การปฏิบัติธรรมทั้งสองอย่างนี้ การปฏิบัติบูชาย่อมเป็นเลิศกว่าอามิสบูชา
เพราะการปฏิบัติตามคำสั่งสอน ย่อมยังประโยชน์สุขให้บังเกิดกับผู้ปฏิบัติทั้งโลกียสุขและโลกุตตรสุข และสามารถยังพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไปได้
จึงเป็นการบูชาที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า เป็นการบูชาพระตถาคตด้วยบูชาอย่างยิ่ง ดังพระพุทธดำรัส ตรัสว่า(มังคลัตถทีปนี หน้า ๑๑๔-๑๑๕)
อานนท์ ผู้ใดแล เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกาก็ตาม
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่
ผู้นั้น ชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคตด้วยบูชาอย่างยิ่งมีปกติประพฤติตามธรรมอยู่
อานนท์! เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล.
การปฏิบัติบูชาเป็นเลิศกว่าอามิสบูชา
แต่การที่บูชาที่บังเกิดบุญกุศลอย่างสูงสุดนั้น เราควรทำทั้งสองอย่างพร้อมกันไป
ทั้งปฏิบัติบูชา และอามิสบูชา ไม่ควรขาดอย่างใดอย่างหนึ่งจึงจะบังเกิดบุญกุศลอย่างสูงสุด
การบูชาทั้งสองอย่างต้องใช้ *ปัญญานำ*
แต่ถ้าใช้ กิเลสนำ
การบูชาทั้งสองย่อมไม่สะอาด
เมื่อของที่ให้ไม่สะอาด แต่ผู้รับเป็นผู้สะอาด
ผู้รับจึงไม่สามารถรับสิ่งนั้นได้
เปรียบกับถ้าลูกเราหวังดีเอาแอปเปิ้ลมาให้เรา แต่แอปเปิ้ลนั้นเปรอะเปื้อนไปด้วยมูลของสุนัข
เราก็คงต้องสอนลูกว่าให้เอาแอปเปิ้ลไปล้างให้สะอาดก่อน
ฉันใดก็ฉันนั้น
ถ้าท่านปราถนาบูชา พระรัตนตรัย คือ พระพุทธองค์ พระธรรม หรือ พระสงฆ์
ไม่ว่าจะเป็น อามิสบูชา หรือปฎิบัติบูชา
ท่านก็สมควรตั้งจิตให้สะอาด สว่าง และ สงบ ก่อน จึงทำการบูชา
ขณะบูชาและหลังบูชาแล้ว จิตก็ควรเป็นหนึ่งเดียว
ถ้าท่่านทำจิตให้สะอาดก่อนและขณะบูชาได้
แต่คิดว่าเราบูชาเสร็จแล้ว
เราไม่ต้องรักษาจิตแล้ว
ก็เป็นความคิดที่ผิด
การตั้งใจ รักษาจิต ให้เป็นผู้มีสติ รู้ตัว เป็นผู้ตื่นแล้ว
เป็นปฎิบัติบูชา ที่ท่านสามารถทำได้ทุกลมหายใจ
เมื่อมี สติ ย่อมเกิดการสำรวมอิทรีย์ทั้งหกได้
เมื่อสำรวมได้ ก็เกิดสุจริตสาม นี่ก็เป็นการปฎิบัติบูชา ที่พระพุทธบิดาทรงสรรเสริญ
เมื่อปฎิบัติได้ดังนี้ ก็ย่อมไม่ชื่อว่า ทำให้พระพุทธบิดาเหนื่อยเปล่า.
การเจริญสติทุกลมหายใจเข้าและออก
เป็นทางสู่พุทธะคือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.
คิดก็รู้ว่า คิด
พูดก็รู้ว่า พูด
ทำก็รู็ว่า ทำ
เธอจึงเป็นผู้ตื่น
เมื่อเธอตื่น เธอจึงรู้เห็น ว่าตนอยู๋ที่ไหน
เธอจึงก้าวออกจากสังสารวัฏได้ ก้าวออกจากทุกข์ได้ เพราะเธอตื่นแล้ว.
ผู้ที่คิดก็ไม่รู้ว่า คิด
พูดก็ไม่รู้ว่า พูด
ทำก็ไม่รู็ว่า ทำ
ผู้นั้นชื่อว่า หลับไหล และลุ่มหลง อยู่บนทางของสังสารวัฏ
ตื่นเถิดชาวพุทธ หัดเป็นผู้ตื่น
เลิกเป็นอยู่อย่างทาส
เพราะการเป็นทาส ยังให้เกิดทุกข์อยู่เสมอๆ เกิดความบีบคั้น ไม่เป็นอิสระ
จิตที่เป็นอิสระ เบาสบาย ปลอดโปร่ง สงบเย็น ไร้ความยินดีและไม่ยินดีในโลก
เพราะเห็นความเกิดและดับของสิ่งทั้งมวล
ไม่มีใครได้ หรือมี หรือเป็นอะไรเลย.
อาศัยปัญญาบริสุทธิ์ และเมตตาเป็นเครื่องอยู่
ตราบจนกายนี้แตกสลาย และจิตนี้ดับ(ความปรุงแต่ง)ไม่มีเหลือ....