อาจเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกโรค
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3