“อาการปวดเข่า” อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้ทุกเพศทุกวัย บวกกับปัจจัยต่างๆ สำหรับในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่านั้น ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อตามธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นเด็กหรือวัยหนุ่มสาวก็มักเกิดจากอุบัติเหตุหรือเคยได้รับบาดเจ็บนั่นเอง นอกจากนี้อาการปวดเข่านั้น อาจเป็นที่มาของโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคตก็เป็นได้ ยิ่งผู้ที่ไม่ค่อยได้ทานอาหารประเภทแคลเซียม เสริมกระดูก เห็นทีจะต้องหมั่นสังเกตตัวเองและคนรอบข้าง ว่ามีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมหรือไม่
หมั่นสังเกตและตรวจหาสาเหตุของอาการปวดเข่าอยู่สม่ำเสมอ หากพบว่ามีอาการอักเสบ เข่าบวม ยืนนานๆแล้วรู้สึกปวด เหยียดหรืองอขาได้ไม่สุด ส่งผลไปถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ควรมองข้ามและนิ่งนอนใจ มาดูสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ปวดเข่ากันดีกว่า
1.ข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเสื่อมตามวัย มีมวลกระดูกลดลง หมอนรองกระดูกบางลง ขาดความยืดหยุ่นเอ็นหลวม ทำให้ข้อเข่าหลวมและปวดเข่า หรือเสื่อมจากการใช้งานหนัก เช่น แบกของหนัก นั่งงอเข่านานๆ ผู้หญิงใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ น้ำหนักตัวเกิน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุ เล่นกีฬาหนักๆ ล้มกระแทกกันบ่อยๆ กระโดดบ่อยๆก็ทำให้ปวดเข่าได้เช่นกัน ซึ่งวัยรุ่นมักเป็นกัน
2.การฉีกขาดของเอ็นเข่า พบบ่อยในกลุ่มนักกีฬาที่ต้องใช้แรงปะทะกระแทกล้มบ่อยๆ เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นต้น หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุอย่างเช่น ตกบันได สะดุดล้ม ลื่นล้ม ฯลฯ
ยิ่งในชีวิตประจำวัน หลายๆคนเร่งรีบประมาทกับการใช้ชีวิตจนลืมดูแลสุขภาพของตัวเอง การเลือกทานอาหารเสริมแก้ปวดเข่าหรือการเลือกทานแคลเซียมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จริงๆ แล้วในหนึ่งวันเราต้องทานแคลเซียมให้ได้ประมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก เสริมสร้างมวลกระดูกให้กลับมาแข็งแรง
สำหรับการเลือกทานแคลเซียม เสริมกระดูกเพื่อป้องกันและเสริมสร้างมวลกระดูกนั้น เจ้าแคลเซียมแต่ละชนิด มีการละลายและดูดซึมเข้าร่างกายไม่เท่ากัน
- แคลเซียม แอล ทรีโอเนต ชนิดนี้จะละลายน้ำได้ดีมาก และสามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้เกือบ 100%
- แคลเซียม คาร์บอเนต ละลายน้ำได้ไม่ค่อยดี และการดูดซึมเข้าร่างกายได้ประมาณ 15%
- แคลเซียม กลูโคเนต ไม่ค่อยละลายน้ำ ร่างกายดูดซึมยาก ดูดซึมได้น้อยกว่า 15%
นอกจากเลือกทานแคลเซียมเพื่อช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกแล้ว ต้องหมั่นสังเกตตัวเอง คนรอบข้างและผู้สูงอายุในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ ว่ามีอาการหรือแนวโน้มของอาการปวดเข่า ปวดกระดูก หรือไม่? สำหรับบทความดีๆสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/CAL-T-872106819604543/