test
โดย Nakderntang
Nakderntang
#1
;)
Originally Posted by yourfwd
[SIZE="3"]จากหนังสือชุด "ความจริงจากความคิดใหม่"่



และได้มีการทำงานผ่านการเรียนรู้ ร่วมกัน กับองค์กร คนก้าวหน้า



ทำให้เราได้หลักสูตร "คิดเป็นก่อนทำเป็น" เพื่อการทำงานเป็น ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของการนำความรู้ และหลักการต่างๆในหนังสือ "ความลับของคน" ที่ได้รับการคัดสรรค์ ว่าเป็น "ความคิดใหม่" (New Thought) โดย ห้องสมุดแห่งชาติประเทศ Australia


[SIZE="2"]อ่านรายละเอียด เกี่ยวกับหนังสือเล่มดังกล่าวได้ในกระทู้ "ความลับของคน"..หนังสือไทยเพียงเล่มเดียว ที่ได้รับคัดสรรจากห้องสมุดแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย ให้อยู่ในหมวด New Thought !! ทั้งๆที่ยังเป็นภาษาไทย 1 ใน 66 เล่มจากทั่วโลก


สู่รูปธรรมในการลงมือทำอย่างถูกต้องเพื่อการทำงานเป็น

พัฒนาการและรายละเอียดการถ่ายทอดหลักสูตรดังกล่าว สามารถติดตามได้ในกระทู้ "คิดเป็นก่อนทำเป็น" เพื่อการทำงานเป็น จากความรับผิดชอบ สู่ การสร้างความรู้ เพื่อความก้าวหน้า ขององค์กรคนก้าวหน้า

และข้อนำรายละเอียดในกระทู้ดังกล่าว มาให้อ่านในโพสต่อๆ ไป
[SIZE="2"]
สังคมที่ไร้มุทิตา...
คือ สังคม ที่ คนส่วนใหญ่ ไม่รู้ว่า ใครคือคนที่ทำให้

เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรต้องมีหัวใจ
สังคมนี้ แผ่นดินนี้ คงอยู่ ให้เรา อาศัย อยู่ร่วมกัน ได้ต่อไป
"ผู้เสียสละทุกคน ที่ตาย ล้วนมีชีวิต และเรา ติดหนี้บุญคุณ"
ขอบคุณใน ความเสียสละ ที่ทำให้เรา ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน

เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนควรต้องมีหัวใจ
ด้วยความเคารพในความเสียสละ อย่างสูงยิ่ง
ประเทศใคร.. ในหนึ่งวัน


ความเห็นแก่ตัว ทำให้ คน โง่ ขึ้น
Nakderntang
#2
แนะนำ ผู้อำนวยการหลักสูตรและผู้บรรยาย สัมมนา หัวข้อ
“จาก หนังสือ หมวด New thought ใน ห้องสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย
สู่ ปรัชญาการศึกษา ผ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
เพื่อ การจัดการ การศึกษา ที่ถูกต้อง สำหรับ อนาคต ของลูกคุณ”

[SIZE="3"]ผู้อำนวยการหลักสูตร
คุณเอกราช จันทร์ดอน

ผู้ก่อตั้งและให้กรอบคิดสำหรับการจัดการการศึกษาที่ถูกต้อง
ให้กับศูนย์แห่งการเรียนรู้บ้านแก่นวิชา และเป็นผู้เขียนหนังสือ “ความลับของคน”
ความคิดใหม่ของโลก ซึ่งเป็น 1 ใน 66 เล่ม จากหนังสือทั่วโลก ในรอบ 300 ปีที่ผ่านมา
เป็นหนังสือจากประเทศไทยเพียงเล่มเดียว ที่ได้รับคัดสรรโดยห้องสมุดแห่งชาติประเทศ
ออสเตรเลีย ให้อยู่ในหมวด “New thought ความคิดใหม่" (ทั้งที่ยังเป็นภาษาไทย)

และได้ทำงานผ่านการเรียนรู้ร่วมกันกับ องค์กร คนก้าวหน้า
ซึ่ง "คนก้าวหน้า"

ได้นำความรู้ และหลักการต่างๆ
ในหนังสือ "ความลับของคน" สู่ อุดมศึกษาไทย
และหน่วยงานราชการต่าง ๆ อีกทั้งคุณเอกราช ยังออกไป
บรรยายร่วม ในหลักสูตรต่าง ๆ ของ องค์กร คนก้าวหน้า ด้วย


สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้<<กด<<


ผู้บรรยาย หลักสูตร สัมมนา
ท่านที่ 1
คุณราเชน ศุภสินธุ์
ในอดีต เป็น ผู้จัดการและที่ปรึกษาด้านการจัดการการศึกษา ให้กับ
ศูนย์พัฒนาทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สดใส สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย
โดยร่วมงานกับ ผู้อำนวยการ ในขณะนั้น คือ ศาสตราภิชาน นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร

Nakderntang
#3
:)

Nakderntang
#4

Nakderntang
#5











[SIZE="5"]แก่นวิชา มี สัมมนา ในหัวข้อ



จาก หนังสือ หมวด New thought ใน ห้องสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย
สู่ ปรัชญาการศึกษา ผ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
เพื่อ การจัดการ การศึกษา ที่ถูกต้อง
สำหรับ อนาคต ของลูกคุณ”



[SIZE="5"]ครั้งที่ 3 ใน วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2554



[SIZE="3"]จากที่แก่นวิชา ทำงานด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ศึกษา ปฏิบัติ และ ถ่ายทอด
การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องตามแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา
ผ่านหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ วิจัยการศึกษา และให้บริการการศึกษา ที่ชื่อว่า
[SIZE="4"]“ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา”
จน ประสบความสำเร็จ ใน จ.นครปฐม กับเด็ก นับ ร้อย ๆ ราย
โดยได้ยึดปรัชญาการศึกษาตามแนวทางแก่นวิชาในวิถีมีหัวใจ


ซึ่งมี คุณเอกราช จันทร์ดอน ผู้ก่อตั้งและให้กรอบคิดสำหรับการจัดการการศึกษาที่ถูกต้อง
ให้กับศูนย์แห่งการเรียนรู้บ้านแก่นวิชา และเป็นผู้เขียนหนังสือ [SIZE="4"]“ความลับของคน”
ความคิดใหม่ของโลก ซึ่งเป็น 1 ใน 66 เล่ม จากหนังสือทั่วโลก ในรอบ 300 ปีที่ผ่านมา
เป็นหนังสือจากประเทศไทยเพียงเล่มเดียว ที่ได้รับคัดสรรโดยห้องสมุดแห่งชาติประเทศ
ออสเตรเลีย ให้อยู่ในหมวด “New thought ความคิดใหม่"

=&submit=Find&limit[]=format%3ABook&filter[]=format:%22Book%22&page=2"]
[SIZE="2"](คลิกที่รูปนี้ เพื่อเข้าดูข้อมูลที่ห้องสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย)


ซึ่ง กรอบคิด หลักการ ชุดความรู้ต่าง ๆ ที่แก่นวิชา ใช้ในการ
ศึกษา ปฏิบัติ และถ่ายทอด ในการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง
จนกลายมาเป็นแนวทางการศึกษาแก่นวิชา ล้วนนำมาจากหนังสือของ
คุณเอกราช จันทร์ดอน คือ ชุดหนังสือ [SIZE="4"]"ความจริงจากความคิดใหม่"



[SIZE="3"][SIZE="5"]แก่นวิชา จึงได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อถ่ายทอดชุดความรู้ และถ่ายทักษะ
การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง ตามแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา
สำหรับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ให้สามารถจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้อง
ตามแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา กับลูกหลานตนที่บ้านเองได้
ซึ่งจะมีทั้ง การสัมมนา และฝึกอบรม ร่วมกัน

[SIZE="5"]การสัมมนา
ตามหัวข้อ นี้ มี เพื่อ แนะแนว ทางเลือก การศึกษา
เพราะ การศึกษาไม่ได้มี เพียงแค่ทางเลือกเดียว แก่นวิชา ปรารถนาให้
พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สามารถเลือก การศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องให้กับ
ลูกหลานตนเองได้ ก่อนที่จะให้เด็กลองไปเรียน ไปศึกษา จนเสียเวลาเปล่า
จะดีกว่าไหม??? ...หาก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สามารถรู้หลักการ ที่จะเลือกที่ถูกต้องได้ก่อน...

และ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครอง รู้ถึง การศึกษาที่ถูกต้อง การศึกษาตามแนวทางแก่นวิชา
ที่สามารถจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนสามารถให้เด็กพึ่งตนเองทางการศึกษาได้แล้ว
นั้นเป็นอย่างไร?? คือ เด็ก สามารถเรียนรูด้วยตนเองมากขึ้น และเรียนพิเศษน้อยลง
และรวมทั้ง จบการศึกษาแล้ว ก็สามารถ ทำได้มากกว่า แค่ หางานทำ ...

ซึ่ง แก่นวิชา จะมาบรรยาย ใน 2 หัวข้อ (หัวข้อที่ 1 และ หัวข้อที่ 4) คือ
[SIZE="4"](1)[SIZE="3"]"แนะแนว ทางเลือก การศึกษา ตามแนวทางแก่นวิชา"
[SIZE="4"](4)[SIZE="3"]"การจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา"


และยังมี 2 นักธุรกิจ ที่ได้สัมผัสกับแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา ได้มาร่วมสัมมนากับเราด้วย

ซึ่ง 1 ในนั้น คือ
นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ที่ได้เรียนรู้ผ่านทั้งชีวิตแล้ว ว่า
หากไม่มีการจัดการการศึกษาที่ถูกต้อง ตามแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา
จะเป็นได้เพียง อดีตนักศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ ที่จบแล้ว ก็ยังรับผิดชอบต่อวิชาชีพตนไม่ได้
และหากมีการจัดการการศึกษาคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง ตามแนวทางการศึกษาแก่นวิชา
จะทำให้ไม่เสียดายชีวิตเหมือนตนที่ผ่านมาได้อย่างไร ซึ่งจะมาบรรยาย ในหัวข้อที่ 2 คือ
[SIZE="4"](2)[SIZE="3"]“เสียดายเวลาชีวิตลูกคุณ หากไม่มีการจัดการ การศึกษาคณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง
ตามแนวทางการศึกษาขันพื้นฐานของแก่นวิชา”


สามารถติดตามอ่าน
บอกเล่า ประสบการณ์จริง ที่ผิดพลาดและใช้ทั้งชีวิตเรียนรู้ อย่างไร
เพื่อตามหาการศึกษาที่ถูกต้อง จากกระทู้นี้ >>>คลิก>>>


และอีก คนหนึ่ง คือ
นักธุรกิจที่น่าอิจฉาคนหนึ่ง ซึ่งประสบความสำเร็จในการเรียนหนังสือมาก่อนจะสัมผัส
แนวทางการศึกษาของแก่นวิชา เรียน วิศวกรรมศาสตร์ ได้เกียรตินิยม และ ป.โท ได้ 4.00
และใช้เวลาเรียนข้ามชั้น ถึง 2 ปี คือ ไม่ต้องเรียน ม.3 และ ม.6 โดยไม่ได้เรียนพิเศษที่ไหน
แต่ยังยอมรับว่า อิจฉาเด็ก ๆ ที่ได้เรียนที่แก่นวิชา เพราะหากได้เรียนกระบวนการเดียวกันกับแก่นวิชา
คงจะดีกว่า เพราะจะใช้เวลาน้อยกว่า เร็วกว่า แต่ได้มากกว่าความรู้ ซึ่งจะมาพูดในหัวข้อที่ 3 คือ
[SIZE="4"](3)[SIZE="3"]“ไม่สำเร็จแน่ ตามเป้าหมายที่ผมหวัง อย่างรับผิดชอบต่อวิชาชีพของตนเอง
หาก ไร้การศึกษา วิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง ตามแนวทางการศึกษาของแก่นวิชา”


สามารถติดตามอ่าน
รีวิวประสบการณ์จริง ทำไมจึง อิจฉาเด็ก ๆ ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ ตามแนวทางการศึกษาแก่นวิชา
จากกระทู้นี้ >>>คลิก>>>


------------------------------------------------------------------------------------------
[SIZE="3"]ตัดสินใจมาคุยกับเราตั้งแต่วันนี้
"อย่าเริ่มต้นช้าไป จนวันนึงคุณต้องบอกว่า [SIZE="4"]...เสียดายอนาคตของลูกคุณ...
"




[SIZE="6"]สงสัย สนใจ สอบถาม
รายละเอียดเพิ่มเติม แบบรวดเร็ว ทันใจ
[SIZE="5"]โทรมาสอบถามได้โดยตรงทันที
ที่เบอร์ [SIZE="7"]089-147-4770

**ตั้งแต่ 8.00 - 22.00น. ทุกวัน **



[SIZE="3"]_______________________________________________________
พิเศษ !!!
สำหรับ ผู้ที่ทำงานในอาชีพที่ต้องเสียสละ ในพื้นที่ที่เสียสละ ในประเทศไทย
เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถติดต่อ เพื่อขอเข้าร่วมสัมมนา ได้ ฟรีไม่มีค่าวิทยากร
แต่มี ค่าใช้จ่ายอย่างอื่น เช่น ค่าที่พัก ค่าสถานที่ ค่าอาหาร
_______________________________________________________
Nakderntang
#6
Nakderntang
#7
Nakderntang
#8
ปี 2546 ประวัติศาสตร์ การดำรงอยู่ ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา "แก่นวิชา มากกว่า ความรู้" ผ่านการสื่อสารที่เรียกว่า "ใบปลิว"

[SIZE="3"]ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา จ.นครปฐม (ต่อไปขอเรียกย่อๆ ว่า "แก่นวิชา")
ก่อตั้ง โดย คุณเอกราช จันทร์ดอน ร่วมกับ คุณราเชน ศุภสินธุ์

[SIZE="3"]คุณเอกราช มุ่งมั่น ที่จะสร้างงานการศึกษา อย่างที่ตน อยากได้รับ เมื่อเป็นเ็ด็ก
ซึ่ง ไม่เคยมี การจัดการ การศึกษา ที่มากกว่าแค่ การเรียนหนังสือ ที่ทำจนเป็น ระบบการศึกษา

และเห็นความทุกข์ของเด็ก ที่อยากได้รับ การจัดการ การศึกษา ไม่ใช่ แค่ การเรียนหนังสือ
แต่ ไม่มีที่ไหน สามารถให้เขาได้

คุณเอกราช เชื่อมั่นว่า การจัดการ การศึกษาที่ถูกต้อง จะช่วยให้
ผู้ที่ได้รับ การจัดการ การศึกษานั้น สามารถ "เรียนหนังสือเองเป็น พึ่งตนเองได้ทางการศึกษา"



ทั้งคู่เริ่มต้น ด้วยจำนวนเงินที่เรียกได้ว่าทั้งคู่มาด้วยเงิน 0 บาท
จึงต้องเข้าไปขอเงินกู้จาก ธนาคารออมสิน จำนวน 150,000 บาท
เพื่อเริ่มต้น เส้นทางประวัติศาสตร์ของแก่นวิชา

แก่นวิชา จึงได้เริ่มต้น เมื่อ มีนาคม 2546 ที่ อ.เมือง จ.นครปฐม
เปิดทำการ ณ อาคารเลขที่ 8/1 ซ.เทศา 7 ถ.เทศา ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
ตั้งอยู่ ข้างโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัดนครปฐม
และอยู่ในละแวกใกล้กับ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร, โรงเรียนอนุบาลนครปฐม, โรงเรียนวัดห้วยจรเข้

เนื่องจาก ทั้งสองคน ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ อ.เมืองนครปฐม
จึงไม่ได้มีใคร รู้จักกับทั้งสองคน เป็นการส่วนตัว
ดังนั้น การที่จะชวนคนที่รู้จัก ให้พาลูกหลานมาเรียนที่ แก่นวิชา ตั้งแต่วันแรกที่เปิดนั้น จึงเป็นไปไม่ได้

แล้ว ทำอย่างไร ที่จะให้มี เด็กเข้ามาเรียน ให้เราได้สอน ???
คุณเอกราช ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยริเริ่ม สร้างงาน มาก่อนหน้านี้แล้ว
จึงเอากรอบคิด หลักการ วิธีการ ในวิถีการสร้างงานที่ตนได้เรียนรู้ มาถ่ายทอด ให้เอาไปใช้ทำงานกัน

และยังได้ชักชวนเพื่อนอีก 2 คน คือ คุณสุเมธ เกตุศรี และ คุณสุรเทพ เขียวหอม
เข้ามาร่วมกันทำงาน และสร้างหลักสูตร ให้กับแก่นวิชา

ในการหาลูกค้า ชวนลูกค้า ให้เข้ามาใช้บริการของเรา ก็ต้องทำการ ประชาสัมพันธ์ ป่าวประกาศ
วิธีการหนึ่งที่เลือกทำได้ ณ ขณะนั้น คือ แจกใบปลิว

จึงเกิด ใบปลิวของแก่นวิชา แผ่นแรกขึ้น อย่างง่ายๆ เป็นแบบแผ่นพับ
เราเริ่มต้นด้วยการ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เด็กที่เราจะทำการสอน คือ กลุ่มเด็กมัธยม
ใบปลิวจึงออกมาหน้าตาอย่างนี้






[SIZE="3"]บรรยายรวมกลุ่มใหญ่ แยกเรียนเป็นกลุ่มย่อย
เพราะทุกคนแตกต่าง เราจึงรังสรรค์งานสอนเป็นรายคน


จากนั้นก็แจกหน้าโรงเีรียนพระปฐมวิทยาลัย เป็นโรงเรียนแรกของเรา
แจกหมดแล้ว ก็ รอ ...

แต่ ยังไม่มีใครมา ...

ก็ต้อง รอ ... รอ ต่อไป ...

หากเรา ไม่อยาก รอ ... เราต้องทำอะไรซักอย่าง

โชคดีได้พูดคุยกับเจ้าของร้านขายก๊วยเตี๊ยว ซึ่งมีลูกชายเรียนอยู่ โรงเรียนประถม ละแวกนั้น
เรากลับมาคิด ทบทวน ดีแล้วหรือ หากเราเลือกกลุ่มเด็กหลัก เป็นมัธยม

จากการได้พูดคุยกับ เจ้าของร้านขายก๊วยเตี๊ยวนี่เอง
เขาแนะนำให้ ประชาสัมพันธ์ ไปยัง โรงเรียนประถม ซึ่งลูกชา่ยเขากำลังขึ้น ป.6 ชื่อน้องบีม
และพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ส่วนใหญ่ นิยมให้ลูก เรียนพิเศษ

นอกจาก ก๊วยเตี๊ยว ของเขา จะอร่อยมากแล้ว
ยังให้คำแนะนำดีๆ กับลูกค้าของเขาอีกด้วย
ทั้งยังชวน น้องบีม มาพูดคุยด้วยกัน

และน้องบีม มีส่วนช่วยในการทำใบปลิว ที่สื่อสารตรงไปยัง กลุ่มเด็กประถม อีกด้วย

และคุณสุเมธ ซึ่งเป็นตัวแทนนักเรียนไทยแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกวิชาการ ปี 2537
กลายเป็น ผู้อำนวยการหลักสูตร ให้กับ หลักสูตรคณิตศาสตร์ ของแก่นวิชา
ในโครงการ "เพาะสมองสู่โอลิมปิกวิชาการ"

เราจึงทำใบปลิว ฉบับใหม่ ขึ้นมา อีกชิ้น




[SIZE="3"]ภูเขาตำราสูงสุดชัน ขยันปีนป่านแม้เหนื่อยยาก
ทะเลความรู้ไร้ฝั่งฟาก บั่นบากเป็นเรือโลดแล่นไป
บทกลอน ที่ ลูกชายเจ้าของร้านขายก๊วยเตี๊ยว เลือกมาให้


เสร็จแล้ว แจกหน้าโรงเรียนประถม ละแวกนั้น
เป็นโอกาสให้ แก่นวิชา ได้รับศิษย์แก่นวิชา เด็ก 2 คนแรก (น้องบีมและเพื่อน น้องกอล์ฟ)
ได้สอน และ ได้เรียน พัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็กทั้งคู่ ในช่วงเวลานั้น

โดยเริ่มทำการสอนวันแรก คือ 11 มี.ค. 46 มีนักเรียนเพียง 2 คน
เป็นช่วงที่ใกล้จะปิดเทอมของโรงเรียนประถม อีก 3-4 วัน

เมื่อปิดเทอมแล้ว เด็กๆ ที่เคยได้รับเอกสาร ใบปลิว ไปจากเรา
จึงเริ่มทะยอยกันมา ในช่วงต้น เม.ย. ทำให้ ที่ แก่นวิชา เริ่มคึกคัก มีคนเข้าออกเพิ่มขึ้น
และแล้ว แก่นวิชาก็ได้เริ่มต้น ตั้งตัว ดำเนินงาน เป็นได้ด้วยดี
ซึ่งเป็นผลจากใบปลิวที่ 2 ทำงานได้อย่างดี มีเด็กที่เข้ามาเรียน ให้เราได้สอน จำนวนมากจากใบปลิวนี้
และเริ่มมีการ บอกต่อ ปากต่อปาก ของเด็ก และ ผู้ปกครอง จึงทำให้ แก่นวิชา เริ่มเติบโต ตั้งต้นได้ สำเร็จ

ในระหว่างนี้ คุณเอกราช ได้พยายาม ปรับจูน กรอบคิด ถ่ายทอด หลักการ และให้ความรู้
ให้กับคุณราเชน และคุณสุเมธ เพื่อใช้ในการบริหารและจัดการงาน ของแก่นวิชา
ให้มีกรอบคิดทางการศึกษาตรงกัน และได้กำหนดวิสัยทัศน์ ของแก่นวิชา ไว้ว่า

[SIZE="3"]แก่นวิชา สถาบันเพื่อค้นหาและพัฒนาความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์และวิืทยาศาสตร์
แก่เยาวชน สู่การเป็นภูมิปัญญาของสังคม


เมื่อกำลังจะเปิดเทอม จึงต้องมีใบปลิวเพิ่ม เพื่อแจกให้กับเด็กๆ ในวันเปิดเทอมวันแรก




[SIZE="3"]ก้าวหน้า คือ เข้าใจแก่นแท้ของสิ่งต่างๆ ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งเล็กน้อย
ถอยหลัง คือ ยึดติดกับการสะสมเทคนิคที่ไม่สำคัญอะไร


ผ่านไป ประมาณ 7 เดือน เพราะเริ่มเข้าสู่ช่วงปิดเทอม ภาคการเรียนที่ 1
เราจึงทำใบปลิวที่ 4 ให้เสร็จทันก่อนปิดเทอม




[SIZE="3"]ครูส่วนใหญ่เสียเวลาไปกับการตั้งคำถามเพื่อค้นหาว่า "นักเรียนไม่รู้อะไร"
แท้จริงแล้ว การตั้งคำถามที่ดี ควรถามเพื่อค้นหาว่า "นักเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะรู้อะไร
ไอน์สไตน์ : ผู้คิดทฤษฎีสัมพัทธภาพ


ด้วยการทำงานของเรา ในปีแรก
มี พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เด็กๆ ให้ความสนใจ การเรียน การสอน ที่แก่นวิชา มากมาย
มีการบอกต่อกัน ในกลุ่มผู้ปกครอง แก่นวิชา ทำให้ แก่นวิชา ได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง

แก่นวิชา ขอขอบคุณ ผู้ปกครองทุึกท่าน ที่ให้ความเชื่อถือ แก่นวิชา

ที่แก่นวิชา เรา ไม่ได้ให้ความสำคัญ แค่ การเีรียนหนังสือ แต่ เราให้ความสำคัญที่ การเรียนรู้ เป็นหลัก
เรา เข้มข้นในการเรียน การสอน เรามี กรอบคิด มี หลักการ มี ความรู้
ทำให้ แก่นวิชา ตั้งตัวติด ก่อนจะครบปีแรก
และดำเนินงานเรื่อยมา จนปัจจุบัน

ติดตามตอนต่อไป ปี 2547 ได้ตามลิงก์นี้

Nakderntang
#9
ปี 2547 ประวัติศาสตร์ การดำรงอยู่ ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา "แก่นวิชา มากกว่า ความรู้" ผ่านการสื่อสารที่เรียกว่า "ใบปลิว"

[SIZE="3"]จากกระทู้ ก่อนหน้านี้

"ปี 2546 ประวัติศาสตร์ การดำรงอยู่ ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา "แก่นวิชา มากกว่า ความรู้" ผ่านการสื่อสารที่เรียกว่า "ใบปลิว"

เป็นช่วงปีแรก ของการเริ่มต้น ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา
ผ่านไป 1 ปี มีผู้ปกครอง ให้ความสนใจ เชื่อถือ ไว้ใจ ให้แก่นวิชา สอน ลูกหลานตน
ช่วยกัน บอกต่อ ไปยังเพื่อนๆ ให้พาลูกๆ มาเรียน
ทำให้ แก่นวิชา ดำรงอยู่ต่อไปได้ ผ่านพ้น ระยะ Survival Phase ไปได้
ตรงกับ ความรู้ ที่ คุณ Siambrandname Webmaster เขียนถ่ายทอดไว้ในกระทู้

Survival Phase มากกว่าการค้าขาย สรุปความรู้สำคัญจากผู้ขายสู่ผู้สร้างองค์กรธุรกิจ โดย SBN Business Incubation


ราวๆ เดือน กันยายน ปี 2546
ได้มี พี่ๆ ศิษย์เก่า วิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ 2 คน
มาิเปิด โรงเรียนกวดวิชาเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ใน พื้นที่บริเวณเดียวกันกับ แก่นวิชา
โดยใช้ชื่อว่า "R2U" อ่านว่า อาร์ ทู ยู หรือ "Road to University"
ซึ่งโดยทั่วไป หากดูกิจการที่เปิดแล้ว เป็นกิจการประเภทเดียวกันกับ แก่นวิชา
นั่นหมายถึง ต้องมาเป็นคู่แข่งกับแก่นวิชา ต้องมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงนักเรียนมาเป็นลูกค้า

แต่ คุณเอกราช มีกรอบคิด "ไม่คิดเอาชนะ" แทนที่จะ "คิดเอาชนะ"
หากแก่นวิชา "คิดเอาชนะ" แข่งแล้ว ชนะ จะกลายเป็นส่งเสริมให้ แก่นวิชา มีโอกาส เกิดความอหังการ์
แข่งแล้ว ต้องชนะให้ได้ จะได้กลายเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ ต่อไปอาจแข่งกับทุกที่ ใน จ.นครปฐม เป็นได้
ยิ่งทำให้ ไม่หยุดแข่ง กลับกลายเป็น ยิ่งแข่งขันต่อไปมากขึ้น
หาก ไม่รู้จักพอ ก็ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่จะ หยุด

หากแก่นวิชา แข่งแล้ว แพ้ จะกลายเป็น ส่งเสริมให้ R2U เอง มีโอกาส กลายเป็น เช่นนั้น เช่นกัน

แก่นวิชา เลือก "ไม่คิดเอาชนะ" คุณเอกราช จึงเข้าไปทำงาน เพื่อหาทางที่จะทำงานร่วมกันกับ R2U ให้ได้
จนในที่สุด R2U กลายมาเป็น ร่วมกันทำงาน ไม่ต้อง แข่งขันกัน ไม่ต้องเป็น คู่แข่งกัน
เพราะ ไม่ว่าใครเป็นฝ่ายชนะ หรือ แพ้ ก็ต่างไม่เป็นผลดี และ ไม่เ็ป็นประโยชน์ ต่อทั้ง 2 ฝ่าย

แก่นวิชา เอง มีความแข็งแกร่งกว่า ในการสอน เปิดทำการมานานกว่า 6 เดือน
และสามารถเดินทางผ่าน Survival Phase มาได้แล้ว จึงมีความมั่นคงกว่า R2U ซึ่งเพิ่งเริ่มต้นมากนัก
และที่แก่นวิชามีกลุ่มนักเรียน ตั้งแต่ ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย
ซึ่งมีกลุ่มเ้ด็ก มัธยมปลาย เป็นกลุ่มนักเรียนเดียวกันกับ R2U

หากยัง "คิดเอาชนะ" อยู่ ก็ต้องมาแข่งขันกับ R2U อีก
แต่ อย่างที่บอก แก่นวิชา ไม่เลือก "คิดเอาชนะ" แต่ เลือก "ไม่คิดเอาชนะ"
จึงยินดี สละ พื้นที่งานสอนกลุ่มเด็ก มัธยมปลาย ให้ักับ R2U
และยินดีร่วมกันทำงาน เพื่อสนับสนุนให้ R2U สามารถผ่านพ้น Survival Phase ไปให้ได้เช่นกัน

และแน่นอนแก่นวิชา ก็ต้องนำสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว มาถ่ายทอดให้ R2U
1 ในสิ่งที่ถ่ายทอด นั่นคือ การเขียนใบปลิว เพื่อประชาสัมพันธ์ จึงเกิดเป็นใบปลิวนี้ขึ้นมา






ข้อความในใบปลิวหน้าแรก พี่ๆ R2U เลือกมา มาจากเพลงๆ นึง คุ้นๆ หู กันไหม ...

เพลง "Live and Learn" ขับร้องโดย คุณกมลา สุโกศล



[SIZE="2"]ขอขอบคุณ คุณ aimpaga ที่โพสต์เพลงนี้

[SIZE="3"]"ผิดหวังครั้งนี้ อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน"

เพิ่มเติมข้อความ รวมกับข้อความ ส่วนหนึ่งในบทเพลง "Live and Learn" ขับร้องโดย คุณกมลา สุโกศล


ที่เลือกข้อความนี้ เหตุหนึ่งมาจาก ช่วงนั้นมีการสอบเข้ามหาวิทยาลัย 2 รอบ
คือ รอบเดือน ตุลาคม และ มีนาคม ซึ่งขณะที่ได้ทำใบปลิวนี้
เราทำเพื่อรองรับ กลุ่มคนที่รู้และยอมรับตนว่า สอบรอบแรกไม่ผ่านแน่ ผิดหวังแน่
เพื่อให้กลับมา พร้อมที่จะสู้ใหม่ ทุ่มเทกันอีกครั้ง แค่ 4 เดือน เพื่อสอบใน มี.ค. 47 ให้ได้

งานนี้ ทางแก่นวิชา ขอเพียงแค่ ให้มี โลโก้ ของแก่นวิชา แปะไว้ในใบปลิวด้วย
เพื่อให้แก่นวิชาได้รับประโยชน์ จากการทำงานร่วมกันครั้งนี้เช่นกัน

ด้วยการทำงานร่วมกันนี้ ทำให้ R2U เริ่มต้นตั้งตัวได้ มีนักเรียน ม.5-6 เข้ามาจากใบปลิว จำนวนมาก


ในการทำงานของเราครั้งนี้ ทำให้เราได้เจอกับน้อง ม.1 คนหนึ่ง
จากคุณแม่ ที่ได้รับใบปลิวนี้ เพื่อเอามาให้ลูกชาย ซึ่งเรียนอยู่ ม.ปลาย
และได้แวะเข้ามาพูดคุยกันที่ แก่นวิชา ระหว่างที่รอ ลูกชายเรียนที่ R2U
จนตัดสินใจ ให้โอกาสแก่นวิชา ได้สอนน้อง ม.1 คนนี้
ซึ่งสามารถอ่านสิ่งที่เรา และน้องคนนี้ ได้เรียนรู้ ผ่านการเรียน การสอน ที่แก่นวิชา ได้จากกระทู้นี้

กิ๊ฟท์ เด็กหญิงที่เรียนหนังสือดีเยี่ยม ดีกรีรางวัลระดับประเทศและระดับโลก
ทั้งยังเรียนแพทยศาสตร์ ศิริราช จาก การเรียนหนังสือที่ดี สู่ การเรียนรู้
ตามแนวทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถูกต้องของแก่นวิชา
จึงได้เรียนรู้สิ่งที่สำคัญ มากกว่า ความรู้ สัมผัสชีวิต


คุณแม่ ชื่นชอบแนวทางการเรียน การสอน ที่แก่นวิชา ให้กับ ลูกๆ
จึงช่วยสนับสนุนแก่นวิชา ด้วยการ บอกต่อ กับเพื่อนพ่อแม่ ด้วยกัน
แก่นวิชา ขอขอบคุณ

ซึ่งการบอกต่อครั้งนี้ ช่วยให้ ที่แก่นวิชา มีเด็กนักเรียน เข้ามาเรียน อย่างล้นหลาม
ทำให้ ต้องเตรียมการ สำหรับการ เพิ่มเติมทีมงาน และเริ่มออกแบบการจัดการ การศึกษา
ให้เป็น ระบบ มากขึ้น ซึ่งได้ทำงานนี้ร่วมกันกับ ทาง R2U


ในช่วงนี้ ทำให้แก่นวิชา ได้เจอกับ คุณอาภา เฮงเจริญ
(ปี 2548 ได้เข้ามาทำงานด้วยกัน และตั้งแต่ ปี 2551 เป็นต้นมา
กลายเป็น ผู้เื้อื้ออำนวยการและที่ปรึกษาให้กับแก่นวิชา)

ซึ่งขณะนั้น กำลังศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีที่ 4 ใกล้จะจบอีกไม่กี่เดือน
และเข้ามาทำงาน part time พิเศษเพิ่มเติม ที่ R2U

แก่นวิชา ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณอาภา
จึงได้รู้ว่า คุณอาภา เรียนเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาชีพเกี่ยวกับการศึกษา โดยตรง
และกำลังจะจบ แต่ ยังไม่รู้ว่า ชีวิตตัวเองจะเดินไปในทิศทางใด

แก่นวิชา จึงชวนคุณอาภา เข้ามาทำงาน การศึกษาด้วยกัน

ดังนั้น เมื่อเข้าช่วง ปิดเทอมฤดูร้อน ปี 2547 คุณอาภา เรียนจบแล้ว
จึงได้เริ่มเข้ามาทำงานเป็น ทีมงานคนหนึ่งของแก่นวิชา

ในช่วงปีนี้ R2U ได้ปิดตัวลง อย่างรวดเร็ว เนื่องด้วย พี่คนหนึ่ง ในทีมงาน R2U
มีเหตุจำเป็นต้องไปปฏิบัติงาน ในสายวิชาชีพวิศวกรรม ทำให้เหลือทีมงานอีกคนหนึ่ง
คือ คุณไพโรจน์ ภู่ต้อง
(คุณไพโรจน์ ได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมทำงานด้วยกันกับแก่นวิชา จนพัฒนาตน กลายเป็น
ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ให้กับ ม.เกษตร ได้ อ่านการเรียนรู้ แก่นวิชา ร่วมกับ คุณไพโรจน์ได้ที่ลิงก์นี้)


ทางแก่นวิชา จึงชวนมาทำการจัดการ การศึกษา ด้วยกัน
ทำให้ แก่นวิชา มีทีมงานเพิ่มขึ้นอีก 1 คน
ซึ่งคุณไพโรจน์ ได้ให้ความรู้ การจัดการคุณภาพ ไว้กับแก่นวิชา


ช่วงปีที่ 2 ของแก่นวิชา งานเดิมที่เรายังต้องทำอยู่ ก็คือ แจกใบปลิว
เพราะ เรายังต้องการให้ มีเด็กเข้ามารับการศึกษา ที่ แก่นวิชา เยอะๆ

ตอนนี้ คุณอาภา เป็นผู้ปรับแต่ง ใบปลิว ที่มีอยู่เดิม จากอันนี้



ให้กลายเป็น อันนี้






หลังจากที่อยู่รอดได้แล้ว ในปีแรก ก็เข้าสู่ช่วงปีที่ 2
ปีแห่งการจัดการ วางระบบการศึกษา ให้กับแก่นวิชา ซึ่งเป็นช่วงเติบโต
หากผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ แก่นวิชา ก็จะเข้าสู่ช่วงต่อไป ช่วงการขยายตัว
ได้อย่าง ไม่ต้องกังวล ฐานที่มั่น สามารถเดินหน้า รุกได้ต่อไป

มาร่วมกัน ติดตามตอนต่อไป ปี 2548-49 ได้ตามลิงก์นี้ >>>> คลิ๊กได้เลย
(อยู่ระหว่างการจัดทำกระทู้)
Nakderntang
#10
ปี 2548-49 ประวัติศาสตร์ การดำรงอยู่ ของ ศูนย์การเรียนรู้บ้านแก่นวิชา "แก่นวิชา มากกว่า ความรู้" ผ่านการสื่อสารที่เรียกว่า "ใบปลิว"
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3