“ปวดสะโพก” สัญญาณเตือนโรคกระดูก พร้อมวิธีเลือกทานอาหารเสริมกระดูก
เมื่ออายุมากขึ้น แน่นอนว่า สุขภาพของเราเป็นธรรมดาที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย พร้อมทั้งปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆอีกมากมาย การรู้ข้อมูลเท่าทันนั้น ดีกว่าแก้ไขในอนาคตอย่างแน่นอน สำหรับวันนี้เรามีวิธีสังเกตอาการเริ่มต้นของผู้ที่มีแนวโน้มมีปัญหาของโรคกระดูกสะโพกเสื่อม ข้อมูลน่ารู้สำหรับผู้ที่ทาน
อาหารเสริมกระดูกน้อย ปริมาณไม่เพียงพอต่อวัน พร้อมการสังเกตอาการปวดตามจุดต่างๆที่เป็นสัญญาณเตือนของโรคกระดูก อีกหนึ่งโรคร้ายที่เราไม่ควรมองข้ามมาฝากกัน
หมั่นเช็คสุขภาพของตัวท่านเอง รวมไปถึงผู้สูงอายุภายในครอบครัว ว่ามีอาการปวดบริเวณสะโพกเรื้อรัง หากพบว่าคนในบ้านมีอาการปวดรอบๆสะโพก ร้าวมาถึงเอว ร้าวลงขาด้านนอกไปจนถึงหัวเข่าตลอดเวลา โดยอาการปวดจะเป็นๆหายๆ ใช้ยานวด ยาทาก็ไม่หาย ไม่สามารถระบุจุดที่แน่ชัดได้ ต้องพึ่งการทานยาแก้ปวดอาการจึงทุเลาลง
อาการปวดช่วงขาหนีบ อีกหนึ่งอาการของผู้ที่กำลังจะเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม พบได้ตั้งแต่บุคคลที่มีอายุมากจนถึงอายุ 45 ปีขึ้นไป เพศหญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน โดยอาการปวดขาหนีบจะปวดมากยิ่งขึ้นเวลาเดินทางนานๆ หรือต้องก้าวขาเดินขึ้นบันได
มีอาการสะโพกหนืด ข้อฝืด โดยมีอาการก้าวขาไม่ค่อยออก ช่วงเช้าหลังตื่นนอน โดยต้องขยับขาขึ้นๆลงๆเพื่อความเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น ก่อนจะลุกจากเตียง อาการนี้เกิดจากตัวผิวข้อที่เสื่อม น้ำเลี้ยงข้อกระดูกน้อยลง
หากพบว่ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ควรรีบรักษาไปพร้อมๆกับการทานแคลเซียม อาหารเสริมกระดูกเพื่อป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับ
แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต ก็เป็นแคลเซียมอีกประเภท ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก แคลเซียม คาร์บอเนต ที่เราคุ้นหูและมักจะพบเห็นกันบ่อยๆ ตัวแคลเซียมชนิดนี้ *ช่วยป้องกันโรคข้อกระดูกเสื่อม*เสริมสร้างกระดูกอ่อนในข้อกระดูก โดยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก *สร้างน้ำไขข้อ ทำให้ไขข้อ และกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญร่างกายของเราสามารถดูดซึมได้ถึง 95%
โดยเฉพาะในผู้หญิงนั้น สำคัญมาก เมื่อเราได้ข้ามเข้าสู่วัยเลข 4 ร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งเราหลีกเลี่ยงภาวะกระดูกพรุนหรือกระดูกเปราะไม่ได้อย่างแน่นอน แต่ถ้าหากเรารู้จักวิธีการดูแล และป้องกันตัวเอง ทานแคลเซียมเสริมกระดูกหรือ
แคลเซียมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูกให้หนาแน่น ก็สามารถชะลอการเสื่อมสภาพของข้อกระดูกได้เช่นเดียวกัน สำหรับใครที่มีอาการปวดกระดูกและต้องการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกโดยตรง สามารถเข้ามาพูดคุยสอบถามหรืออ่านบทความดีๆเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/CAL-T-872106819604543/
หรือ Line@ :
title=https://line.me/R/ti/p/%40cal-t
>https://line.me/R/ti/p/%40cal-t