หลายคนอาจคิดว่า “โรคกระดูกพรุน” นั้นเป็นเรื่องไกลตัว ไม่น่ากลัว แต่แท้จริงแล้วคือภัยเงียบใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ร่างกายคนเราจะมีโครงสร้างมวลกระดูกหนาแน่นที่สุด ในช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงหนุ่มสาว หลังจากนั้นกระบวนการสร้างกระดูกจะลดลง ทำให้มวลกระดูกค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จากการสลายของมวลกระดูกตั้งแต่อายุเลย 30 ปีขึ้นไป โรคกระดูกพรุน คนที่เป็นจะมีเนื้อกระดูกลดลงไม่ว่าจากสาเหตุใด เนื้อกระดูกจะมีรูพรุนเหมือนฟองน้ำ ทำให้โครงสร้างของกระดูกพรุน กระดูกสันหลังโก่ง และกระดูกข้อสะโพกกระดูกข้อมือแตกหักได้ง่ายขึ้น ซึ่งมวลกระดูกไม่สามารถสร้างให้เพิ่มขึ้นได้ในชั่วข้ามคืนจะต้องค่อย ๆ สะสมมวลกระดูกอย่างช้า ๆ
เราจึงต้องดูแลกระดูกให้แข็งแรงไว้ในทุก ๆ วัยของเรา การ
ป้องกันกระดูกพรุนนั้นทำได้อย่างไร? และหากจะทานเสริมด้วยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกระดูกพรุน ที่มีสารประกอบแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูก เพื่อลดการเกิดโรคกระดูกพรุนนั้น แคลเซียมที่ใช้ควรเป็นแคลเซียมแบบใดเพื่อให้ได้ผลดีมากที่สุด
การดูแลและป้องกันกระดูกพรุนทำได้ดังนี้
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอ ปริมาณวันละ 1,000 มิลลิกรัม แต่ผู้หญิงในช่วงวัยหมดประจำเดือน (อายุ 50-55 ปี) ควรรับประทานแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม โดยรับประทานปลาเล็กปลาน้อยทอดกรอบ กุ้งแห้ง กุ้งฝอย กะปิ เต้าหู้เหลือง เป็นต้น
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้มีความคล่องแคล่วและมีกำลังกล้ามเนื้อมากขึ้น ทำให้โอกาสเสียหลักหกล้มลดลง และเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างมวลกระดูกมากขึ้น ทั้งนี้ ชนิดของการออกกำลังกายที่เหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับโรคประจำตัว สภาพร่างกายเดิม
- หยุดสูบบุหรี่ หยุดดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป
- รับประทานอาหารเสริมกระดูกพรุน แคล-ที(แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต) การรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมเพื่อเพิ่มมวลกระดูก โดย แคลเซียมที่ใช้ควรเป็นแคลเซียมแคล-ทีแอลทรีโอเนต เพราะการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ได้ดีกว่าแคลเซียมอื่น ๆ ถึง 6 เท่า ช่วยป้องกันกระดูกพรุน และลดภาวะการเกิดกระดูกพรุนได้ดี การทานแคลเซียมต้องทานไปเรื่อย ๆ ในทุกๆ วันให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
คุณสมบัติ (แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต พลัส แมกนีเซียม)
-
ดูแลโรคกระดูกพรุน แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (แคลเซียมข้าวโพด) ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูก ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก และยับยั้งการสลายตัวของกระดูก
-
ดูแลโรคข้อเสื่อม แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (แคลเซียมข้าวโพด) จะกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในกระดูก และกระดูกอ่อน รวมทั้งสร้างน้ำไขข้อ ส่งเสริมให้กระดูกและข้อแข็งแรง
-
ดูดซึมได้ดี แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (แคลเซียมข้าวโพด) ดูดซึมได้ด้วยตัวเองถึง 95 % เป็น passive transport ซึมผ่านระหว่างเซลล์ โดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดี ซึ่งแคลเซียมชนิดอื่น ๆ ต้องใช้วิตามินดี ช่วยในการดูดซึม
-
ไม่ทำให้ท้องผูก แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต (แคลเซียมข้าวโพด) แตกตัวและละลายได้ดีในน้ำ จึงไม่หลงเหลือให้ตกตะกอน หรือสะสมเกาะตามอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย และไม่ทำให้ท้องอืด ท้องผูก
หากท่านใดสนใจสินค้าหรืออยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพกับเราได้ที่
Website : https://www.cal-t.com/กระดูกพรุนป้องกันได้
Facebook : https://www.facebook.com/CalTthailand