ตัดกรรมตัดเวร
โดย hut2211
hut2211
#1
ตัดกรรมตัดเวร

โดยพระราชสังวร ( พุธ ฐานิโย )

การตัดกรรมคือการหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป
ส่วนการตัดเวรคือการหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน
คือไม่แก้แค้นซึ่งกันและกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน
และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ
ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้

กัมมัสสะโกมหิ (เรามีกรรมเป็นของๆตน)
กัมมะทายาโท (เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น)
กัมมะโยนิ (เรามีกรรมนำเกิด)
กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์พวกพ้อง)
กัมมะปะฏิสะระโน (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย)
ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราทำกรรมอันใดไว้)
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา (เป็นบุญหรือเป็นบาป)
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น)
อภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง (พึงพิจารณาเห็นเนืองๆดังนี้)

ไปทำพิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า

กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป
ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้
เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป
ใจตัวนี้ต้องรับผิดชอบโดยความเป็นธรรมโดยหลักของธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นการที่ไปทำพิธีตัดกรรมนี่หมายถึงตัดผลของบาปนั้นมันตัดไม่ได้ อย่าไปเข้าใจผิด

ถ้าเข้าใจว่าทำบาปทำกรรมแล้วแล้วไปทำพิธีล้างบาปได้
ทำพิธีตัดกรรมแล้วมันหมดบาปประเดี๋ยวก็ทำกรรมชั่ว
แล้วมาหาหลวงพ่อหลวงพี่ตัดบาปตัดกรรมให้
มันก็ไม่กลัวต่อบาปเพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าทำกรรมอันเป็นบาปแล้วตัดกรรมให้หมดไปได้
มันเป็นไปไม่ได้

********ยกตัวอย่างเรื่องกรรมบางส่วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า********

ชาติหนึ่งเคยเกิดเป็นนักเลงชื่อปุนาลี ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าสุรภิ
ผู้มิได้ประทุษร้ายใคร ด้วยผลแห่งกรรมนั้นต้องไปท่องนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปี
ด้วยกรรมที่เหลือในภพสุดท้ายก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
ซึ่งเป็นนักบวชหญิงถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำเป็นไปค้างคืนกับพระสมณโคดม
ให้ใครต่อใครหลงเข้าใจพระองค์ผิด ทั้งที่นางค้างที่อื่น แต่รุ่งเช้ามาก็ทำท่าโผเผมาจากเชตวนาราม
ที่พำนักของพระพุทธองค์ อีกสองสามวันต่อมามีคนโจษจันเรื่องนี้กันแล้ว
พวกเดียรถีย์ก็จ้างนักเลงไปฆ่านางสุนทริกา เพื่อป้ายความผิดว่านางถูกพระพุทธองค์ฆ่าปิดปาก
คนทั้งหลายก็สงสัยว่าอาจจะเป็นจริง ร้อนถึงพระราชาต้องส่งราชบุรุษไปสืบเรื่องดูตามร้านสุรา
เมื่อได้ความชัดแจ้งก็จับนักเลงที่ฆ่านางสุนทริกา กับเดียรถีย์ที่จ้างฆ่านางสุนทริกา มาลงโทษทั้งหมด
อีกชาติหนึ่งเกิดเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ มีผู้เคารพสักการะ เป็นผู้สอนมนต์แก่มานพ ๕๐๐ คน
และได้ใส่ความภีมฤษีผู้มีอภิญญา มีฤทธิ์มาก หาว่าฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม
มานพทั้งหลายก็พลอยชื่นชมยินดีไปด้วย เมื่อไปภิกขาจารในสกุล
ก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่าฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม ผลของกรรมนั้นภิกษุ๕๐๐คนเหล่านี้
ทั้งหมดพลอยถูกใส่ความด้วย เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกาที่ถูกนักเลงฆ่าและป้ายความผิดให้พระพุทธองค์
รวมทั้งภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในเชตวนาราม ก็พลอยถูกหาว่าร่วมกันฆ่าปิดปากนางสุนทริกาและถูกด่าว่าด้วย
จนกระทั่งพระราชาจับนักเลงและเดียรถีย์ที่ร่วมกันฆ่านางได้ เรื่องราว จึงได้สงบ

อีกชาติหนึ่งไปกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้า มีนามว่านันทะ
จึงต้องท่องไปในนรกหลายหมื่นปี เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ถูกใส่ความมาก
และด้วยกรรมที่เหลือ ชาติสุดท้ายนี้จึงถูกนางจิณจมาณวิกา ใส่ความว่าพระองค์ทำให้นางตั้งครรภ์
ชาติหนึ่งเคยฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ได้ผลักน้องชายต่างมารดาลงในซอกเขา
เอาหินทุ่มใส่ ด้วยผลแห่งกรรมนั้นจึงถูกพระเทวทัตเอาหินทุ่มใส่ที่เขาคิชกูฏ
จนสะเก็ดหินกระเด็นถูกหัวแม่เท้า ห้อพระโลหิตในชาติสุดท้าย
จะเห็นว่าแม้ขณะเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายท่านยังต้องได้รับผลของ
กรรมเก่าที่ทำไว้ในชาติก่อนมาสนองหลายอย่าง จึงเห็นได้ว่าเรื่องของกรรมนั้นตัดไม่ได้

แต่ตัดเวรนี้มีทางเป็นไปได้ เวรหมายถึงการผูกพยาบาทคอยแก้แค้นกันอยู่ตลอดเวลา
อย่างเช่นฆ่าเขาตายเมื่อนึกถึงกรรมแล้วกลัวเขาจะอาฆาตจองเวร
จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เขา ถ้าหากว่าเขาได้รับส่วนกุศลเขาได้รับความสุข
เขาเลื่อนฐานะจากภาวะที่ทุกข์ทรมานไปสู่ฐานะที่มีความสุข
เมื่อเขานึกถึงคุณความดีนึกถึงบุญคุณ เขาก็อโหสิกรรมให้ไม่ตามล้างตามผลาญกันอีกต่อไป
อันนี้คือตัดเวรซึ่งตัดได้

บางท่านอาจจะคิดว่าพระพุทธเจ้าช่างโหดร้ายจริงๆทำอะไรก็บาป
แต่แท้ที่จริงพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้โหดร้ายอย่าเข้าใจท่านผิด
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้กฎความเป็นจริงของธรรมชาติคือรู้ว่าฆ่าสัตว์เป็นบาป
ลักทรัพย์เป็นบาป ผิดกาเมเป็นบาป มุสาเป็นบาป ดื่มสุราและสิ่งมอมเมาเป็นบาป
แต่บาปที่กล่าวมานั้นมันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติแล้ว
ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มาประสูติแล้วมาบัญญัติขึ้นเอง
หรือมาบัญญัติบาปกรรมและโทษทัณฑ์อะไรไว้ลงโทษสัตว์ทั้งหลาย

การทำบาปทำกรรมนั้นสิ่งที่เรียกว่าเป็นบาปเป็นการกระทำด้วยกาย วาจา
โดยมีใจเป็นผู้เจตนาคือมีความตั้งใจ ทำลงไปแล้วเป็นบาปทันทีคือการละเมิดศีลห้าข้อเท่านั้น
เพราะฉะนั้นใครรักษาศีลห้าข้อได้บริสุทธิ์บริบูรณ์จึงเป็นการตัดทอนผลของบาป

บาปกรรมที่ทำไว้ในอดีต เมื่อวานนี้หรือเมื่อเช้านี้ ย่อมตัดกรรมไม่ได้แล้วและจะต้องให้ผลต่อไป
แต่เราจะตัดการทำกรรมชั่วในปัจจุบันได้และไม่ต้องรับผลของกรรมชั่วในอนาคต
เมื่อเราตั้งใจรักษาศีลห้าข้อให้บริสุทธิ์ตั้งแต่วันนี้ ตั้งแต่ขณะปัจจุบันนี้
ได้ชื่อว่าตั้งใจตัดเวรตัดกรรมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ถ้าหากเราสามารถปฏิบัติต่อๆไปได้จนกระทั่งตลอดชีวิตของเรา
เราก็จะได้ตัดกรรมตัดเวรตลอดชีวิตเรา นี่คือการตัดกรรมตัดเวรที่ถูกต้อง

ศีลห้านี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นแม่บทแห่งศีลทั้งหลายทั้งปวง
เป็นหลักธรรมที่เป็นข้อมูลเป็นจุดเริ่มแห่งการทำความดี
ผู้ใดปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาเป็นประโยชน์ให้เกิดทางมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง
ขอให้ยึดมั่นในศีลห้าประการ เมื่อท่านมีศีลห้าข้อนี้ครบโดยบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
ความเป็นมนุษย์ของท่านสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม
เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจะปลูกฝังความดีอันใดลงไป
คุณความดีนั้นก็จะฝังแน่นในกาย วาจา และในใจของท่าน

ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับบทความดี ๆ จาก http://blog.hunsa.com/papamama/blog/26605
due
#2
[SIZE="5"]ขอยืมพื้นที่นิดนึงนะคะน้องhut:cool:

[SIZE="5"]

การล้างบาปตามวิถีพุทธ



[SIZE="4"]ในพระพุทธศาสนานั้น มีวิธีการแก้ไขบาปอกุศลที่เคยพลาดพลั้งกระทำไป อย่างมีเหตุผลดังนี้

สมมุติว่าเราใส่เกลือช้อนหนึ่งลงในน้ำ 1 แก้ว เมื่อคนให้ละลาย แล้วลองชิมดู ผลจะเป็นอย่างไร "ก็เค็ม"
ถ้าเติมน้ำลงไปอีก 1 ถัง ชิมดูเป็นอย่างไร "ก็แค่กร่อย ๆ"
ถ้าเติมน้ำลงไปอีก 1 แทงค์ใหญ่ ชิมดูเป็นอย่างไร "ก็จืดสนิท"

"เกลือหายไปไหนหรือเปล่า????"
"เปล่า ยังอยู่ครบถ้วนตามเดิม"

"แล้วทำไมไม่เค็ม????"
"ก็เพราะน้ำ 1 แทงค์มีปริมาณมาก มากจนสามารถเจือจางรสเค็มของเกลือจนกระทั่งหมดฤทธิ์ เราจึงไม่รู้สึกถึงความเค็ม"

ภาษาพระท่านเรียก อัพโพหาริก หมายความว่า มีหมือนไม่มี คือเกลือนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหมดฤทธิ์เสียแล้ว ถือได้ว่าไม่มี

เช่นกัน วิธีแก้ไขบาปในพระพุทธศาสนาก็คือ การหยุดทำบาป แล้วตั้งใจทำความดีสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ ให้ผลบุญกุศลนั้นมาทำให้ผลบาปทุเลาลงไป

การทำบุญเหมือนการเติมน้ำ การทำบาปเหมือนการเติมเกลือ

เมื่อเราทำบาป บาปนั้นก็ติดตัวเราไปเหมือนเกลือที่ยังคงอยู่ในน้ำ ที่สำคัญไม่มีใครไถ่บาปแทนเราได้ ดังพระพุทธวจนะที่ว่า "นาญโญ อัฏฐะ วิโสธะเย - ผู้ใดจะไถ่บาปให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้"

หนทางแก้ไขก็คือการเติมน้ำเพื่อเจือจางความเค็ม นั่นคือ เราต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มากเพื่อมาทำให้บาปมีฤทธิ์น้อยลงหรือให้หมดฤทธิ์ลงไปให้ได้

จะเติมน้ำหรือเติมเกลือ พวกเราทั้งหลายคงต้องเลือกเอง

ขอยกพระพุทธวจนะเกี่ยวกับการเกิดบาปมา ณ ที่นี้ว่า
"นัตถิ ปาปัง อกุพพะโต - บาปย่อมไม่เกิดแก่ผู้ไม่ทำบาป"
"อัตตะนา วะ กะตัง ปาปัง อัตตะนา สังกิลิสสะติ - ผู้ใดทำบาป ผู้นั้นก็เศร้าหมองเอง"
"อัตตะนา อะกะตัง ปาปัง อัตตะนา วะ วิสุชฌะติ - ผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นก็บริสุทธิ์"

เอกสารอ้างอิง: ธรรมะสว่างใจ ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๘๕, พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๔๘, วัดสังฆทาน, Bermingham.
hut2211
#3
:Dขอบคุณและอนุโมทนาครับ พี่ดิว
TEDDY07
#4
Originally Posted by due
[SIZE="5"]ขอยืมพื้นที่นิดนึงนะคะน้องhut:cool:

[SIZE="5"]

การล้างบาปตามวิถีพุทธ



[SIZE="4"]ในพระพุทธศาสนานั้น มีวิธีการแก้ไขบาปอกุศลที่เคยพลาดพลั้งกระทำไป อย่างมีเหตุผลดังนี้

สมมุติว่าเราใส่เกลือช้อนหนึ่งลงในน้ำ 1 แก้ว เมื่อคนให้ละลาย แล้วลองชิมดู ผลจะเป็นอย่างไร "ก็เค็ม"
ถ้าเติมน้ำลงไปอีก 1 ถัง ชิมดูเป็นอย่างไร "ก็แค่กร่อย ๆ"
ถ้าเติมน้ำลงไปอีก 1 แทงค์ใหญ่ ชิมดูเป็นอย่างไร "ก็จืดสนิท"

"เกลือหายไปไหนหรือเปล่า????"
"เปล่า ยังอยู่ครบถ้วนตามเดิม"

"แล้วทำไมไม่เค็ม????"
"ก็เพราะน้ำ 1 แทงค์มีปริมาณมาก มากจนสามารถเจือจางรสเค็มของเกลือจนกระทั่งหมดฤทธิ์ เราจึงไม่รู้สึกถึงความเค็ม"

ภาษาพระท่านเรียก อัพโพหาริก หมายความว่า มีหมือนไม่มี คือเกลือนั้นยังมีอยู่ แต่ว่าหมดฤทธิ์เสียแล้ว ถือได้ว่าไม่มี

เช่นกัน วิธีแก้ไขบาปในพระพุทธศาสนาก็คือ การหยุดทำบาป แล้วตั้งใจทำความดีสั่งสมบุญให้มากเข้าไว้ ให้ผลบุญกุศลนั้นมาทำให้ผลบาปทุเลาลงไป

การทำบุญเหมือนการเติมน้ำ การทำบาปเหมือนการเติมเกลือ

เมื่อเราทำบาป บาปนั้นก็ติดตัวเราไปเหมือนเกลือที่ยังคงอยู่ในน้ำ ที่สำคัญไม่มีใครไถ่บาปแทนเราได้ ดังพระพุทธวจนะที่ว่า "นาญโญ อัฏฐะ วิโสธะเย - ผู้ใดจะไถ่บาปให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้"

หนทางแก้ไขก็คือการเติมน้ำเพื่อเจือจางความเค็ม นั่นคือ เราต้องหมั่นสร้างบุญกุศลให้มากเพื่อมาทำให้บาปมีฤทธิ์น้อยลงหรือให้หมดฤทธิ์ลงไปให้ได้

จะเติมน้ำหรือเติมเกลือ พวกเราทั้งหลายคงต้องเลือกเอง

ขอยกพระพุทธวจนะเกี่ยวกับการเกิดบาปมา ณ ที่นี้ว่า
"นัตถิ ปาปัง อกุพพะโต - บาปย่อมไม่เกิดแก่ผู้ไม่ทำบาป"
"อัตตะนา วะ กะตัง ปาปัง อัตตะนา สังกิลิสสะติ - ผู้ใดทำบาป ผู้นั้นก็เศร้าหมองเอง"
"อัตตะนา อะกะตัง ปาปัง อัตตะนา วะ วิสุชฌะติ - ผู้ใดไม่ทำบาป ผู้นั้นก็บริสุทธิ์"

เอกสารอ้างอิง: ธรรมะสว่างใจ ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๑๘๕, พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๔๘, วัดสังฆทาน, Bermingham.


โห อ่านแล้ว ดีจังเลย
TEDDY07
#5
Originally Posted by hut2211
ตัดกรรมตัดเวร

โดยพระราชสังวร ( พุธ ฐานิโย )

การตัดกรรมคือการหยุดทำความชั่วหยุดทำบาป
ส่วนการตัดเวรคือการหยุดการพยาบาทอาฆาตจองเวรซึ่งกันและกัน
คือไม่แก้แค้นซึ่งกันและกันรู้จักคำว่าให้อภัยซึ่งกันและกัน
และผู้ที่ทำผิดก็ให้รู้จักคำว่าขอโทษ
ผู้ที่ถูกขอโทษก็รู้จักคำว่าให้อภัย อันนี้เป็นอุบายตัดกรรมตัดเวร
พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าใครทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นแน่นอนหลีกเลี่ยงไม่ได้

กัมมัสสะโกมหิ (เรามีกรรมเป็นของๆตน)
กัมมะทายาโท (เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น)
กัมมะโยนิ (เรามีกรรมนำเกิด)
กัมมะพันธุ (เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์พวกพ้อง)
กัมมะปะฏิสะระโน (เรามีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย)
ยัง กัมมัง กะริสสามิ (เราทำกรรมอันใดไว้)
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา (เป็นบุญหรือเป็นบาป)
ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ (เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น)
อภิณหัง ปัจจะเวกขิตัพพัง (พึงพิจารณาเห็นเนืองๆดังนี้)

ไปทำพิธีตัดกรรมก็เป็นการลบล้างคำสอนของพระพุทธเจ้า

กรรมใดใครก่อไว้แล้วในเมื่อใจเป็นผู้จงใจทำลงไปแล้วเป็นกรรมอันเป็นบาป
ภายหลังจึงมานึกได้และไม่ต้องการผลของบาป มันก็หลีกเลี่ยงปฏิเสธไม่ได้
เพราะใจเป็นผู้สั่งให้กาย วาจา ทำลงไป พูดลงไป
ใจตัวนี้ต้องรับผิดชอบโดยความเป็นธรรมโดยหลักของธรรมชาติ
เพราะฉะนั้นการที่ไปทำพิธีตัดกรรมนี่หมายถึงตัดผลของบาปนั้นมันตัดไม่ได้ อย่าไปเข้าใจผิด

ถ้าเข้าใจว่าทำบาปทำกรรมแล้วแล้วไปทำพิธีล้างบาปได้
ทำพิธีตัดกรรมแล้วมันหมดบาปประเดี๋ยวก็ทำกรรมชั่ว
แล้วมาหาหลวงพ่อหลวงพี่ตัดบาปตัดกรรมให้
มันก็ไม่กลัวต่อบาปเพราะฉะนั้นอย่าไปเข้าใจผิดว่าทำกรรมอันเป็นบาปแล้วตัดกรรมให้หมดไปได้
มันเป็นไปไม่ได้

********ยกตัวอย่างเรื่องกรรมบางส่วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า********

ชาติหนึ่งเคยเกิดเป็นนักเลงชื่อปุนาลี ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าสุรภิ
ผู้มิได้ประทุษร้ายใคร ด้วยผลแห่งกรรมนั้นต้องไปท่องนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปี
ด้วยกรรมที่เหลือในภพสุดท้ายก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา
ซึ่งเป็นนักบวชหญิงถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำเป็นไปค้างคืนกับพระสมณโคดม
ให้ใครต่อใครหลงเข้าใจพระองค์ผิด ทั้งที่นางค้างที่อื่น แต่รุ่งเช้ามาก็ทำท่าโผเผมาจากเชตวนาราม
ที่พำนักของพระพุทธองค์ อีกสองสามวันต่อมามีคนโจษจันเรื่องนี้กันแล้ว
พวกเดียรถีย์ก็จ้างนักเลงไปฆ่านางสุนทริกา เพื่อป้ายความผิดว่านางถูกพระพุทธองค์ฆ่าปิดปาก
คนทั้งหลายก็สงสัยว่าอาจจะเป็นจริง ร้อนถึงพระราชาต้องส่งราชบุรุษไปสืบเรื่องดูตามร้านสุรา
เมื่อได้ความชัดแจ้งก็จับนักเลงที่ฆ่านางสุนทริกา กับเดียรถีย์ที่จ้างฆ่านางสุนทริกา มาลงโทษทั้งหมด
อีกชาติหนึ่งเกิดเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ มีผู้เคารพสักการะ เป็นผู้สอนมนต์แก่มานพ ๕๐๐ คน
และได้ใส่ความภีมฤษีผู้มีอภิญญา มีฤทธิ์มาก หาว่าฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม
มานพทั้งหลายก็พลอยชื่นชมยินดีไปด้วย เมื่อไปภิกขาจารในสกุล
ก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่าฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม ผลของกรรมนั้นภิกษุ๕๐๐คนเหล่านี้
ทั้งหมดพลอยถูกใส่ความด้วย เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกาที่ถูกนักเลงฆ่าและป้ายความผิดให้พระพุทธองค์
รวมทั้งภิกษุทั้งหลายที่อยู่ในเชตวนาราม ก็พลอยถูกหาว่าร่วมกันฆ่าปิดปากนางสุนทริกาและถูกด่าว่าด้วย
จนกระทั่งพระราชาจับนักเลงและเดียรถีย์ที่ร่วมกันฆ่านางได้ เรื่องราว จึงได้สงบ

อีกชาติหนึ่งไปกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้า มีนามว่านันทะ
จึงต้องท่องไปในนรกหลายหมื่นปี เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ถูกใส่ความมาก
และด้วยกรรมที่เหลือ ชาติสุดท้ายนี้จึงถูกนางจิณจมาณวิกา ใส่ความว่าพระองค์ทำให้นางตั้งครรภ์
ชาติหนึ่งเคยฆ่าน้องชายต่างมารดาเพราะเหตุแห่งทรัพย์ ได้ผลักน้องชายต่างมารดาลงในซอกเขา
เอาหินทุ่มใส่ ด้วยผลแห่งกรรมนั้นจึงถูกพระเทวทัตเอาหินทุ่มใส่ที่เขาคิชกูฏ
จนสะเก็ดหินกระเด็นถูกหัวแม่เท้า ห้อพระโลหิตในชาติสุดท้าย
จะเห็นว่าแม้ขณะเป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้ายท่านยังต้องได้รับผลของ
กรรมเก่าที่ทำไว้ในชาติก่อนมาสนองหลายอย่าง จึงเห็นได้ว่าเรื่องของกรรมนั้นตัดไม่ได้

แต่ตัดเวรนี้มีทางเป็นไปได้ เวรหมายถึงการผูกพยาบาทคอยแก้แค้นกันอยู่ตลอดเวลา
อย่างเช่นฆ่าเขาตายเมื่อนึกถึงกรรมแล้วกลัวเขาจะอาฆาตจองเวร
จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เขา ถ้าหากว่าเขาได้รับส่วนกุศลเขาได้รับความสุข
เขาเลื่อนฐานะจากภาวะที่ทุกข์ทรมานไปสู่ฐานะที่มีความสุข
เมื่อเขานึกถึงคุณความดีนึกถึงบุญคุณ เขาก็อโหสิกรรมให้ไม่ตามล้างตามผลาญกันอีกต่อไป
อันนี้คือตัดเวรซึ่งตัดได้

บางท่านอาจจะคิดว่าพระพุทธเจ้าช่างโหดร้ายจริงๆทำอะไรก็บาป
แต่แท้ที่จริงพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้โหดร้ายอย่าเข้าใจท่านผิด
พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้กฎความเป็นจริงของธรรมชาติคือรู้ว่าฆ่าสัตว์เป็นบาป
ลักทรัพย์เป็นบาป ผิดกาเมเป็นบาป มุสาเป็นบาป ดื่มสุราและสิ่งมอมเมาเป็นบาป
แต่บาปที่กล่าวมานั้นมันมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะประสูติแล้ว
ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มาประสูติแล้วมาบัญญัติขึ้นเอง
หรือมาบัญญัติบาปกรรมและโทษทัณฑ์อะไรไว้ลงโทษสัตว์ทั้งหลาย

การทำบาปทำกรรมนั้นสิ่งที่เรียกว่าเป็นบาปเป็นการกระทำด้วยกาย วาจา
โดยมีใจเป็นผู้เจตนาคือมีความตั้งใจ ทำลงไปแล้วเป็นบาปทันทีคือการละเมิดศีลห้าข้อเท่านั้น
เพราะฉะนั้นใครรักษาศีลห้าข้อได้บริสุทธิ์บริบูรณ์จึงเป็นการตัดทอนผลของบาป

บาปกรรมที่ทำไว้ในอดีต เมื่อวานนี้หรือเมื่อเช้านี้ ย่อมตัดกรรมไม่ได้แล้วและจะต้องให้ผลต่อไป
แต่เราจะตัดการทำกรรมชั่วในปัจจุบันได้และไม่ต้องรับผลของกรรมชั่วในอนาคต
เมื่อเราตั้งใจรักษาศีลห้าข้อให้บริสุทธิ์ตั้งแต่วันนี้ ตั้งแต่ขณะปัจจุบันนี้
ได้ชื่อว่าตั้งใจตัดเวรตัดกรรมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ถ้าหากเราสามารถปฏิบัติต่อๆไปได้จนกระทั่งตลอดชีวิตของเรา
เราก็จะได้ตัดกรรมตัดเวรตลอดชีวิตเรา นี่คือการตัดกรรมตัดเวรที่ถูกต้อง

ศีลห้านี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นแม่บทแห่งศีลทั้งหลายทั้งปวง
เป็นหลักธรรมที่เป็นข้อมูลเป็นจุดเริ่มแห่งการทำความดี
ผู้ใดปฏิบัติตามคำสอนของพระศาสดาเป็นประโยชน์ให้เกิดทางมรรคผลนิพพานอย่างแท้จริง
ขอให้ยึดมั่นในศีลห้าประการ เมื่อท่านมีศีลห้าข้อนี้ครบโดยบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
ความเป็นมนุษย์ของท่านสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม
เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านจะปลูกฝังความดีอันใดลงไป
คุณความดีนั้นก็จะฝังแน่นในกาย วาจา และในใจของท่าน

ขอขอบคุณและอนุโมทนาบุญกับบทความดี ๆ จาก http://blog.hunsa.com/papamama/blog/26605


ขอบคุณจ๊ะ :D
organ_kaviya
#6
ขอบคุณจขกท และทุกๆท่านที่เอาธรรมะดี มาฝากค่ะ อ่านเเล้วซาบซึ้งใจค่ะขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ
pepsi5510
#7
ขอบคุณครับคุณ hut 2211
และคุณ due

ในบทธรรมสอนสั่งดีๆ....
Ohh
#8
ขอบคุณคุณฮัท และพี่ดิวมากๆค่ะ :cool:
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3