มีใครเคยเอาน้องหมาไปออสเตรเลียมั๊ยคะ
โดย nattakitta
nattakitta
#1
จะไปเรียนต่อที่ออสค่ะ แต่อยากพาน้องหมาไปด้วย
เป็นหมาบางแก้วค่ะ ติดเรามากมาย
คราวที่แล้วขนาดไปเที่ยวประมาณห้าเดือน ต้องเอาไปฝากที่ฟาร์มโชคชัย
เข้าคอร์สฝึกเลยค่ะ เพราะไว้ที่บ้านไม่ได้ ไม่เอาใครเลย กับแม่บ้านก็เข้าไกล้ไม่ได้
แล้วครูฝึกบอกว่าเค้าหงอยๆค่ะ ไม่สบายด้วยรอบนึง แต่ที่ครูสอนอะไรไปทำได้หมดเลยค่ะ แต่ซึมๆ
คราวนี้จะไปเรียนนานเลยอยากเอาเค้าไปด้วย สงสารเค้าค่ะ บางแก้วเป็นหมาเจ้าของเดียวแล้วติดเรามากจริงๆค่ะ
เลยอยากทราบว่ามีเพื่อนๆ พี่ๆคนไหนพอเคย หรือจะทราบขั้นตอนการนำน้องหมาเข้าประเทศออสบ้างคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ ^^
mamee
#2
ไม่เคยค่ะ แต่เท่าที่ทราบคือ ประเทศในเครือสหราชอาณาจักร ต้องมีการกักกันสัตว์ อย่างน้อย 6 เดือนค่ะ ซึ่งช้างไทยที่เดินไปที่ นั้น ก้อต้องโดยกัก ที่หมู่เกาะบอเนียวมั้งค่ะ 6 เดือน เหมือนกัน ก่อนที่จะเข้าออสเตรเลียได้ แต่แนะนำให้โทรไปคุยกับเจ้าหน้าที่สถานทูตจะชัวกว่านะคะ :)
NmuAy-ZazA
#3
น่าสงสาร น้องหมา จังเลยย

...>> น่าจะทำเรื่องยุ่งยากน่าดูเลยค่ะ <<...
Thames_my
#4
โอ้ย จะร้อง เราก็มีหมาที่ติดเราเหมือนกัน พอไม่กลับ้าน ก็ไม่กินข้าว ซึม

หาทางเอาไปให้ได้นะคะ
bdnk001
#5
[SIZE="4"]หามาจากในเน็ตเผื่อจะเป็นประโยชน์บ้างคะ

[SIZE="5"]เป็นอีกหนึ่งเรื่องใกล้ตัวสำหรับคนรักสุนัขที่เมื่อต้องพาเจ้าตูบแสนรักเดินทางไปท่องเที่ยวหรือใช้ชีวิตร่วมกันในต่างแดน

หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่า ขั้นตอนกระบวนการจะมีความยุ่งยากหรือซับซ้อน ที่จริงแล้วถ้ามีความเข้าใจขั้นตอนและมีการวางแผนเผื่อเวลาเตรียมตัว เรื่องราวการพาสมาชิกสี่ขาร่วมเดินทางก็ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด

*โรงพยาบาลสัตว์-----* จึงรวบรวมเรื่องราวสำหรับคนที่รักสุนัขและสนใจพาเพื่อนรักสี่ขาเดินทางไปต่างประเทศ

อันดับแรกคือ การวางแผนล่วงหน้า ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเทศที่ท่านวางแผนจะพาสุนัขร่วมเดินทาง ว่าจะเป็นทวีปไหน ประเทศอะไร เพราะแต่ละประเทศมีขั้นตอนในการขออนุญาตไม่เหมือนกัน เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา หรือทวีปแอฟริกา

ดังนั้น เจ้าของควรใช้เวลาเช็คข้อมูลของแต่ละประเทศ และเผื่อเวลาในการเตรียมตัวด้านสุขภาพให้เจ้าตูบอย่างน้อย 6 เดือน

*ขั้นตอนแรก - ฝังไมโครชิปให้สุนัข*

คือนำสุนัขไปฝังไมโครชิปในสถาบัน หรือโรงพยาบาลสัตว์ที่ได้การรับรองมาตรฐาน โดยการฝังไมโครชิป ตามมาตรฐาน ISO 11758 นั้น ไมโครชิปมีขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าวสาร หมอจะใช้หลอดฉีดยา ฉีดฝังเข้าใต้ผิวหนัง บริเวณสะบัก ซึ่งในไมโครชิปจะมีบรรจุข้อมูลประกอบด้วย ชื่อเจ้าของ ที่อยู่ ประเทศ ในกรณีสุนัขหาย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเจ้าของจะได้ใบรับรองของไมโครชิป Microchip Certificate ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง

*ขั้นตอนที่สอง ฉีดวัคซีนตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ*

เจ้าของต้องพาสุนัขไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ซึ่งต้องแจ้งประเทศที่จะเดินทางต่อสัตวแพทย์ เนื่องจากข้อกำหนดในการฉีดวัคซีนแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเคร่งครัดมาก สุนัขจะต้องได้รับการฉีดวัคซีน 2 ครั้ง โดยระยะการฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกไม่น้อยกว่า 30 วัน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1 ปี เจ้าของจะได้รับ International Certificate of Vaccination เป็นเอกสารอ้างอิง

หลังจากวัคซีนเข็มที่ 2 ต้องพาสุนัขไปเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจไปที่ Rabies Titer โดยทางโรงพยาบาลสัตว์----- จะนำเลือดส่งไปที่แล็บที่ประเทศอังกฤษ (ซึ่งทางญี่ปุ่นยอมรับ) ผลประมาณ 1 เดือน

หลังจากที่เจาะเลือดสุนัขต้องอยู่ในประเทศไทยอย่างน้อย 6 เดือน ก่อนเดินทางเข้าญี่ปุ่น เมื่อผลผ่านจะได้รับ Rabies Titer Certificate ในขณะที่ประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ฉีดวัคซีนเพียง 1 ครั้ง ซึ่งประเทศสหรัฐ โดยเฉพาะฮาวายการส่งตรวจผลเลือดจะรับเฉพาะ Lab จาก Kansas State ที่เดียว

ส่วนยุโรปนั้นส่วนใหญ่ประเทศใน EU เน้น International Certificate of vaccination ที่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนประจำปี โดยที่ครั้งล่าสุดต้องก่อนการเจาะเลือดไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยหลังการเจาะเลือดสุนัขต้องอยู่ไม่ต่ำกว่า 3 เดือน

*ขั้นตอนที่สาม Health Certificate จำเป็นเมื่อต้องเดินทาง*

เมื่อครบกำหนด เจ้าของสุนัขต้องนำเอกสารทั้งหมดมาตรวจสุขภาพครั้งสุดท้าย เพื่อให้สัตวแพทย์รับรอง และใบตรวจสุขภาพ Health Certificate จากนั้นนำเอกสารไปให้สัตวแพทย์ที่คลังสินค้า (Cargo) ที่สนามบินเพื่อเช็คเอกสารและรับรองครั้งสุดท้าย

สำหรับเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องพาสุนัขออกนอกประเทศ ได้แก่ เอกสารสำหรับด่านตรวจคนเข้าเมือง-ต่างประเทศ (สำหรับยื่นเพื่อขอนำสุนัขเข้าประเทศต่างๆ), ใบรับรองการฝังไมโครชิป (Microchip Certificate), ใบรับรองการฉีดวัคซีน (International Certificate of vaccination), ใบรับรองการตรวจสุขภาพของแพทย์ (Health Certificate)

ตามลิงค์ก็มีคะ
http://www.aussiemove.com/aus/pets.asp


*** ปล. เคยอ่านเจอว่า ถ้านำสุนัขเข้า ต้องนำไปไว้ที่ด่านกักโรคก่อนคะ หลายเดือนเหมือนกัน และ เจ้าของต้องเป็นคนออกค่าใช้จ่ายเองด้วยคะ ***
galsberry
#6
ขอให้เอาไปด้วยได้นะคะ

เพราะที่บ้านก้อเลี้ยงน้องหมาเหมือนกัน เข้าใจความรู้สึกค่ะ เราผูกพันมาก

หมาก้อติดเราด้วย ถ้าเราไม่อยู่เค้าคงเศร้ามากๆค่ะ
australia
#7
ยังยังลองติดต่อ agent ทาง australia ก็ได้ค่ะ เค้ารับ import and export ka. เคยส่งน้องหมาไปเมืองไทยใช้ของ jetpet และตอนนี้กำลังจะส่งน้องหมากลับ malay ค่ะ ก็ใช้ของ jetpet อีกเช่นเคย ยังไงลองส่ง e-mail ถามดูนะค่ะ
www.jetpets.com.au
nattakitta
#8
ขอบคุณทุกๆคนมากค่ะ
ตอนนี้เครียดมากเลยกับเจ้าน้องหมาบางแก้วตัวนี้ค่ะ เค้าชื่อว่าหน้าดำค่ะ
เราเลี้ยงเค้ามาแบบตามใจมากกกกกกกกกกกกก ติดเราเป็นที่สุด ยอมอีกคนก็คือแฟนเรา
แต่จะไปเรียนต่อทั้งสองคนเลยค่ะ แม่บ้านก็จับไม่ได้เลย
ตอนนี้มองหน้าเค้าก็สงสารมาก ปรกตินอนด้วยกันตลอด แทบไม่เคยถูกยุงกัดเลยค่ะ
เวลาเราโมโห หรือโวยวาย ร้องไห้ ก็จะเดินมานั่งข้างๆเราทุกครั้ง ทุกครั้งจริงๆ
เวลาทำผิด (เคยกัดกระเป๋นกุชชี่ กับกระเป๋าตังหลุยย์ยับเยินมาแล้ว) เราตีเค้า เค้าจะยิ่งเดินเข้าหา หูลู่ หางตก ยกมือหวัดดีขอโทษอยู่นั่นแหละ จนเราตีไม่ลง เวลาเรากลับมาจากข้างนอก ขนาดแค่ไปเรียน ยังดีใจโห่ร้องยังกะเราไปมาสามสี่ปี เรารักเค้ามากจริงๆค่ะ จะพยายามศึกษาตามที่เพื่อนๆ พี่ๆ แนะนำมาค่ะ
ทุกวันนี้มองตาเค้าแล้วเราทุกข์มากเลยค่ะ คราวที่แล้วไปฝากที่โรงเรียนก็ป่วยหนักไปรอบนึง
ตอนนั้นเราอยู่นิวซีแลนด์เที่ยวไม่สนุกเลย ด้วยความที่เลี้ยงเค้ามาแบบโอ๋มาก กลัวไปคราวนี้แล้วเค้าไม่ใจแข็งอะค่ะ
กลัวเค้าตรอมใจ เฮ้ออออออออ ขอโทษที่เข้ามาระบาย และขอบคุณทุกความคิดเห็น และทุกคำแนะนำค่ะ ^^
bdnk001
#9
[SIZE="5"]มาให้กำลังใจเจ้าของกระทู้คะ เข้าใจในความรู้สึกเลยอะคะ น้องหมาที่บ้านก็เหมือนกัน เวลาเราไปเที่ยวแล้วพาไปด้วยไม่ได้ ก็จะคิดถึงมากๆๆๆๆๆ พอกลับมาเค้าจะส่งเสียงร้องในคอ เหมือนคิดถึงเรามากกกก แล้วก็จะพุ่งเข้ามาหาเลยคะ นั่งตักไม่ยอมลงเลย ....

*** ถ้าเจ้าของทุกข์ใจและรักมากแบบนี้ เราว่า ถ้าสามารถพาไปด้วยได้ก็พาไปด้วยก็ดีนะคะ แต่อาจต้องเตรียมตัวและเสียค่าใช้จ่ายมากหน่อย แต่ก็มีความสุขทั้ง เจ้าของและน้องหมา

เอาใจช่วยสุดสุดเลยนะคะ :D:D ถ้ามีทางออกแล้ว มาเล่าให้ฟังด้วยนะคะ จะรอฟังข่าวดีคะ :D:D
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3