[size="4"]หากลองสังเกตพฤติกรรมการใช้งานของผู้คนในสำนักงานทั่วโลก จะพบว่าแฟ็กซ์หรือโทรสารยังคงเป็นเครื่องมือที่ถูกเลือกใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสาร ผิดกับที่มีการคาดการณ์ในอดีตว่า เครื่องแฟ็กซ์จะตายลงในไม่ช้าโดยมีอีเมลมาแทนที่
[size="4"]จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรรายหนึ่งถึงกรณีที่เครือข่ายธุรกิจของเขาต้องการส่งข่าวสารที่หวังให้เขาได้พิจารณาเป็นสิ่งแรกในตอนเช้าของวัน ท่ามกลางกองเอกสารข้อมูลที่ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่ใดๆ เขากล่าวว่า เครือข่ายธุรกิจเหล่านี้จะไม่ใช้อีเมลหรือเครื่องตอบรับโทรศัพท์ แต่จะเลือกใช้การส่งแฟ็กซ์แทน
"สิ่งแรกที่ผมมองตอนเข้าออฟฟิศคือถาดเข้าของเครื่องแฟ็กซ์" ร็อดนีย์ เอ็ดดินส์ (Rodney Eddins) ผู้ดำเนินกิจการด้านการบัญชีมากว่า 10 ปี กล่าว "หากมีกระดาษอยู่ ผมจะรู้สึกว่าผมต้องอ่านมันก่อน" จากนั้นจึงถึงคิวเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องตอบรับโทรศัพท์
ถึงกระนั้น เอ็ดดินส์ก็เหมือนคนทั่วไปที่ได้รับความไม่สะดวกจากการทำงานของเครื่องแฟ็กซ์ อย่างเช่นเอกสารแบบตอบรับที่ต้องการลายเซ็นรับรองที่ชัดเจน แต่กลับมีรอยขีดข่วนรบกวนมากมายจนทำให้เอกสารที่ได้รับจากเครื่องแฟ็กซ์นั้นใช้งานไม่ได้ "จะพูดว่าผมเกลียดเครื่องแฟ็กซ์ก็ได้" เขากล่าว "แต่มันจำเป็นสำหรับผม"
คำทำนายผิดพลาด
[size="4"]แม้โลกของสำนักงานปัจจุบันนี้จะเต็มไปด้วยข้อมูลดิจิตอล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดพกพา และเครือข่ายไร้สาย ซึ่งไม่มีใครยกย่องเทคโนโลยีแฟ็กซ์ว่าเป็นเทคโนโลยีไร้เทียมทานเท่า "BlackBerry" แต่เครื่องแฟ็กซ์จะเป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ร่วมสมัยที่ยังคงไม่หายไปไหน จะยังคงยืนหยัดในยุคของการลดการใช้กระดาษได้อย่างสง่างาม
"ย้อนกลับไปในกลางยุคปี 90 เมื่ออีเมลเริ่มเข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเต็มตัว ที่ปรึกษาค่าตัวสูงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเครื่องแฟ็กซ์กำลังจะมาถึงกาลอวสาน" โจนาทาน บีส์ (Jonathan Bees) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำนักงานของโคนิกา (Konica) ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารนิตยสารแบทเทอร์บายฟอร์บิสสิเนส (Better Buys for Business) กล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทม์ ถึงการที่ผลิตภัณฑ์ที่เขาได้เขียนบทความทดสอบผลิตภัณฑ์และทดลองใช้ในหลายวันมานี้กลับเป็นเครื่องแฟ็กซ์หลายรุ่นหลากยี่ห้อ
"เครื่องแฟ็กซ์เหล่านี้เก่งขึ้นเรื่อยๆ เร็วขึ้น ทำงานได้เงียบขึ้น และสามารถลดเส้นขีดข่วนรบกวนได้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ามันจะยังไม่อวสานหายไปไหน"
ในรายงานของนิวยอร์กไทม์ระบุว่า เมื่อปีที่แล้วสถิติยอดขายเครื่องแฟ็กซ์ในสหรัฐฯอยู่ที่ 1.5 ล้านเครื่อง ซึ่งประกอบด้วยเครื่องแฟ็กซ์สำหรับครัวเรือนและสำนักงาน ตามข้อมูลจากกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics Association) โดยกลุ่มผู้ผลิตประมาณการว่ามีการจำหน่ายเครื่องมัลติฟังก์ชันที่สามารถทำงานได้ทั้งแฟ็กซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องสแกนในตัวมากกว่า 500,000 เครื่อง
แม้ว่าปัจจุบันยอดขายเครื่องแฟ็กซ์ที่มีฟังก์ชันรับส่งแฟ็กซ์เพียงอย่างเดียวจะต่ำกว่าสถิติสูงสุดที่เคยทำได้ 3.6 ล้านเครื่องในปี 1997 แต่กลุ่มผู้ผลิตหลายรายระบุว่า หากมีการพิจารณารวมถึงยอดจำหน่ายเครื่องมัลติฟังก์ชันด้วยแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าดีมานด์ความต้องการนั้นเพิ่มขึ้น
"เราเห็นการเพิ่มขึ้นของยอดขายเครื่องแฟ็กซ์มาตลอด 4 ถึง 5 ปีที่ผ่านมา" พอล เฟาน์เทน (Paul Fountain) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ของเอชพี (Hewlett-Packard) ประจำสำนักงานซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา
ในปี 1994 เอชพีตัดสินใจทิ้งตลาดเครื่องแฟ็กซ์ไปเพราะความเชื่อในคำคาดการณ์เรื่องอวสานของเครื่องแฟ็กซ์จากนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ซึ่งเฟาน์เทนกล่าวว่า "เรากลับมาอีกครั้งในปี 1998 เพราะเราเห็นกับตาตัวเองว่าเทคโนโลยีแฟ็กซ์ไม่ได้หายไปไหน"
ข้อดีที่อีเมลต้องยอม
[size="4"]เครื่องแฟ็กซ์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในสำนักงานหรือโฮมออฟฟิศ แม้จะไม่ได้ถูกยกยอประสิทธิภาพในการทำงานในสำนักงานว่าสามารถสูสีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ บิลล์ ยัง (Bill Young) ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารของบริษัท Strickland Group ในนิวยอร์กกล่าวว่า "เครื่องแฟ็กซ์มีฟังก์ชันการทำงานสำคัญที่เป็นต่ออีเมลบนเครื่องคอมพิวเตอร์" ซึ่งหนีไม่พ้นเอกสารที่ต้องการลายเซ็นต์รับรองเช่นโครงการทางธุรกิจ หรือใบสั่งยาที่ต้องการใบรับรองแพทย์
กรณีใบรับรองแพทย์เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สามารถถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาเรื่องของดีของเครื่องแฟ็กซ์ได้ชัดเจนที่สุด ผู้ใช้สามารถยื่นมันให้กับเภสัชกรในการสั่งซื้อยาแต่ละครั้งโดยไม่ต้องเสียเวลารับ-ส่งใบรับรองตัวจริงจากมือแพทย์ ซึ่งจะมีลายมือและลายเซ็นแพทย์เป็นตัวรับรองการจ่ายยาของเภสัชกร แถมแฟ็กซ์จะยังช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจดข้อความที่ได้ฟังจากโทรศัพท์
ส่วนดีอื่นๆของเครื่องแฟ็กซ์คือเรื่องความปลอดภัย "เครื่องแฟ็กซ์ทำให้คุณไม่ต้องกังวลว่าจะมีนักโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้ประสงค์ร้ายมาขโมยรหัสผ่านเพื่อลักลอบอ่านอีเมลปลายทาง" ยังกล่าว "ตราบเท่าที่คุณแน่ใจว่ามีผู้รอรับแฟ็กซ์เพื่อเก็บเอกสารนั้นไว้แล้ว ในกรณีที่เป็นเอกสารสำคัญหรือเป็นความลับ"
"junk fax" ตัวปัญหา
ราคาที่ตกลงของเครื่องแฟ็กซ์กลับพลิกให้เครื่องแฟ็กซ์ได้รับความนิยม "เมื่อสิบปีที่แล้ว ราคาเครื่องแฟ็กซ์สูงถึง 200 เหรียญ (ประมาณ 8,000 บาท) ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานเป็นเครื่องแฟ็กซ์อย่างเดียว" เฟาน์เทนกล่าว "รุ่นที่มีประสิทธิภาพดีกว่ากลับวางขายในปัจจุบันเพียงราคา 45 เหรียญ (ประมาณ 1,800 บาท) อย่างเช่นรุ่น Fax 1050 ของเอชพี ที่เป็นได้ทั้งเครื่องแฟ็กซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องตอบรับโทรศัพท์ วางขายในราคา 100 เหรียญ (ราว 4,000 บาท)"
ความนิยมที่เพิ่มกลายเป็นเหมือนเค้กก้อนใหญ่ดึงดูดนักการตลาดสติเสียเห็นแก่ตัวที่จงใจส่งแฟ็กซ์โฆษณาที่มักไม่มีใครต้องการ กลายเป็น "junk fax" ซึ่งมีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับ "junk mail" หรืออีเมลขยะ
แฟ็กซ์ขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบกับการทำงานของเครื่องแฟ็กซ์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการถ่วงเวลาในการรับข้อความที่ผู้ใช้ต้องการ และความเสียหายจากการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลือง
[size="4"] "คนส่งแฟ็กซ์ขยะสามารถขโมยกระดาษมากมายจากผู้รับที่ไม่เคยต้องการโฆษณาเหล่านี้" ลอว์เรนซ์ มาร์กีย์ จูเนียร์ (Lawrence Markey Jr.) ทนายความขององค์กรสิทธิมนุษยชนในซานตาโมนิคา สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เขาเริ่มทำคดีฟ้องร้องผู้ส่งแฟ็กซ์ขยะมาตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งเขายังคงทำคดีนี้มาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
ขอบคุณรูปภาพจาก https://encrypted-tbn2.google.com/images?q=tbn:ANd9GcSk3jfo5dAs3XkJ-axNnBv6RHVYrjqFyXjFYhBWc_OmGKMp-vbVaw
[size="4"]จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรรายหนึ่งถึงกรณีที่เครือข่ายธุรกิจของเขาต้องการส่งข่าวสารที่หวังให้เขาได้พิจารณาเป็นสิ่งแรกในตอนเช้าของวัน ท่ามกลางกองเอกสารข้อมูลที่ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่ใดๆ เขากล่าวว่า เครือข่ายธุรกิจเหล่านี้จะไม่ใช้อีเมลหรือเครื่องตอบรับโทรศัพท์ แต่จะเลือกใช้การส่งแฟ็กซ์แทน
"สิ่งแรกที่ผมมองตอนเข้าออฟฟิศคือถาดเข้าของเครื่องแฟ็กซ์" ร็อดนีย์ เอ็ดดินส์ (Rodney Eddins) ผู้ดำเนินกิจการด้านการบัญชีมากว่า 10 ปี กล่าว "หากมีกระดาษอยู่ ผมจะรู้สึกว่าผมต้องอ่านมันก่อน" จากนั้นจึงถึงคิวเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องตอบรับโทรศัพท์
ถึงกระนั้น เอ็ดดินส์ก็เหมือนคนทั่วไปที่ได้รับความไม่สะดวกจากการทำงานของเครื่องแฟ็กซ์ อย่างเช่นเอกสารแบบตอบรับที่ต้องการลายเซ็นรับรองที่ชัดเจน แต่กลับมีรอยขีดข่วนรบกวนมากมายจนทำให้เอกสารที่ได้รับจากเครื่องแฟ็กซ์นั้นใช้งานไม่ได้ "จะพูดว่าผมเกลียดเครื่องแฟ็กซ์ก็ได้" เขากล่าว "แต่มันจำเป็นสำหรับผม"
คำทำนายผิดพลาด
ขอบคุณรูปภาพจาก https://encrypted-tbn3.google.com/images?q=tbn:ANd9GcQP3XtCv0OyxIOEMsPF6Eztbd7htd6QUsmRGeOG2s5NMWrjPN2Q
[size="4"]แม้โลกของสำนักงานปัจจุบันนี้จะเต็มไปด้วยข้อมูลดิจิตอล อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดพกพา และเครือข่ายไร้สาย ซึ่งไม่มีใครยกย่องเทคโนโลยีแฟ็กซ์ว่าเป็นเทคโนโลยีไร้เทียมทานเท่า "BlackBerry" แต่เครื่องแฟ็กซ์จะเป็นเทคโนโลยีเก่าแก่ร่วมสมัยที่ยังคงไม่หายไปไหน จะยังคงยืนหยัดในยุคของการลดการใช้กระดาษได้อย่างสง่างาม
"ย้อนกลับไปในกลางยุคปี 90 เมื่ออีเมลเริ่มเข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตของผู้คนอย่างเต็มตัว ที่ปรึกษาค่าตัวสูงหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเครื่องแฟ็กซ์กำลังจะมาถึงกาลอวสาน" โจนาทาน บีส์ (Jonathan Bees) ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำนักงานของโคนิกา (Konica) ซึ่งขณะนี้ดำรงตำแหน่งบรรณาธิการบริหารนิตยสารแบทเทอร์บายฟอร์บิสสิเนส (Better Buys for Business) กล่าวให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวนิวยอร์กไทม์ ถึงการที่ผลิตภัณฑ์ที่เขาได้เขียนบทความทดสอบผลิตภัณฑ์และทดลองใช้ในหลายวันมานี้กลับเป็นเครื่องแฟ็กซ์หลายรุ่นหลากยี่ห้อ
"เครื่องแฟ็กซ์เหล่านี้เก่งขึ้นเรื่อยๆ เร็วขึ้น ทำงานได้เงียบขึ้น และสามารถลดเส้นขีดข่วนรบกวนได้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ามันจะยังไม่อวสานหายไปไหน"
ในรายงานของนิวยอร์กไทม์ระบุว่า เมื่อปีที่แล้วสถิติยอดขายเครื่องแฟ็กซ์ในสหรัฐฯอยู่ที่ 1.5 ล้านเครื่อง ซึ่งประกอบด้วยเครื่องแฟ็กซ์สำหรับครัวเรือนและสำนักงาน ตามข้อมูลจากกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Electronics Association) โดยกลุ่มผู้ผลิตประมาณการว่ามีการจำหน่ายเครื่องมัลติฟังก์ชันที่สามารถทำงานได้ทั้งแฟ็กซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องสแกนในตัวมากกว่า 500,000 เครื่อง
แม้ว่าปัจจุบันยอดขายเครื่องแฟ็กซ์ที่มีฟังก์ชันรับส่งแฟ็กซ์เพียงอย่างเดียวจะต่ำกว่าสถิติสูงสุดที่เคยทำได้ 3.6 ล้านเครื่องในปี 1997 แต่กลุ่มผู้ผลิตหลายรายระบุว่า หากมีการพิจารณารวมถึงยอดจำหน่ายเครื่องมัลติฟังก์ชันด้วยแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าดีมานด์ความต้องการนั้นเพิ่มขึ้น
"เราเห็นการเพิ่มขึ้นของยอดขายเครื่องแฟ็กซ์มาตลอด 4 ถึง 5 ปีที่ผ่านมา" พอล เฟาน์เทน (Paul Fountain) ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ของเอชพี (Hewlett-Packard) ประจำสำนักงานซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา
ในปี 1994 เอชพีตัดสินใจทิ้งตลาดเครื่องแฟ็กซ์ไปเพราะความเชื่อในคำคาดการณ์เรื่องอวสานของเครื่องแฟ็กซ์จากนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ซึ่งเฟาน์เทนกล่าวว่า "เรากลับมาอีกครั้งในปี 1998 เพราะเราเห็นกับตาตัวเองว่าเทคโนโลยีแฟ็กซ์ไม่ได้หายไปไหน"
ข้อดีที่อีเมลต้องยอม
ขอบคุณรูปภาพจาก https://encrypted-tbn0.google.com/images?q=tbn:ANd9GcT7KSBE5W8q0qh0ELcGPy66lilqhGx2lqMNcSAJipVb62EBN1ckuA
[size="4"]เครื่องแฟ็กซ์ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในสำนักงานหรือโฮมออฟฟิศ แม้จะไม่ได้ถูกยกยอประสิทธิภาพในการทำงานในสำนักงานว่าสามารถสูสีกับเครื่องคอมพิวเตอร์ บิลล์ ยัง (Bill Young) ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารของบริษัท Strickland Group ในนิวยอร์กกล่าวว่า "เครื่องแฟ็กซ์มีฟังก์ชันการทำงานสำคัญที่เป็นต่ออีเมลบนเครื่องคอมพิวเตอร์" ซึ่งหนีไม่พ้นเอกสารที่ต้องการลายเซ็นต์รับรองเช่นโครงการทางธุรกิจ หรือใบสั่งยาที่ต้องการใบรับรองแพทย์
กรณีใบรับรองแพทย์เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สามารถถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาเรื่องของดีของเครื่องแฟ็กซ์ได้ชัดเจนที่สุด ผู้ใช้สามารถยื่นมันให้กับเภสัชกรในการสั่งซื้อยาแต่ละครั้งโดยไม่ต้องเสียเวลารับ-ส่งใบรับรองตัวจริงจากมือแพทย์ ซึ่งจะมีลายมือและลายเซ็นแพทย์เป็นตัวรับรองการจ่ายยาของเภสัชกร แถมแฟ็กซ์จะยังช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการจดข้อความที่ได้ฟังจากโทรศัพท์
ส่วนดีอื่นๆของเครื่องแฟ็กซ์คือเรื่องความปลอดภัย "เครื่องแฟ็กซ์ทำให้คุณไม่ต้องกังวลว่าจะมีนักโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ผู้ประสงค์ร้ายมาขโมยรหัสผ่านเพื่อลักลอบอ่านอีเมลปลายทาง" ยังกล่าว "ตราบเท่าที่คุณแน่ใจว่ามีผู้รอรับแฟ็กซ์เพื่อเก็บเอกสารนั้นไว้แล้ว ในกรณีที่เป็นเอกสารสำคัญหรือเป็นความลับ"
"junk fax" ตัวปัญหา
ราคาที่ตกลงของเครื่องแฟ็กซ์กลับพลิกให้เครื่องแฟ็กซ์ได้รับความนิยม "เมื่อสิบปีที่แล้ว ราคาเครื่องแฟ็กซ์สูงถึง 200 เหรียญ (ประมาณ 8,000 บาท) ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานเป็นเครื่องแฟ็กซ์อย่างเดียว" เฟาน์เทนกล่าว "รุ่นที่มีประสิทธิภาพดีกว่ากลับวางขายในปัจจุบันเพียงราคา 45 เหรียญ (ประมาณ 1,800 บาท) อย่างเช่นรุ่น Fax 1050 ของเอชพี ที่เป็นได้ทั้งเครื่องแฟ็กซ์ เครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องตอบรับโทรศัพท์ วางขายในราคา 100 เหรียญ (ราว 4,000 บาท)"
ความนิยมที่เพิ่มกลายเป็นเหมือนเค้กก้อนใหญ่ดึงดูดนักการตลาดสติเสียเห็นแก่ตัวที่จงใจส่งแฟ็กซ์โฆษณาที่มักไม่มีใครต้องการ กลายเป็น "junk fax" ซึ่งมีศักดิ์ศรีเทียบเท่ากับ "junk mail" หรืออีเมลขยะ
แฟ็กซ์ขยะเหล่านี้ส่งผลกระทบกับการทำงานของเครื่องแฟ็กซ์โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการถ่วงเวลาในการรับข้อความที่ผู้ใช้ต้องการ และความเสียหายจากการใช้กระดาษอย่างสิ้นเปลือง
ขอบคุณรูปภาพจาก https://encrypted-tbn3.google.com/images?q=tbn:ANd9GcRP52-XH1GFmf26Yyf0k5q8RW2kdlDRgT5Qo6zaL6QM5rcBhID4
[size="4"] "คนส่งแฟ็กซ์ขยะสามารถขโมยกระดาษมากมายจากผู้รับที่ไม่เคยต้องการโฆษณาเหล่านี้" ลอว์เรนซ์ มาร์กีย์ จูเนียร์ (Lawrence Markey Jr.) ทนายความขององค์กรสิทธิมนุษยชนในซานตาโมนิคา สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เขาเริ่มทำคดีฟ้องร้องผู้ส่งแฟ็กซ์ขยะมาตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งเขายังคงทำคดีนี้มาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน
[SIZE="4"]ขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=2304