ผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันมักมีนมวัวเป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นโยเกิร์ต ชีส ครีม และเนย ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านมวัวนั้นมีประโยชน์ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายมากมาย แต่คุณค่าทางสารอาหารในนมวัวจะมีอะไรบ้างนั้น ศึกษาได้จากข้อมูลต่อไปนี้
สารอาหารในนมวัว
นมวัวอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณประโยชน์หลายชนิด โดยนมวัว 1 ถ้วยที่หนักประมาณ 244 กรัม จะให้คุณค่าทางโภชนาการเป็นพลังงาน 146 แคลอรี่ โปรตีน 8 กรัม ไขมัน 8 กรัม และยังประกอบไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ ดังนี้
แคลเซียม ประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
วิตามินบี 2 ประมาณ 26 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
วิตามินดี ประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
ฟอสฟอรัส ประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
วิตามินบี 12 ประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
ซีลีเนียม ประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
โพแทสเซียม ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวัน
ทั้งนี้ ปริมาณของสารอาหารในนมวัวนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูหรืออาหารที่วัวกิน slotxo true wallet โดยนมจากวัวที่กินหญ้าเป็นอาหารส่วนใหญ่จะมีกรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดไขมันโอเมก้าในปริมาณสูง ส่วนนมจากวัวที่กินหญ้าและพืชออร์แกนิกจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง เช่น วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน เป็นต้น ซึ่งมีส่วนช่วยลดอาการอักเสบและช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายในเซลล์จากสารอนุมูลอิสระ
นมวัวกับประโยชน์ต่อสุขภาพ
เนื่องจากนมวัวมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จึงมีการค้นคว้าเกี่ยวกับประโยชน์ของนมวัวในด้านต่าง ๆ มากมาย โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บางส่วนได้พิสูจน์ประสิทธิภาพของนมวัวไว้ ดังนี้
นมวัวช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นมวัวอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ มากมาย ทั้งโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และวิตามินเค 2 ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า นมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนและภาวะกระดูกหักได้โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ดังนั้น การดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมอย่างสม่ำเสมออาจช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกอย่างโรคกระดูกพรุนได้ นอกจากนี้ โปรตีนในนมวัวอาจช่วยเพิ่มปริมาณมวลกระดูกและปริมาตรกระดูกได้อีกด้วย ซึ่งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าการได้รับโปรตีนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นอาจช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้ โดยเฉพาะในหญิงที่บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ