ตั้งแต่แรกเริ่ม เรามีความตั้งใจที่จะผลิตสินค้า แบรนด์ The Signature ให้ได้คุณภาพ ระดับ Hi End
ในราคาที่ทุกคนสามารถซื้อใช้ได้ ด้วยมาตรฐาน "แข็งแรง ทนทาน มีฟังก์ชั่น พร้อมใช้งาน"
โดยเริ่มต้นที่ The Signature Book Bank และ The Signature Card Holder
สินค้า 2 ชิ้นแรกที่ออกวางจำหน่าย และได้พัฒนา การออกแบบเรื่อยมา จนถึง Sashy Card Wallet รุ่นนี้
สำหรับรุ่นนี้ Sashy Card Wallet เราอยากได้ กระเป๋าใส่การ์ดที่มีช่องกว้าง ใส่บัตรได้เยอะกว่ารุ่น Card Holder
โดยให้คงรูปทรง กะทัดรัด พกพาสะดวก ในขณะออกแบบ เราพบว่า ส่วนที่ออกแบบยากที่สุด คือ ชิ้นด้านข้าง
มีโจทย์หลัก คือ จะออกแบบชิ้นด้านข้างอย่างไร เพื่อให้ เป็นชิ้นด้านข้างที่มีความเหมาะสมกับความเป็น Card Wallet รุ่นนี้ได้
โดยที่ ได้ฟังก์ชั่น และ สวย หรู ดูดี พร้อมกันไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเอาการ
กระเป๋ารุ่นนี้ เราตั้งใจจะใช้หนัง The Signature เดียวกันทั้งหมด ให้ได้ทุกส่วนทั้งชิ้น
ซึ่งจากการออกแบบ The Signature รุ่นที่ผ่านๆมา เราพบว่า หนังชนิดนี้ มีความแข็ง แต่ไม่แข็งจนเกินไป
อยู่ทรง นุ่ม แต่ไม่ยวบยาบ เหมือนหนังชนิดอื่น และที่สำคัญ สวย หรู ดูดี เกินราคา ทำให้ได้รับความนิยม
มียอดซื้ออย่างล้นหลาม ทั้งจากหน่วยงาน รัฐ เอกชน บริษัท บุคคลทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ
ถึงแม้ จะมีคุณสมบัติดีๆ อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้ว แต่ หนังชนิดนี้ มี ความหนา มากกว่า หนังชนิดอื่นที่นิยมนำมาใช้งาน
ทำให้ งานออกแบบสินค้า โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความหนาของหนัง ทำได้ยาก ยิ่งเป็นชิ้นเล็ก ยิ่งเลี่ยงความหนา ได้ยาก
ความหนาของหนัง จึงกลายเป็นอุปสรรค สำคัญที่สุด ยากที่สุด ในการออกแบบกระเป๋ารุ่นนี้
และมีเงื่อนไขอีกอย่าง คือ รุ่นนี้ เราเลือกไม่ใช้กาว
โดยทั่วไป ในการออกแบบกระเป๋า จะมีการทากาว เพื่อช่วยในการขึ้นรูปสินค้า
ให้แต่ละชิ้นยึดจับกันได้ ในบางตำแหน่งที่ไม่สามารถเย็บได้สะดวก
แต่ สำหรับ The Signature แล้ว หากยังไม่สามารถ ค้นหา ค้นพบ กาว
รวมถึง เทคนิค หรือ กรรมวิธี การใช้กาว ที่เหมาะสมกับสินค้าของเราแล้ว
(ที่ผ่านมา เราได้พยายามค้นหา กาว และ วิจัย กรรมวิธี การใช้กาว ที่จะนำมาใช้ในงานของเรา แต่ ยังไม่สำเร็จ)
ในตอนนี้ เราจึงยังไม่นำ กาว มาใช้ในการออกแบบ ยังคงใช้ ศิลปะ การเย็บ จากช่างฝีมือเยี่ยม ที่เรามีอยู่แล้วเท่านั้น
เอาล่ะ เรามาเริ่มต้นออกแบบสินค้ารุ่นนี้กัน
เริ่มด้วย ใช้หนังชนิดนี้ ทำมาเป็นชิ้นด้านข้าง หากทำได้ เราจะได้ชิ้นด้านข้างที่มีสีเหมือนกับตัวสินค้า ทำให้ได้ความสวยงามด้วย
จึงทำการขึ้นแบบสินค้า พบว่า เมื่อพับหนังให้ด้านหนังชนกัน จะเกิดแรงสปริงดันอยู่ตลอดเวลา จึงต้องเย็บให้แข็งแรง
และหากเย็บไม่แข็งแรงพอ แรงสปริงนั้น จะดันด้ายให้หลุดได้ง่าย ยิ่งเล็ก เมื่อพับ ไม่สวยและยิ่งมีแรงสปริงมาก
จนพยายามดันขอบทั้ง 2 ด้าน ให้แยกออก และมีแรงดึงของด้ายที่คอยรั้งให้ โค้งขึ้นกว่าที่ควรเป็น ทำให้เสียรูปทรงที่ดีไป
ดังนั้น หากต้องการให้ แรงสปริงลดลง ก็ต้องทำให้ชิ้นส่วนนี้ มีขนาดใหญ่ขึ้น
เมื่อขนาดใหญ่ขึ้น แรงสปริงลดลง แต่ ทำให้ชิ้นส่วนนี้ ใหญ่เทอะทะ ไม่เหมาะสม ความสวยงาม ลดลง
แต่ เรายังคงพยายามหาขนาดที่เหมาะสมต่อไป ท้ายสุดพบว่า ไม่ว่าจะทำให้ชิ้นส่วนมีขนาดเล็กใหญ่ แค่ไหน
ก็ยังไม่สามารถออกแบบให้มีความสวยงามและมีขนาด รูปร่าง ที่เหมาะกับรุ่นนี้ โดยใช้หนังชนิดนี้ได้
ถึงที่สุดแล้ว เพราะความหนาของหนังชนิดนี้ ทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการออกแบบได้อย่างมากทีเดียว
สำหรับ ชิ้นด้านข้าง ของรุ่นนี้ หนังชนิดนี้ กลายเป็นข้อจำกัดของการออกแบบของรุ่นนี้
เรายังไม่ละความพยายาม เราออกแบบ และ ทำต้นแบบ ซ้ำแล้วซ้ำอีก เต็มที่ จนสุดทาง เท่าที่สามารถคิดออก
ท้ายสุดก็ต้องยอมรับข้อจำกัด ว่า ไม่สามารถนำหนังชนิดนี้ ความหนาแบบนี้ มาใช้ทำชิ้นด้านข้างของรุ่นนี้ได้
เราจึงตัดสินใจ เปลี่ยนชนิดของหนังที่จะมาทำชิ้นด้านข้าง เป็น หนังชนิดอื่น
เราจึงเริ่มเปิดดูในสต็อคหนัง พบว่า ไม่มีหนังที่จะเหมาะเป็นด้านข้างของกระเป๋ารุ่นนี้
มากไปกว่า หนังอีกรุ่นของลาย The Signature ที่ไม่ได้มีสีตรงกันกับสินค้าของเรา
แต่ มีความบางกว่า ลายหนังเดียวกัน หากนำมาเป็นชิ้นด้านข้างได้
ก็จะคงความสวย หรู ให้กับสินค้าชิ้นนี้ได้ต่อไป
เราจึงนำหนังรุ่นนี้ มาใช้ในการออกแบบ Card Wallet ต่อไป
ในที่นี้ เราเลือกสีดำ ให้สีเข้ากับสีพื้นหลังของหนัง The Signature
หนังรุ่นนี้ มีความบางมากกว่าเดิมมาก เมื่อพับแล้ว ยังมีความหนา แต่ น้อยกว่าหนังเดิม
และแรงสปริงน้อยกว่า จึงเป็นไปได้ว่า จะสามารถทำให้มีขนาดเหมาะสมเป็นชิ้นด้านข้างได้
แต่ ก็มีอุปสรรคต่อมา คือ ด้านหลังมีลักษณะเป็นตาข่ายสีขาว ไม่เหมือนกับตัวสินค้า
ทำให้ มองเห็นขอบหนังมีสีขาว หากนำมาประกอบเป็นสินค้าได้ไม่ดีพอจะเห็นขอบสีขาวนี้โผล่ออกมา
ทำให้ งานไม่เรียบร้อย และไม่สวย และหากจะเก็บขอบขาวนี้ ไม่ให้มองเห็นจากภายนอกได้ ก็ต้องพับ
ไม่ว่าจะพับอย่างไร ก็โผล่ขอบสีขาวออกมาให้เห็นอีก
เทคนิคทั่วไป ในการเก็บขอบหนังนี้ เขาจะพับไปด้านหลังเล็กน้อย และใช้กาว หรือ เย็บ เพื่อเก็บขอบ
อย่างที่อธิบายไปแล้ว รุ่นนี้ เราเลือก ยังไม่ใช้กาว จึงเหลือแค่เย็บ แต่ก็จะเหลือด้านหลังที่เป็นสีขาวอยู่ดี
ถ้าเอาอีกชิ้นมาประกบ เพื่อปิดทับด้านหลังอีก ก็จะมีชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น และยังไม่สามารถซ่อนขอบสีขาวได้
งานก็จะซับซ้อนมากขึ้น แต่ เราต้องการให้ชิ้นส่วนน้อยที่สุด และไม่ซับซ้อนเกินไป เพราะอยากให้สะดวกต่อการเย็บ
ดังนั้น ทีมออกแบบของเรา จึงได้โจทย์ใหม่ จะพับอย่างไรให้ เก็บขอบสีขาวได้ทั้งหมด
และยังสามารถทำให้ได้ฟังก์ชั่น เป็นชิ้นด้านข้างของกระเป๋ารุ่นนี้ได้ โจทย์นี้ มองเผินๆ เหมือนง่าย
แต่ ในความจริง หากพับไม่เรียบร้อย ก็จะโผล่ขอบสีขาว ถึงแม้ว่า จะซ่อนให้อยู่ด้านในกระเป๋าแล้วก็ตาม
เมื่อมองเข้าไปด้านในกระเป๋า ก็พบว่า งานไม่เรียบร้อย จึงต้องคิดใหม่ คิดแล้ว คิดอีก ๆ เป็นเดือนๆ
กว่าจะได้คำตอบว่า ชิ้นด้านข้าง ควรมีรูปร่างอย่างไร ให้เก็บขอบสีขาวนี้ได้ ถึงแม้พับไปซ่อนไว้ด้านในกระเป๋าแล้ว
แต่ก็ต้องไม่มีขอบสีขาวโผล่ให้เห็น และต้องให้ ช่างสามารถทำงานเย็บได้ด้วย
เพราะชิ้นส่วนนี้ มีขนาดเล็ก ทำงานได้ค่อนข้างลำบาก จะจับก็ลำบากแล้ว เย็บก็ยิ่งลำบาก
จึงต้องออกแบบชิ้นนี้ ให้สามารถทำงานได้ ให้ ง่ายต่อการเย็บ ใช้ชิ้นส่วนน้อยสุด เก็บขอบสีขาวได้หมด
ขนาดไม่ใหญ่เกินไป และไม่เล็กเกินไป ให้พอดีเหมาะเป็นด้านข้างของกระเป๋ารุ่นนี้
เราพยายามอยู่หลายเดือน เพื่อหาวิธีพับชิ้นนี้ให้ได้ จนท้ายที่สุด เราก็เจอ สามารถทำได้ ตามเงื่อนไข
ที่เรากำหนด ตามข้อจำกัดของการทำงาน ทุกส่วน และเรารู้ได้ทันทีว่า เราได้ เทคโนโลยีใหม่
สำหรับการผลิตกระเป๋าที่ต้องใช้ชิ้นด้านข้างลักษณะนี้ นั่นหมายความว่า
จากที่ เรายอมรับข้อจำกัดของหนังเดิมที่มีความหนา ไม่สามารถนำมาเป็นชิ้นด้านข้างกระเป๋ารุ่นนี้ได้แล้ว
จนเจอหนัง ที่พอจะเป็นไปได้ นำมาออกแบบ หาวิธีพับ ตามข้อจำกัดของหนังรุ่นใหม่นี้ จนเราค้นพบ
เทคโนโลยีใหม่ สำหรับการขยายด้านข้างของตัวสินค้า
ย้อนกลับไป ณ วันนั้น หากเราไม่ยอมรับต่อข้อจำกัด เราคงล้มเลิกกระเป๋ารุ่นนี้
หันไปทำกระเป๋าที่ไม่ต้องมีการขยายด้านข้าง เหมือนอย่าง Book Bank Holder และ Card Holder
หรือ Passport Holder ที่มีลักษณะเอาแผ่นหนังมาวางซ้อนกัน แล้วเย็บ คงไม่สามารถขึ้นรูปสินค้า
โดยให้ด้านข้างมีความหนา มากกว่าแค่ความหนาของหนังรวมกัน แล้ว เราจะออกแบบ สินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่านี้
ที่ต้องอาศัยความสามารถขยายได้ของด้านข้าง ได้อย่างไร ที่สุดแล้ว เราผ่านจุดนั้นมาได้ จนได้เทคโนโลยีใหม่
ในทางวิศวกรรม เราได้เทคโนโลยี ที่ใช้เปลี่ยนการขึ้นรูปจาก 2 มิติ เป็น 3 มิติ ได้
(การขึ้นรูป 2 มิติ เป็นลักษณะการเอาแผ่นหนังมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ การขึ้นรูป 3 มิติได้หมายความว่า
เราได้เทคโนโลยีที่สามารถ ทำสินค้าให้เป็นทรงขึ้นได้ โดย ไม่ใช่แค่เอาแผ่นหนังมาวางซ้อนกัน)
เหตุการณ์นี้ เป็นความภูมิใจของทีมออกแบบ ที่ทุ่มเท ตั้งใจ เต็มที่ กับการออกแบบ
เพื่อให้ได้ สินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน The Signature
อย่างไรก็ตาม แม้เราได้เทคโนโลยีใหม่แล้ว แต่ ก็ยังต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของช่าง ในการเย็บ
ใช่ว่า ช่างคนไหน ใครๆก็ทำได้ แม้แต่ ช่างที่มีฝีมือด้วยกัน บางคนยังไม่รู้ ว่า ชิ้นนี้ ทำขึ้นมาได้อย่างไร
แต่ ช่างที่พัฒนาตัวเองจนมีทักษะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญในการเย็บ และไม่กลัวที่จะออกแบบ
จะสามารถทำจนสำเร็จได้
[video=youtube_share;N1T0R7xADRg]http://youtu.be/N1T0R7xADRg[/video]
ในการเย็บ เมื่อเราจับขอบหนังมาซ้อนกันแล้วเย็บ แรงกดของมือที่จับชิ้นงาน แรงกดของเข็ม
การเลื่อนไถลของชิ้นงานเมื่อเย็บ หากจับไม่แน่นพอ ก็จะทำให้ ชิ้นหนังเลื่อนออกจากตำแหน่งได้
จึงต้องใช้สมาธิ กดให้แรง จับให้แน่นและนิ่งพอ เพราะตอนที่ต้องเลื่อนชิ้นงานเข้าไปเย็บจำเป็นต้องปล่อยมือ
ไม่สามารถจับได้ตลอด และเมื่อทำมากชิ้นเข้า มือก็เกิดการเมื่อยล้าเป็นธรรมดา ของงาน หัตถกรรม
ทำให้การจับนั้นไม่มั่นคงพอ ชิ้นหนังจึงเลื่อนออกจากกัน บางชิ้นมาก บางชิ้นเลื่อนเล็กน้อย
ไม่สามารถทำให้เสมอเท่ากันได้ทุกใบ ถึงแม้ ช่างจะพยายามทำให้ได้ทุกๆใบแล้วก็ตาม
ขณะที่ ยังเป็นการเย็บแค่เอาแผ่นหนังซ้อนกัน (ขึ้นรูป 2 มิติ) นั้น ยังทำได้ง่าย
แต่ เมื่อต้องเย็บให้มีความหนาของด้านข้างด้วยแล้ว (ขึ้นรูป 3 มิติ) การเย็บอีกด้านของชิ้นด้านข้าง
การจับด้านนี้ ยากกว่าจับด้านแรก เพราะจับ ณ ตำแหน่งเย็บ ในขณะที่เข็มกำลังเย็บไม่ได้
มีโอกาสที่ชิ้นหนังจะเลื่อนได้ จึงต้องออกแรงกด ตำแหน่งที่ห่างออกไปจากจุดที่ต้องการเย็บ มากขึ้น
และอาศัยเทคนิคที่สะสมมานาน เพื่อทำให้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์
ต้องออกแรงกดเพิ่ม ขณะเดียวกัน ก็ต้องคอยดูให้ชิ้นหนังไม่ให้เคลื่อนที่ วางให้ถูกตำแหน่ง
พยายามให้เสมอเท่ากัน และต้องคุมการเย็บให้ได้แนวตรง หากช่างไม่ใจเย็น
และ ไม่มีทักษะการเย็บมากพอ ทำได้ยากมาก เมื่อเย็บเสร็จแล้ว เพื่อเก็บปลายด้ายให้เรียบร้อย
และเพราะเป็นด้ายไนล่อน สามารถลนไฟ เก็บปลายด้าย โดยด้ายไม่ไหม้ ทำให้งานเรียบร้อยมากขึ้น
เมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะเห็นว่า ชิ้นด้านข้าง ยังคงมีแรงสปริงดันขอบให้โค้งขึ้น
ทั้งนี้ มีแรงดึงของด้ายที่คอยรั้ง ที่เย็บบริเวณขอบทั้ง 2 ข้าง เสริมเข้ามาด้วย
ที่สุดแล้ว บริเวณขอบด้านข้างยังคงโค้ง แต่ อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ เพราะชิ้นด้านข้าง
ที่เป็นลายหนังแบบ The Signature ทำให้ยังคงความสวย ดูดี ลบกับความโค้งที่เกิดขึ้นได้
และเมื่อใส่ของเข้าไปจนเต็ม ก็พอที่จะผ่อนคลายความโค้งนั้นลงได้
ในที่สุด เราก็ได้ Sashy Card Wallet ออกมาให้ได้ใช้กัน ในราคาที่สมเหตุสมผล 150 บาท
ซึ่งเมื่อมองไปยัง งานการออกแบบ และประดิษฐ์ จนได้สินค้านี้ขึ้นมา กว่าจะมาเป็น Sashy Card Wallet
ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ที่ใครก็ได้ จะทำได้ เราเอาใจใส่ ทุกรายละเอียดในการออกแบบ และประดิษฐ์
เพื่อให้ได้สินค้าที่ "แข็งแรง ทนทาน มีฟังก์ชั่น พร้อมใช้งาน" และ "สวย หรู ดูดี เกินราคา"
จึงเป็นอีกบทหนึ่ง ของงานทางวิศวกรรมของ The Signature แบรนด์ที่ ผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ ระดับ Hi End
สนใจ สั่งซื้อ The Signature Sashy Card Wallet ได้ที่ตัวแทนจำหน่าย ค้นหาได้ที่ลิงก์นี้ คลิ๊กเลย