เนื้อที่พระศาสดาทรงห้ามมี 10 ชนิดดังต่อไปนี้
๑.เนื้อมนุษย์ ๖.เนื้อราชสีห์
๒.เนื้อช้าง ๗.เนื้อหมี
๓.เนื้อม้า ๘.เนื้อเสือโคร่ง
๔.เนื้อสุนัข ๙.เนื้อเสือดาว
๕.เนื้องู ๑๐.เนื้อเสือเหลือง
เนื้อที่ทำให้สุกแล้วทานได้เรียกว่า "ปวัตตะมังสะ" คือเนื้อที่มีอยู่แล้ว เนื้อที่เป็นไปโดยปกติ มาทำให้สุกทานได้ ฉันได้
ห้ามประเคน เนื้อดิบ ปลาดิบ ซาชิมิ ลาบเนื้อชาวอีสานกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือดิบล้วนๆ ผสมเลือด
ห้ามเนื้อสัตว์ที่เจาะจงฆ่าเพื่อจะมาถวาย "อุทิสสมังสะ" มาทำอาหารโดยตรงเพื่อพระภิกษุ สามเณร
แต่ถ้าพระภิกษุ ไม่เห็นการฆ่า ไม่ได้ยินเสียงร้อง ไม่ได้สงสัยว่าฆ่ามาเพื่อถวายเจาะจง ไม่เป็นโทษ
กรณีผลไม้มีเมล็ด ควรทำการปอก แคะเมล็ด ทำให้เป็น "กัปปิยะ" เสียก่อนแล้วค่อยประเคนถวายเพื่อไม่ให้ท่านผิดพระวินัย
อาหารที่มีสุราผสม เช่น อาหารจีนบางชนิด ของหมักดองบางชนิด ข้าวหมัก ไม่ควรถวาย
สิ่งที่ประเคนถวายพระได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง
คือเครื่องไทยธรรมประเภทอาหารคาวหวานทุกชนิด อาหารสด อาหารแห้ง (ข้าวสาร ปลาเค็ม น้ำตาล เครื่องกระป๋อง)
ต้องถวายก่อนเที่ยงเท่านั้น ถ้าหลังเที่ยงท่านรับจะผิดพระวินัย แต่ถ้าเราไปหลังเที่ยง ก็แจ้งให้พระภิกษุให้ท่านทราบ ไม่ต้องประเคน
สิ่งของก็นำเอาไปมอบให้แก่ศิษย์พระ เพื่อให้นำมาถวายท่านในวันต่อไปก็ได้ ไม่ผิดพระวินัย
สิ่งที่ประเคนพระภิกษุได้ตลอดเวลา น้ำปานะหรือน้ำอัฏฐบาน
พระพุทธานุญาตน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิด
น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลหว้า ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยไม่มีเมล็ด ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑
น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือองุ่น ๑
น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑
น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะซาง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด
น้ำปานะคือน้ำผลไม้ที่ทรงอนุญาตไว้ มี ๘ ชนิด และอื่นๆ ตามสมควร
พระภิกษุรับประเคนแล้วฉันได้ตลอดวันและคืนหนึ่ง
น้ำส้ม น้ำมะม่วง น้ำมะขาม น้ำมะตูม น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
สารพัดน้ำที่คั้นจากผลไม้ที่ไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม เมื่อนำมาคั้นแล้วก็ต้องกรองด้วย
ส่วนผลไม้ที่ใหญ่กว่าผลมะตูมนั่นคือ น้ำแตงโม น้ำส้มโอ ถวายไม่ได้
น้ำผลไม้ ๙ อย่างที่ทรงห้าม คือ ผลตาล ผลมะพร้าว ผลขนุน ผลสาเก น้ำเต้า ฟักเขียว แตงไท แตงโม ฟักทอง
น้ำนมสด น้ำนมถั่วเหลือง ไมโล เป็นอาหาร (โภชนะ) ไม่ใช่น้ำปานะ
กระทิงแดง ลิโพ เป๊ปซี่ ชาและกาแฟ ถ้ารักษาศีล 8 ดื่มไม่ได้
ผู้ที่รักษาศีล ๘ หรือ ศีล ๑๐ ของสามเณร และพระภิกษุในเวลาวิกาลดื่มน้ำนมถั่วเหลืองไม่ได้
ถ้าดื่มเมื่อไหร่ ศีลข้อที่ ๖ วิกาลโภชณาขาด ส่วนพระภิกษุดื่มต้องอาบัติปาจิตตีย์
สิ่งที่ไม่ควรประเคนถวายพระสงฆ์
เงิน เช็ค ดร๊าฟ ธนบัตร อื่นๆ ไม่ควรประเคนถวายโดยตรง ไม่ว่าจะใส่บาตรหรือย่าม
เพราะเป็นวัตถุ อนามาส พระท่านรับไม่ได้ ผิดพระวินัย
ควรใช้ใบปวารณาแทนตัวเงิน ส่วนเงินก็มอบให้กับ
"กัปปิยการก"คือผู้ดูแลหรือผู้ปฏิบัติต่อพระภิกษุรูปนั้น
สำหรับการบวชพระในแบบธรรมยุต ห้ามจับปัจจัยที่เป็นเงินเด็ดขาด
การประเคนของที่ผิด
ประเคนนอกหัตถบาสเกิน1ศอกทำให้ท่านเอื้อมไม่ถึง
ประเคนโดยการแตะต่อๆกัน เช่น เอาจานข้าวชามอาหารมาแตะต่อกันให้ท่านรับประเคน
ประเคนโดยไม่ยกสิ่งของแสดงการประเคนคือยกให้พ้นพื้น เสือกไส เลื่อนไป เป็นต้น
ประเคนด้วยการไม่เคารพ เช่น ทิ้งให้ โดยที่ท่านยังไม่ได้รับก็วางสิ่งของที่ประเคนเสียก่อน
นำอาหารคาวหวานประเคนเกินเพล โดยอ้างว่ารถติด มาสาย ท่านไม่ได้ขบฉัน ทานหลังเที่ยงได้
การประเคนถ้าผู้กระเคน มีกริยาไม่สุภาพ กริยาไม่เคารพ พระท่านรับประเคนไม่ได้ถ้าทำก็ต้องอาบัติ
บางครั้งบางท่าน ใส่รองเท้า หรือยืนบนรองเท้า สุภาพสตรีใส่เสื้อคอลึก ใส่กระโปงสั้น กางเกงขาสั้นมาก
พระที่เคร่งพระวินัยอาจไม่รับประเคน
ส่วนนี้เป็นเรื่องที่เราชาวพุทธควรมีมารยาทต่อพระภิกษุและสามเณร ความศรัทธาควรทำให้ถูกต้อง
อย่าให้ท่านต้องอาบัติมาวิ่งวุ่นเพื่อปลงอาบัติ ท่านเป็นผู้สำรวมระวัง แต่บางครั้ง เราเองก็ถวายของแบบไม่รู้อะไรเลย
เช่นใส่บาตรตอนเช้าก็เอาเงินใส่ย่ามท่าน ใส่บาตรท่าน บาตรท่านเต็มก็จะใส่อาหารลงไปให้ได้ก็ยัดลงไป
ส่วนของที่เราใช้แล้ว ไม่ได้เป็นของใหม่ เช่น น้ำปลา ซอส ที่เราแกะมาใช้แล้วไม่ควรประเคนถวาย