เซลล์ ในร่างกายของเราก็เป็นสิ่งมีชีวิต เช่นเดียวกับตัวเรา ซึ่งนอกจากจำเป็นต้องกินอาหารเพื่อดำรงชีวิตและทำงานแล้ว อีกสิ่งที่เซลล์จำเป็นต้องมีเหมือนกันกับตัวเรา คือ "การหายใจ"
ตัวเราเอง(มนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ นั่นก็เพราะ เซลล์ในร่างกายของเรา เกือบทั้งหมด เป็นเซลล์ ที่ต้องการใช้ออกซิเจนในการหายใจ (Aerobic) แม้ว่า เซลล์ของเรา จะสามารถหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic) ได้บ้าง แต่ก็ทำได้ไม่นานก่อนที่เซลล์จะตายลงเนื่องจากการขาดออกซิเจน (Hypoxia) นั่นจึงเป็นเหตุผล ที่ทำให้ร่างกายของเราขาดออกซิเจนได้ไม่นาน (ไม่กี่นาที) หากนานเกินไป ร่างกายของเราก็จะตายลงเช่นกัน
ดังนั้น การหายใจของเซลล์ ในร่างกายของเรา จึงเป็นงานที่สำคัญมากในการดำรงชีวิตอยู่ของร่างกายเราเอง จนมีการศึกษาในระยะหลังๆ ที่พบว่าการที่เซลล์ในร่างกาย ไม่สามารถได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อการใช้งานอยู่เรื่อยๆ เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้น้อยลง จนเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ มากมาย อย่างเช่น ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ การเผาผลาญผิดปกติ เนื้อเยื่ออักเสบเรื้อรัง เนื้องอกและมะเร็ง หลอดเลือดแดงแข็งตัว โรคหัวใจ เป็นต้น
(ข้อมูลจาก จุลสาร คลอเรลลา พืชธรรมชาติ ที่ทรงคุณค่าทางยา เขียนโดย นายแพทย์เดวิด สทีนบล๊อก, BS, M.Sc., D.O. ประธานสถาบันการวิจัยเวชศาสตร์ชะลอวัย แปลโดย ดร.กิดานันท์ มลิทอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2530)
ระบบการขนส่งออกซิเจนของร่างกาย จึงเป็นระบบที่ต้องทำงานหนักอยู่ตลอด 24 ชม. ไม่มีวันหยุดพัก เพื่อให้เซลล์ทั่วร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องหยุดไม่ได้ จึงเป็นเหตุให้เราไม่อาจหยุดหายใจได้ ตลอดชีวิต
เมื่อเราหายใจ ร่างกายเราจะนำอากาศภายนอกเข้ามาในปอด ดังที่เรารู้สึกว่า ปอดเรามีการขยายตัวเมื่อเราหายใจเข้า เมื่อตอนที่ขยายตัวนี้เอง ถุงลมเล็กๆที่มีอยู่ทั่วปอดที่กำลังขยายตัว จะกรองเอาออกซิเจนให้แพร่เข้าไปที่เส้นเลือดฝอยที่เชื่อมมาถึงแต่ละถุงลม และที่เส้นเลือดเหล่านี้เอง ที่เซลล์เม็ดเลือดแดง เข้ามารับออกซิเจน และ ขนส่งไปยังเซลล์ ทั่วร่างกาย ผ่านระบบเส้นเลือด (เซลล์เม็ดเลือดแดงเปรียบเหมือนพาหนะขนส่งออกซิเจน ระบบเส้นเลือดเปรียบเหมือนระบบถนน)
(ภาพจาก https://www.freepik.com/free-vector/human-gas-exchange-process-diagram_1907429.htm)
ระบบการขนส่งออกซิเจนนี้ ร่างกายมีเพียงระบบเดียว ไม่มีระบบสำรองอื่นที่สามารถใช้งานแทนกันได้ การที่เซลล์จะได้รับออกซิเจนไปใช้หายใจนั้น จึงต้องพึงพาอาศัยระบบนี้เท่านั้น หากระบบนี้ล้มเหลว เท่ากับเซลล์ทั่วร่างกายจะค่อยๆตาย และร่างกายจะตายในที่สุด
หลังจากที่มนุษย์ได้รับรู้ถึงความสำคัญของระบบขนส่งออกซิเจนนี้ จึงได้มีการศึกษาทำความเข้าใจระบบนี้อย่างจริงจัง จนค้นพบความคล้ายกันบางอย่างที่ซ่อนอยู่ ในร่างกายของเรา และ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา
เมื่อปี ค.ศ. 1840 ได้มีการค้นพบว่ามีสารชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติในการขนส่งออกซิเจน อยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยนักวิทยาศาสตร์ ชาวเยอรมัน ชื่อ Friedrich Ludwig Hunefeld และ ต่อมาสารนี้ รู้จักกันในชื่อ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin)
(ข้อมูลจาก https://sciencing.com/discovered-hemoglobin-18542.html)
ในขณะที่ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1817 Joseph Bienaime Caventou และ Pierre Joseph Pelletier ได้ค้นพบสารสีเขียว ที่รับคาร์บอนไดออกไซต์ และ คายออกซิเจนกลับออกมา (ในสมัยนั้น มนุษย์ยังไม่รู้จักกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช) ซึ่ง ต่อมา สารนี้ รู้จักกันในชื่อ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
(ข้อมูลจาก https://historyofsciences.blogspot.com/2013/02/discovery-of-chlorophyll.html)
หลังจากมีความพยายามในการศึกษา ลงในรายละเอียด ของทั้ง ฮีโมโกลบิน และ คลอโรฟิลล์ อย่างต่อเนื่องหลายสิบปี จนสามารถค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของสารทั้ง 2 ตัวนี้ ปรากฏได้ ตามภาพด้านล่าง
(ภาพจาก https://science2be.wordpress.com/2012/09/03/the-amazing-similarity-between-blood-and-chlorophyll/)
ภาพเปรียบเทียบโครงสร้างโมเลกุลนี้ ทำให้เกิดคำถามทางวิทยาศาสตร์จากหลายมุมมอง ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่าง คลอโรฟิลด์ (ที่อยู่ในพืช) และ ฮีโมโกลบิน (ที่อยู่ในร่างกายเรา)
หนึ่งในความพยายามหาความสัมพันธ์ระหว่างสารสองชนิดนี้ ในมุมมองด้านสารอาหาร คือ การทดลองของ J. Howell Hughes และ A.L. Latner ในปี 1936 ที่ได้ทำการทดลองเลี้ยงกระต่าย โดยแบ่งกลุ่มหนึ่งให้อาหารปกติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ให้อาหารเสริม คลอโรฟิลล์ สกัดหยาบ (Crude Chlorophyll) (คลอโรฟิลล์ ที่มีส่วนของเซลล์ของพืชติดมาด้วย) ในปริมาณสูง (1 กรัม ต่อวัน) และ ทำการตรวจวัด ปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด เป็นเวลา 2 อาทิตย์
พบว่า การให้คลอโรฟิลล์สกัดหยาบเป็นอาหารเสริม ในปริมาณมากต่อวัน ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดอย่างชัดเจน เราจึงเริ่มได้เห็น ความสัมพันธ์ของ ของคลอโรฟิลล์ กับ ฮีโมโกลบิน ในมุมมองด้านสารอาหาร ได้ชัดเจนมากขึ้น ผ่านการทดลองนี้
(ในการทดลองครั้งนี้ ยังได้มีการใช้ คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ มาทำการทดสอบด้วย แต่กลับพบว่า คลอโรฟิลล์บริสุทธิ์ จะส่งผลให้ปริมาณฮีโมโกลบินเพิ่ม เฉพาะการให้ที่ปริมาณน้อยมากๆเท่านั้น เมื่อเพิ่มปริมาณ กลับพบว่า ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มฮีโมโกลบิน
ซึ่ง ต่างจากการให้คลอโรฟิลล์สกัดหยาบ ที่สามารถให้ปริมาณมากได้ การทานคลอโรฟิลล์เพื่อเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบิน ควรทานแบบคลอโรฟิลล์สกัดหยาบ เพราะสามารถทานในปริมาณมากได้ ไม่ต้องมีการหาปริมาณจำกัดของโดสที่ทาน ซึ่ง แต่ละคนอาจไม่เท่ากัน)
(ภาพ และ ข้อมูลจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1394693/)
ในปีเดียวกันนั้น ดร. Arthur Patek ได้รายงานผลการทดสอบ ที่ได้ให้ คลอโรฟิลล์ ในปริมาณที่แตกต่างกัน คู่กับธาตุเหล็ก กับคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง จำนวน 15 คน ในเวลานั้น เป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว กว่าการให้ธาตุเหล็กเพิ่มเพียงอย่างเดียว ก็สามารถส่งผลให้มีปริมาณฮีโมโกลบินเพิ่มขึ้นได้ แต่ ดร. Patek พบจากการทดสอบว่า การให้ธาตุเหล็ก ควบคู่กับคลอโรฟิลล์นั้น ส่งผลให้ปริมาณฮีโมโกลบินของคนไข้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กว่าให้แต่ธาตุเหล็กอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญ
(ข้อมูลจาก http://www.pkdiet.com/pdf/HemeVsChlorophyll.pdf)
จากการทดสอบของ ดร. Patek ทำให้เราได้เห็นองค์ประกอบของสารอาหาร (คลอโรฟิลล์ และ ธาตุเหล็ก) ที่สามารถช่วยเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดของคนได้จริง ได้ชัดเจนมากขึ้น
และ หลังจากที่เห็นองค์ประกอบสารอาหารที่ใช้สร้างฮีโมโกลบินได้ชัดเจน จึงได้เริ่มมีการวิจัยเพื่อหา อาหารจากธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติในการเพิ่มฮีโมโกลบินในเลือดของมนุษย์ อย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งต่อมาอาหารกลุ่มนั้นถูกเรียกว่า "ตัวสร้างเลือด" (Blood Builder)
ย้อนกลับไปในปี 1931 นักชีวเคมีชาวเยอรมัน Otto Heinrich Wanburg ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ จากการค้นพบ วงจรการหายใจระดับเซลล์ จากการศึกษาการหายใจของพืชน้ำเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ที่ชื่อว่า "คลอเรลล่า"
คลอเรลล่า เป็นพืชน้ำเซลล์เดียว ที่ต่อมามีการค้นพบว่า มีปริมาณโปรตีนมากถึง 60% ของน้ำหนักตัว อุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อมนุษย์ และ ที่สำคัญ ยังพบว่า "เป็นพืชที่มีปริมาณคลอโรฟิลล์ ต่อน้ำหนัก มากที่สุดในโลก"
(ข้อมูล จากหนังสือ Chlorella, Jewel of the Far East (คลอเรลล่า อัญมณีแห่งตะวันออกไกล) โดย Dr. Bernard Jensen, Ph.D., D.O.)
เนื่องจากคลอเรลล่า เป็นพืชน้ำเซลล์เดียว ที่มีปริมาณคลอโรฟิลล์ต่อน้ำหนักสูงที่สุดในโลก เราจึงสามารถทานคลอเรลล่าได้เหมือนทาน คลอโรฟิลล์สกัดหยาบ (Crude Chlorophyll) ตามธรรมชาติ (ที่มีการค้นพบแล้วว่า เหมาะสมกับการใช้ทานเพื่อเพิ่มฮีโมโกลบิน)
นอกจากนั้น คลอเรลล่า ยังเป็นพืชที่มีปริมาณธาตุเหล็กต่อน้ำหนักสูง ถึง 130 มิลิกรัม ต่อ 100 กรัม (สูงกว่าตับวัว ถึง 20 เท่า) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ต้องใช้อีกตัวหนึ่ง ในการสร้างฮีโมโกลบิน (ที่มีการค้นพบแล้วว่า ถ้าทานธาตุเหล็กคู่กับคลอโรลฟิลล์แล้ว จะช่วยเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินได้อย่างรวดเร็ว)
จนสามารถกล่าวได้ว่า คลอเรลล่า คือ อาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยให้ร่างกายของเราสร้างฮีโมโกลบิน (Blood Builder) ได้อย่างสมบูรณ์ที่สุดตัวหนึ่งเท่าที่โลกเคยมีมา (Amoore, 2012, https://goo.gl/HhTHQP)
ซึ่งมาจาก งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ความสามารถนี้ ของคลอเรลล่า ตลอดระยะเวลา 60 ปี ที่ผ่านมา ออกมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน จากทั่วโลก (โดยเฉพาะจาก ยุโรป อเมริกา และ ญี่ปุ่น)
ยกตัวอย่างเช่น
การวิจัยผลของคลอเรลล่า ต่อภาวะเลือดจางของผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2010 โดยแบ่งผู้หญิงตั้งครรภ์ 70 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ทานอาหารตามปกติ อีกกลุ่ม เริ่มทานคลอเรลล่า วันละ 6 กรัม ตั้งแต่สัปดาห์ ที่ 12-18 หลังตั้งครรภ์ จนถึงคลอด
มีการวิจัย ในโรงพยาบาล Saiseikai ในจังหวัด นารา พบว่า กลุ่มที่ทานคลอเรลล่า มี ภาวะเลือดจาง โปรตีนรั่ว และ อาการบวมน้ำ น้อยลงกว่ากลุ่มแรก อย่างมีนัยยะสำคัญ จนสามารถสรุปได้ว่า การทานคลอเรลล่า สามารถลดความเสี่ยง จาก ภาวะเลือดจาง โปรตีนรั่ว และ อาการบวมน้ำ ของผู้หญิงตั้งครรภ์ได้จริง
(ข้อมูลจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20013055)
เมื่อร่างกาย มีปริมาณฮีโมโกลบินเพิ่มมากขึ้น ก็เปรียบเสมือนร่างกายมีพาหนะที่ใช้ขนออกซิเจน ในระบบเลือดมากขึ้น โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ร่างกายจะมีความสามารถในการขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกายมากขึ้น
จากหลักการทางวิทยาศาสตร์นี้ จึงได้มีการวิจัยผลของการทานคลอเรลล่า ต่อความสามารถในการขนส่งออกซิเจนในระบบเลือด เมื่อปี 2014 ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการทดสอบกับ ผู้ชาย 7 คน และ ผู้หญิง 3 คน (อายุเฉลี่ย 21.3 ปี) ทั้งหมด 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่ง ให้ทานคลอเรลล่า 4.5 กรัม 2 ครั้งต่อวัน ทุกวัน เป็นจำนวน 4 สัปดาห์ และ วัดปริมาณออกซิเจนที่ร่างกายสามารถรับได้ ในขณะที่ออกกำลังกายเต็มที่ (ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเต็มที่) (Oxygen uptake) ซึ่งเป็นการวัดความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของร่างกาย ที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในวงการกีฬา
พบว่า กลุ่มที่ได้รับคลอเรลล่า ร่างกายมีความสามารถในการขนส่งออกซิเจนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ
(ภาพ และ ข้อมูลจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25320462)
และหากร่างกายมีความสามารถในการขนส่งออกซิเจนเพิ่มขึ้นแล้ว ระบบเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ ก็จะสามารถทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในระบบที่สำคัญมากของมนุษย์ ที่เราสามารถวัดผลการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัด คือ ระบบภูมิคุ้มกัน
มีการวิจัยในปี 2012 ที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยแบ่งผู้เข้ารับการทดสอบ จำนวน 60 คน ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับคลอเรลล่า จำนวน 5 กรัมต่อวัน ติดกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนอีกลุ่มไม่รับคลอเรลล่า และ มีการตรวจวัดปริมาณกิจกรรม ของเซลล์เม็ดเลือดแดง ชนิด Natural Killer (NK Cell activity) พบว่า กลุ่มที่ทานคลอเรลล่า มีปริมาณกิจกรรมของเม็ดเลือดขาวชนิด NK เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า)
(ภาพ และ ข้อมูลจาก https://nutritionj.biomedcentral.com/articles/10.1186/1475-2891-11-53)
ผลจากการวิจัยในครั้งนี้ นอกจากจะแสดงให้เราได้เห็นว่า ระบบภูมิคุ้มกันของเราสามารถทำงานได้มากขึ้นเกือบ 2 เท่า หลังจากที่ทานคลอเรลล่าต่อเนื่อง 8 สัปดาห์แล้ว ยังแสดงให้เราเห็นด้วยว่า จริงๆแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันของคนปกติโดยทั่วไป ในยุคปัจจุบันนั้น ทำงานได้น้อยกว่า ค่าที่ควรจะเป็นถึงเกือบ 2 เท่า (เป็นอย่างน้อย)
นั่นจึงไม่แปลกที่เราจะสังเกตได้ว่า คนในยุคหลังๆ ป่วยง่าย ป่วยบ่อยขึ้น สวนทางกับเทคโนโลยีและวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ที่สามารถพัฒนายาสมัยใหม่ ที่สามารถระงับอาการป่วยไข้ได้ โดยไม่ต้องให้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยได้ทำงาน นั่นเลยยิ่งส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของคนในยุคหลังจากนี้ มีแนวโน้มจะยิ่งทำงานได้น้อยลง ร่างกายพึ่งพาตนเองในการป้องกันโรคได้น้อยลงเรื่อยๆ หากไม่สามารถหลุดจากวัฏจักรนี้ได้
ซึ่ง หากเราสามารถ "ป้องกันไม่ให้เซลล์ขาดออกซิเจน" ได้ นอกจากระบบภูมิคุ้มกันของเราจะกลับมาทำงานได้ ตามที่ควรเป็นแล้ว เซลล์ส่วนอื่นๆในร่างกาย ก็จะสามารถกลับมาทำงานได้ ตามที่ควรเป็นเช่นกัน
เพราะเซลล์ภูมิคุ้มกัน รวมถึงเซลล์อื่นๆในร่างกายเรา ก็เหมือนตัวเรา หากมีอากาศหายใจไม่พอ ก็ไม่มีแรง พอไม่มีแรงก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ งานก็บกพร่อง เมื่อเซลล์ต่างๆในร่างกายหายใจได้ไม่สมบูรณ์ ร่างกายเราจึงสะสมความบกพร่องไปเรื่อยๆ จนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคและความผิดปกติต่างๆ ตามมามากมาย
ดังนั้น ในทางกลับกัน การดูแลให้เซลล์ของร่างกาย หายใจได้สมบูรณ์ขึ้น จึงเป็นการป้องกันความผิดปกติของระบบต่างๆในร่างกาย ก่อนที่ความผิดปกตินั้นจะพัฒนาไปเป็นความเจ็บป่วยในรูปแบบต่างๆ ของร่างกายเรา ซึ่ง อาหารจากธรรมชาติชนิดหนึ่ง ที่ถูกพิสูจน์ด้วยงานวิจัยในระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ว่าสามารถช่วยให้เซลล์ของร่างกาย หายใจได้สมบูรณ์ขึ้น ก็คือ "คลอเรลล่า"