ข้อเข่าเสื่อม โรคเจ้าปัญหาที่พบบ่อยในวัยของผู้สูงอายุ โดยเริ่มตั้งแต่อายุ 30-45 ปีขึ้นไป อาการของโรคจะมีความรุนแรงมากขึ้น และพบบ่อยคือเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีอาการปวดตามข้อเข่าหรือเดินขัดๆในข้อ ซึ่งอาการของโรคมักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการลุก นั่ง ยืน เดิน ขึ้นลงบันได หรือเวลาจะไปไหนมาไหนก็ลำบาก วันนี้เราจะพามาดูพฤติกรรมที่ทำร้ายข้อเข่าให้เสื่อมก่อนวัยอันควรกันเลยดีกว่า เพื่อเป็นแนวทางป้องกันตัวเองและคนรอบข้างในอนาคต พร้อมแนะนำแคลเซียมเสริมกระดูกที่ตอบโจทย์สำหรับทุกวัยมาฝากกัน
• คนที่ชอบนั่งงอเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยอง ๆอยู่เป็นประจำจะทำให้แรงอัดภายในข้อเข่าเพิ่มขึ้น เป็นการรบกวนการนำอาหารไปสู่เซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ โรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เริ่มจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อโดยตรง และเมื่อเกิดอาการมากขึ้นการสึกหรอจะลามไปยังองค์ประกอบอื่นของข้อเข่า เช่น ชั้นใต้กระดูกอ่อนซึ่งเป็นกระดูกแข็ง จะเกิดถุงน้ำข้างใต้กระดูก หมอนรองเข่าสึก เอ็นหุ้มข้อเข่าหนาตัวขึ้น มีกระดูกงอกบริเวณปลายกระดูก เป็นต้น
• กรณีน้ำหนักตัวมากเกินก็เป็นอีกสาเหตุเร่งให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้นก่อนวัยอันควร เพราะข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลาที่ใช้งานข้อ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน ขึ้นลงบันได รวมไปถึง activity ต่างๆในชีวิตประจำวัน
• สำหรับผู้หญิงที่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงอยู่เป็นประจำก็ทำให้ข้อเช่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน เพราะรองเท้าประเภทนี้ เมื่อสวมใส่เป็นเวลานานๆ ข้อเข่าจะมีแรงกดทับมากกว่าปกติ อีกทั้งยังทำร้ายข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ส่วนที่เป็นอวัยวะรับน้ำหนักก่อนจุดอื่น ๆ ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำหนักได้ง่าย และหากคนที่ข้อเข่าไม่แข็งแรง หรือมีโครงสร้างร่างกายผิดปกติ จะมีผลกระทบมากกว่าคนปกติ
เมื่อรู้ถึงสาเหตุของโรคนี้แล้ว เราสามารถเลือกที่จะดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมาย่อมดีกว่าการรักษาแก้ไขที่ปลายเหตุอย่างแน่นอน สำหรับการเลือกทานแคลเซียมบํารุงกระดูกเพื่อป้องกันและเสริมสร้างมวลกระดูกนั้น เจ้าแคลเซียมแต่ละชนิด มีการละลายและดูดซึมเข้าร่างกายไม่เท่ากัน ยิ่งตามท้องตลาดเรามักจะเห็นตัวเลือกผลิตภัณฑ์แคลเซียมแตกต่างกันออกไป แต่แคลเซียมที่ดีที่สุดต้องเป็นแคลเซียมที่ไม่ทิ้งการตกตะกอนไว้ในร่างกาย ดูดซึมนำไปใช้ได้ทั้งหมด แนะนำแคลเซียมแอลเทรเนต (แอล-ทรีโอเนต) อีกหนึ่งแคลเซียมที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ด้วยสารสกัดจากข้าวโพด แตกต่างจากแคลเซียมประเภทอื่นๆที่สกัดจากแร่หินหรือกระดูก(ดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยและต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆเป็นตัวช่วยในการดูดซึม)
สำหรับใครที่กำลังมองหาแคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุหรือต้องการเสริมแคลเซียมให้กับร่างกาย สามารถเข้ามาพูดคุย ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกได้ที่นี่เลย https://www.facebook.com/CAL-T-872106819604543/
พร้อมกิจกรรมตรวจวัดมวลกระดูกฟรีจากแคล-ที อย่าลืมกดติดตามกันด้วยนะคะ