ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร...เรื่องจริงที่พระมาเล่าให้ฟังค่ะ
โดย due
due
#1
[SIZE="4"]ข้อปฏิบัติในการใส่บาตร

[SIZE="3"]1. นิมนต์พระ

หลังจากที่เราเตรียมสำรับกับข้าวเรียบร้อยแล้ว เราก็ยืนรอพระที่จะเดินบิณฑบาตผ่านมา
การยืนรอพระในขั้นตอนนี้ ควรศึกษาให้ดีเสียก่อนว่า เส้นทางนี้มีพระเดินผ่านหรือไม่
ไม่ใช่ว่าไปรอบนทางสายเปลี่ยวที่ไม่มีพระเดินผ่าน คงไม่ได้ใส่กันพอดี
รอซักพัก พอมีพระเดินมาก็นิมนต์ท่าน
การนิมนต์ ก็ควรใช้คำว่า "นิมนต์ครับ/ค่ะท่าน" แค่นี้พระท่านก็ทราบแล้ว
ตอนเป็นพระเคยเดินบิณฑบาตที่ตลาดเขมร โยมนิมนต์ด้วยถ้อยคำอันรื่นหูว่า "ท่านเจ้าประคุณเจ้าคะ นิมนต์เจ้าค่ะ" (ใช้คำไฮโซมาก)
มีอีกทีนึงโยมใช้คำว่า "นิมนต์เจ้าค่ะ พระอาจารย์" (เอ่อ โยม อาตมาเพิ่งบวชอาทิตย์เดียว)
การนิมนต์พระควรนิมนต์ด้วยความสำรวมและใช้เสียงดังพอประมาณ
โยมบางคนเรียกพระด้วยเสียงอันดัง "นิ โมนน!!" (แง้ ทำไมต้องตะคอกด้วย - -")
การนิมนต์ควรสังเกตอายุของพระด้วย
ถ้าอายุน้อยกว่าเราหรือว่าเยอะกว่าไม่มากก็เรียกว่าหลวงพี่ ถ้ามีอายุหน่อยก็เรียกหลวงน้า ถ้าแก่พรรษามากก็เรียกหลวงตา หรือนอกจากนี้ก็อาจจะเรียกหลวงอา หลวงลุง หลวงปู่ฯลฯ แล้วแต่จะลำดับญาติ
อย่างฉันปีนี้อายุ ๒๓ ปี หน้าตาค่อนข้างเด็ก แต่เคยมีโยมใช้คำว่า "นิมนต์ค่ะ หลวงลุง" ทำเอาเสีย self จนอยากสึกออกไปทำ baby face
โยมบางคนคงเขินอายพระ เนื่องจากไม่ค่อยได้ใส่บาตรเท่าไร เวลาพระเดินมาก็ยื่นมือออกมาทำท่ากวักๆ ทำเหมือนพระเป็นรถเมล์
หลังจากนิมนต์พระ ก็เข้าสู่ขั้นตอนถัดไปคือ


2. จบ

อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจบแล้วนะ
การจบ หมายถึง การเอามาทูนไว้ที่หัวแล้วอธิษฐาน
การจบ ควรใช้เวลาอธิษฐานแต่พองาม ไม่ต้องอธิษฐานนานจนเกินไป
เคยมีโยมนิมนต์ไปรับบาตร ไอเราก็เดินไปเปิดฝาบาตรรอรับ โยมก็จบอยู่ ขอบอกว่านานมากกกกกกก นานจนรู้สึกได้ นานจนอดคิดไม่ได้ว่า "โยมขออะไรเราน้า?"


3. ถอดรองเท้า ยืนด้วยเท้าเปล่า

จริงๆแล้ว จุดประสงค์ของการถอดรองเท้าคือเป็นการให้ความเคารพพระสงฆ์โดยการไม่ยืนสูงกว่าท่าน เพราะเวลาพระสงฆ์บิณฑบาตจะเดินเท้าเปล่า แต่มีญาติโยมบางคนไม่เข้าใจเกี่ยวกับการถอดรองเท้าซึ่งมีหลายประเภทเหมือนกัน เช่น
บางคนถอดรองเท้าอย่างเรียบร้อยแต่ยืนบนรองเท้า - -" (สูงกว่าเดิมอีก)
บางคนถอดรองเท้าและยืนบนพื้นจริง แต่ว่าตัวเองยืนบนฟุตบาท พระยืนบนพื้นถนนซะงั้น (หนักกว่าเก่า)
เคยมีเรื่องเล่าว่า มีโยมคนนึงยืนใส่บาตรพระ พระเห็นว่าโยมใส่รองเท้าเลยแนะนำโยมไปว่า
พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควรถอดรองเท้าใส่บาตรนะ"
โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม
โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ
อิบ้า!! ท่านหมายถึงถอดรองเท้าเวลาใส่บาตร ไม่ใช่ถอดรองเท้าเอามาใส่ในบาตร
อันนี้เป็นเรื่องที่หลวงน้าท่านนึงเล่าให้ฟังระหว่างฉันเพล (เรื่องขำขันขณะฉันเพล)
พอถอดรองเท้าเสร็จก็เข้าสู่ขั้นตอนที่สี่


4. ใส่บาตร

อันนี้ถือเป็นจุดไคลแมกซ์ของการใส่บาตร
สิ่งสำคัญที่ทุกคนมองข้ามก็คือควรดูว่าของที่นำมาใส่บาตรนั้น เสียรึเปล่า
บางคนมีเจตนาอยากทำบุญดี แต่ดันไปซื้อของเสียมาใส่บาตร
พระฉันไป เข้าห้องน้ำไป
พวกร้านค้าก็จริงๆ บางครั้งเอาของค้างคืนมาขายเอากำไร ไม่สนใจพระเจ้า เห็นแก่ตัว หากินกับพระ
ก็ฝากด้วยนะครับ เด๋วทำบุญจะได้บาปเปล่าๆ
นอกจากนี้ ของที่นำมาใส่ ถ้าเพิ่งปรุงสุกเสร็จ ควรดูด้วยว่ามันร้อนมากรึเปล่า
เคยมีโยมใส่แกง ร้อนมากๆๆ บาตรเกือบหล่น ทั้งนี้เพราะบาตรทำจากโลหะ นำความร้อนได้ดี
ปริมาณไม่ควรมากจนเกินไป
เคยมีโยมใส่บาตรด้วย "กล้วย ๓ หวี"
กล้วยเล็บมือนาง กล้วยไข่ อาตมาไม่ว่า
แต่นี่ใส่ "กล้วยหอม" (อันนี้เกิดกับตัวเองจริงๆ)
คิดดู "กล้วยหอม ๓ หวี" อยู่ในบาตร หนักมากกกก จนอยากบอกโยมว่า "โยม อาตมาไม่ใช่ช้าง"
การใส่ก็ควรวางในบาตรด้วยอาการสำรวม
โยมผู้หญิงบางคนกลัวโดนพระจัด พอถุงกับข้าวถึงแค่ปากบาตร ก็ปล่อยลงมา ตุ๊บ!! นึกว่ากาลิเลโอกลับชาติมาทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลก (วางดีๆก็ได้ 55)
ขั้นตอนต่อไปคือ


5. รับพร

หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร
เราเป็นญาติโยม ก็ประนมมือรับพรกันตามระเบียบ โดยอาจยืนหรือนั่งยองๆ ก็ได้ ก้มหัวแต่พองาม
เคยมีโยมยืนประนมมือ แต่ก้มหน้ามาแทบชนพระ ห่างจากหน้าพระประมาณคืบเดียว (ไม่ต้องใกล้ชิดศาสนาขนาดนั้นก็ได้โยม (ตอนนั้นให้พรเบาๆ เพราะไม่มั่นใจเรื่องกลิ่นปาก))
ถ้าเป็นโยมผู้หญิงก็นั่งให้เรียบร้อย เหมาะสม
ระหว่างนี้ก็อุทิศส่วนกุศลให้คนที่รัก เจ้ากรรมนายเวรและอื่นๆ ก็ว่ากันไป

การใส่บาตรที่อยากแนะนำก็มีประมาณเท่านี้
ขั้นตอนการทำบุญง่ายๆ
ตื่นเช้ามาใส่บาตรกันเถอะครับ พี่น้อง
pepsi5510
#2
ขอบคุณมากครับ...

ขอแทรกนิดนึงนะครับ...ในฐานะที่เคยบวชพระมาแล้ว..

ศิลของพระในบทที่ว่า...

ปฏิสังยุตต์

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ ๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง


ข้อที่ 14

ไม่แสดงธรรม (ไม่แสดงธรรมแก่ผู้ที่นั่ง แต่พระภิกษุยืน.)

ในที่นี้ ท่านเจ้าอาวาส เคยบอกเสมอๆว่า เมื่อรับบาตรจากญาติโยมแล้วให้สํารวม และให้พรหรือแสดงธรรมได้ในใจ ห้ามเปล่งวาจาเด็ดขาด.

เพราะจะผืดศิล......

ในที่นี้ พระท่านสามารถปลงอาบัติได้เมื่อทําวัตรเช้าหรือเย็น ยกเว้นหนักจริงอย่างปราชิก ขาดจากการเป็นพระทันที....

เมื่อท่านให้พร...เช่นสวด สัพพี.(เมื่อรับบาตรแล้ว)..เมื่อไหร่ ท่านผิดทันที..เพราะเปล่งวาจาออกมา...แต่ท่านสามารถปลงอาบัติ คือ ความผิดเล็กน้อยได้..และทําได้ทุกวัน..

แต่...เรา ที่ใสบาตร เราก็ผิดด้วย...คือ บาป เพราะท่านให้พร และเราก็รับพร ที่ทําให้ท่านผิดศิล....แต่เราปลงอาบัคิไม่ได้.

ถ้าจะไม่ให้ผิดศิล ต้องให้ท่านยืนที่สูงกว่า เช่นเอา พรมปู ให้ท่านยืนสูงกว่า เรานั่งหรือจะยืนก็ตาม เราก็อยู่บนดิน. แบบนี้ไม่ผิด ท่านก็ไม่ผิด.

ที่เห็นอยู่ทั่วๆไปทุกวันนี้ เมื่อท่านรับบาตรแล้ว ก็ให้พร นั่นก็เหมือนกับแสดงธรรม...ตามกฎของสงฆ์แล้ว ผิดศิลครับ.


เราควรใส่บาตรเสร็จ ก็ไหว้ท่าน แล้วรีบหันกลับ...ครับ อย่ารีรอให้ท่านให้พร...

แทนที่เราจะได้บุญ เรา กลับได้บาปมาแทนครับ.....


เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงนะครับ....ถ้าไม่เชื่อ ท่านลองไปถามพระระดับผู้ใหญ่แล้วท่านจะรู้ว่าผมพูดความจริง.

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)



เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)

อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

[SIZE=+1]ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

[SIZE=+1]สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้ ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน ๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น[SIZE=+1]อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

[SIZE=+1]นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่ ๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน๑๘.รับเงินทอง๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน[SIZE=+1]ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่ ๑.ห้ามพูดปด๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้๒.ห้ามด่า๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป๓.ห้ามพูดส่อเสียด๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ[SIZE=+1]ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

[SIZE=+1]เสขิยะ
สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่ ๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้านโภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่ ๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้๒๖.ไม่ฉันเลียมือ๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน



ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ ๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า


******๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน



๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง




ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ [SIZE=+1]อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
asiaticia
#3
พี่ดิวอ่านแล้วดื่มน้ำอยู่พุ่งพรวดคอมเปียกเลย ตลกจังค่ะคือตอนแรกคิดว่าเป็บบทความปกติหนะค่ะแต่เป็นความรู้ดีจริงๆค่ะ เวลาใส่บาตรเจตจะยืนยองๆหน่อยให้พระท่านอยู่สูงกว่า สาธุ

คุณอา pepsi นี่ความรู้แน่นปึ้กเลยค่ะ ดีนะคะเนี่ยใส่บาตรแล้วเจตไม่เคยรอพระท่านสวดอะไรให้เลย ไม่งั้นจะเป็นเหตุให้พระท่านอาบัติเอาง่ายๆ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ สาธุ
pachcha
#4
อ่านไปก็แอบหัวเราะไปค่ะ มีมุขขำๆตลอดแต่ก็ได้ความรู้ด้วย ดีจัง
ของคุณpepsi เราก็เพิ่งรู้นะคะ อ่านทู้เดียวได้ความรู้แยะเลย^^
pepsi5510
#5
พี่ due อย่าเข้าใจผมผิดนะครับ ว่ามาค้านบทความของพี่
และตามที่พี่กล่าวว่า....

5. รับพร

หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร

พระสงฆ์ส่วนมาก...จะให้พร....

ผมเลยเอามาแทรกนิดนึงครับ พี่ due คงไม่โกรธผมนะครับพี่...เรื่องการทําบุญ ด้วยการใส่บาตรนั้นดีมากๆ แต่บางครั้ง มีบางส่วนที่สําคัญ แต่ เราอาจจะไม่รู้ อาจจะทําให้เราได้บาป แทนที่จะได้บุญ...

อย่างเช่น...ผู้เป็นพระ...ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ ต้องสวมผ้าอาบ และเวลา ฉี่ ต้องนั่งยองๆ ห้ามยืนเด็ดขาด จะอาบัติ.(ลองคิดดู...ผู้ชายนั่งยองๆ.เวลาฉี่ มันจะห้อยร่องแร่ง อาจจะโดนพื้นที่มันสกปรก ต้องคอยประคองไว้ )...แต่ความผิดเล็กน้อยแบบนี้ เราปลงได้เมื่อเราผิด.

[SIZE=7]พี่ due อย่าโกรธผม นะครับ....

[SIZE=7]ถ้าผมผิดพลาดประการใด ผมต้องขอโทษ น๊ะๆๆๆๆๆ พี่.
hut2211
#6
ขอบคุณพี่ดิว และคุณอาpepsi ครับ
อนุโมทนาสาธุครับ

due
#7
Originally Posted by pepsi5510
พี่ due อย่าเข้าใจผมผิดนะครับ ว่ามาค้านบทความของพี่
และตามที่พี่กล่าวว่า....

5. รับพร

หลังจากใส่บาตรเสร็จ พระสงฆ์ส่วนมากก็จะให้พร

พระสงฆ์ส่วนมาก...จะให้พร....

ผมเลยเอามาแทรกนิดนึงครับ พี่ due คงไม่โกรธผมนะครับพี่...เรื่องการทําบุญ ด้วยการใส่บาตรนั้นดีมากๆ แต่บางครั้ง มีบางส่วนที่สําคัญ แต่ เราอาจจะไม่รู้ อาจจะทําให้เราได้บาป แทนที่จะได้บุญ...

อย่างเช่น...ผู้เป็นพระ...ห้ามเปลือยกายอาบน้ำ ต้องสวมผ้าอาบ และเวลา ฉี่ ต้องนั่งยองๆ ห้ามยืนเด็ดขาด จะอาบัติ.(ลองคิดดู...ผู้ชายนั่งยองๆ.เวลาฉี่ มันจะห้อยร่องแร่ง อาจจะโดนพื้นที่มันสกปรก ต้องคอยประคองไว้ )...แต่ความผิดเล็กน้อยแบบนี้ เราปลงได้เมื่อเราผิด.

[SIZE=7]พี่ due อย่าโกรธผม นะครับ....

[SIZE=7]ถ้าผมผิดพลาดประการใด ผมต้องขอโทษ น๊ะๆๆๆๆๆ พี่.



[SIZE="4"]หวัดดีค่ะคุณpepsi กลับมาแล้วหรอคะ
หายไปทำธุระซะนานเลย ดิวอยากสั่งขนมไหว้พระจันทร์
ต้องทำไงอ่ะ อ้อ! เข้าเรื่องก่อน ก่อนอื่นต้องบอกว่าไม่โกรธเลยค่ะ
แล้วยังต้องขอขอบคุณซะอีกที่มาช่วยกันให้แจ้งยิ่งๆขึ้นในข้อกำหนดต่างๆของพระสงฆ์
ที่คนทั่วไปไม่รู้กัน ดิวก็ไม่สามารถบวชพระได้ในชาตินี้ รู้สึกดีใจที่มีผู้ที่ผ่่านประสบการณ์
การบวชและตั้งใจศึกษาพระะธรรม มาช่วยชี้แนะ ทำให้ได้เข้าใจพระท่านมากขึ้นด้วย
ดิวใส่บาตรพระท่านก็ให้พรทุกครั้งเลย พระท่านยืน แต่เรานั่งคุกเข่า คิดว่าคราวหน้า
จะต้องหาผ้ามาปูให้พระท่านยืน จะได้อยู่สูงกว่าเรา จะได้ไม่บาปเนอะ คิด คิด คิด:rolleyes:
ขอบคุณอีกครั้งนะคะคุณpepsi สาธุจริงๆค่ะ
pepsi5510
#8
กลับมาแล้วครับพี่ due มาถึงวันพุธ ครับ..
เอาไงดีเรื่องขนมไหว้พระจันทร์ พี่อยู่ไกลเหรอครับ...
ถ้าส่งไปทางขนส่ง...กลัวว่าจะเสียหาย
ถ้าส่งไปทางไปรษณีย์ ก็คงไม่ไหวกับค่าส่งนะพี่...

ถ้ามาซื้อเองที่วัด ก็มีขายตลอดครับ อยู่ถนนจรัลสนิทวงศ์ ที่ 35 ซอยบางขุนนนทร์ วัดเจ้าอาม...เปิดขายก็ประมาณ 9 โมงเข้าถึง 2 ทุ่มครับ.หรือพี่จะให้ผมไปส่งให้ครับ....

พี่อยู่แถวไหน ... ยังไงถ้าไปได้ ผมจะไปส่งให้ครับ.

:):):)
aeh
#9
แล้วถ้าเราไม่รอรับพรพระท่านจะไม่งงหรอค่ะ มันเป็นเหมือนธรรมเนียมปฏิบัติ
due
#10
Originally Posted by pepsi5510
กลับมาแล้วครับพี่ due มาถึงวันพุธ ครับ..
เอาไงดีเรื่องขนมไหว้พระจันทร์ พี่อยู่ไกลเหรอครับ...
ถ้าส่งไปทางขนส่ง...กลัวว่าจะเสียหาย
ถ้าส่งไปทางไปรษณีย์ ก็คงไม่ไหวกับค่าส่งนะพี่...

ถ้ามาซื้อเองที่วัด ก็มีขายตลอดครับ อยู่ถนนจรัลสนิทวงศ์ ที่ 35 ซอยบางขุนนนทร์ วัดเจ้าอาม...เปิดขายก็ประมาณ 9 โมงเข้าถึง 2 ทุ่มครับ.หรือพี่จะให้ผมไปส่งให้ครับ....

พี่อยู่แถวไหน ... ยังไงถ้าไปได้ ผมจะไปส่งให้ครับ.

:):):)



5555 ไม่ต้องมาส่งให้หรอกค่ะ ดิวอยู่แม่กลองอ่ะ ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
น้องสาวดิวอยู่กทม. ถ้าเค๊าว่างดิวจะให้เค๊าไปซื้อให้ค่ะ

Originally Posted by aeh
แล้วถ้าเราไม่รอรับพรพระท่านจะไม่งงหรอค่ะ มันเป็นเหมือนธรรมเนียมปฏิบัติ


นั่นสิคะ เขิลๆ ใส่บาตรปุ๊ปหันหลังปั๊ป พระคง"งง"
หรือพี่ว่าให้พระยืนบนฟุตบาทแล้วเรายืนข้างล่างแบบนี้พระก็อยู่สูงกว่าเราแล้ว
พระให้พรก็ไม่บาปไง ดีมะ!:rolleyes:
pepsi5510
#11
Originally Posted by due
5555 ไม่ต้องมาส่งให้หรอกค่ะ ดิวอยู่แม่กลองอ่ะ ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
น้องสาวดิวอยู่กทม. ถ้าเค๊าว่างดิวจะให้เค๊าไปซื้อให้ค่ะ



นั่นสิคะ เขิลๆ ใส่บาตรปุ๊ปหันหลังปั๊ป พระคง"งง"
หรือพี่ว่าให้พระยืนบนฟุตบาทแล้วเรายืนข้างล่างแบบนี้พระก็อยู่สูงกว่าเราแล้ว
พระให้พรก็ไม่บาปไง ดีมะ!:rolleyes:


ถูกต้อง นะครับบบ....
5555 แบบนี้คงต้องถือถุงกระดาษใบใหญ่ๆไปด้วยเวลาใส่บาตร...เวลาท่านเดินมารับบาตร...ให้ท่านขึ้นมายืนตรงกระดาษที่เราปูเอาไว้....แบบนี้ ม่ายยยย บาปปป


คุณ Due อยู่แม่กลองเหรอ...ผมไปบ่อยครับ..เพราะมีลูกค้า โรงงานท๊อฟฟี่ ลูกอม คูก้าร์ ลูกกวาดบุญประเสริฐ์ ที่อยู่ตรงข้าม ทีตั้งของรูปปั้น ร.2 ครับ....:):)
cartoon
#12
ชอบมากค่ะ

คราวหน้า ใส่บาตรจะเอาผ้าไปด้วย :)
JuNeJuNe
#13

ได้ค.รู้เพิ่มอีกแล้ว

ขอบคุณนะคะพี่ดิว^^
PREZZO
#14
เกร็ดความรู้เล็กน้อยครับ

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ขณะที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ทรงผนวชอยู่นั้น
กรมหลวงรักษ์รณเรศ ผู้ซึ่งเกลียดชังเจ้าฟ้าพระเคยพิเรนทร์ขนาดเอาข้าวต้มร้อนๆ ใส่ในบาตรพระธรรมยุติกา
พระธรรมยุตท่านบิณฑบาตรโดยการอุ้มบาตร ไม่ได้สะพายสายโยค

การพิจารณาของที่ใส่บาตรก็สำคัญครับ
TEDDY07
#15
ขอบคุณพี่ดิวจ๊ะ
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3