คำพูดส่อเสียด
โดย PREZZO
PREZZO
#1
การพูดส่อเสียด หมายถึง การที่บุคคลใดนำ ความข้างนี้ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้หรือหมู่โน้น
หรือยุยงคนให้แตกความสามัคคีหรือส่งเสริมหมู่ชนที่แตกกันแล้วให้ชื่นชอบยินดี ให้เพลิดเพลินในความแตกแยกกันและรวมถึงการกล่าวแต่คำที่ทำให้แตกแยกกัน


การพูดส่อเสียดนี้ครอบคลุมถึงการกระทำใน ๔ ลักษณะ คือ

๑. การพูดส่อเสียดด้วยตนเอง
๒. ชักชวนให้ผู้อื่นพูดส่อเสียด
๓. พอใจในการพูดส่อเสียด
๔. กล่าวสรรเสริญการพูดส่อเสียด

เสียดสี.....เป็นกริยา แปลว่า ว่าเปรียบเปรย ว่ากระทบกระทั่ง ว่าเหน็บแนม
ส่อเสียด...เป็นคำกริยา แปลว่า ยุยง พูดให้เขาแตกร้าวกัน
เมื่อท่านเข้าใจและแยกแยะตรงนี้ได้ ท่านจะสนุกกับคำว่า "ส่อเสียด" และ "เสียดสี" ครับ

ปราชญ์โบราณ ท่านพูดถึง "ปากส่อเสียด" ไว้ว่า

คือ ปากที่ชอบพูดยุยงให้คนทั้งสองฝ่ายแตกร้าวกัน เข้าตำราที่ว่า "ยุให้รำตำให้รั่ว" นั่นแหละครับ

ชอบพูดแหย่ยั่วให้คนในชาติเกิดความบาดหมาง โกรธแค้นเจ็บช้ำน้ำใจต่อกัน

บางคนชอบพูดแบบกระซิบกระซาบ เป่่าหูให้เขาหลงไหลว่าเป็นจริงตามที่ตนมาบอกกล่าว

ปากที่ชอบพูดยุยงให้เขาแตกกันแหย่ให้เขาเข้าใจผิดกัน

กระซิบกระซาบให้เขาเข้าใจผิด ทำลายให้คนที่เขาอยู่รวมกันต้องแยกออกเป็นฝ่ายเป็นพรรคเป็นซีก

ตัดไมตรีของแต่ละฝ่ายให้ขาดสะบั้น และทำความติดต่อของแต่ละฝ่ายให้ขาดตอน

นี่แหละครับท่านที่เคารพ คือ "ปากส่อเสียด"

เรามาดูกันต่อไปว่า การพูดคือคำพูดจะเป็นลักษณะส่อเสียดหรือไม่นั้น?

มีองค์ประกอบอยู่ 4 ประการ

1. ผู้ที่จะพึงยุ (ผู้ถูกยุ) เป็นคนอื่นมีตัวตนอยู่ (ไปพูดยุผีในป่าช้าไม่เข้าข่ายครับ)

2. ผู้ยุ มุ่งให้เขาแตกแยกหันมารักตน (หรือมุ่งหมายจะให้เป็นภัยแก่คนอื่น)

3. ผู้ยุ พยายามยุตามเจตนานั้น (ยุให้เขาแตกร้าวกัน แหย่ให้เขาบาดหมางใจกัน)

4. ผู้ถูกยุ เชื่อข้อความตามที่ผู้ยุต้องการ (ผู้ยุคอยเป่าหูผู้ถูกยุมิให้เข้ากันได้อีก)


การกระทำพร้อมกันทั้งองค์ 4 นี้ จึงจะนับว่าเป็นการ"พูดส่อเสียด"

ขอให้ท่านจงระมัดระวังคนปากส่อเสียดให้จงหนัก

พิจารณาง่าย ๆ คนพวกนี้จะมีนิสัยแยกพวก เป็นคนบ่อนแตกเข้าที่ไหนแตกที่นั่น

เพราะเป็นคนแส่หาเรื่องยุแหย่ให้เขาแตกความสามัคคี ยินดีเพลิดเพลินอยู่ในเรื่องยุแหย่

คอยเก็บเอาเรื่องอันจะก่อให้เกิดระแวงและผิดใจของฝ่ายนี้ไปพูดให้ฝ่ายโน้นฟัง

เก็บเอาเรื่องของฝ่ายโน้นมาพูดให้ฝ่ายนี้ฟัง และยุให้ทั้งสองฝ่ายเกิดทะเลาะวิวาทแตกความสามัคคี


ขอยกชื่อ "วัสสการพราหมณ์" ผู้ยุยงกษัตริย์ลิจฉวี ให้แตกความสามัคคีถึงขั้นเสียบ้านเมือง เป็นตัวอย่าง

เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง พยายามทำหรือพูด เพื่อต้องการให้คนอื่นมารักชอบตนก็ดี เพื่อต้องการทำลายคนอื่นก็ดี
ศัพท์ทางพระท่านเรียกว่า คำพูดส่อเสียด หรือ การพูดให้ร้ายลับหลัง โดยมุ่งให้คนอื่นเกิดความแตกแยก เมื่อคนอื่นแตกแยกกันแล้ว จัดเป็นทางที่นำไปสู่ทุคติ ทางไม่ดี

การพูดคำส่อเสียดนั้น จะต้องประกอบด้วยหลัก 4 ประการ คือ

1. คนที่จะถูกว่าร้ายให้เสียหาย

2. มีความคิดที่จะพูดส่อเสียด

3. พยายามจะพูดออกไป

4. คนอื่นเข้าใจผิดในเรื่องนั้น

การพูดคำส่อเสียด ท่านว่ามีโทษมากมาย ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ

1. ผู้ที่ถูกทำลายให้แตกแยกกันนั้น มีคุณมาก

2. คนเหล่านั้นแตกแยกกัน

3. ผู้พูดมีกิเลสแรงกล้า

การพูดคำส่อเสียดที่ตรงกันข้ามจากเหตุ 3 ประการนี้ ท่านว่า มีโทษน้อย

โทษของการพูดคำส่อเสียดนี้ มีเรื่องเล่าเป็นอุทาหรณ์ว่า

มีพระเถระผู้ใหญ่อยู่ 2 รูป รูปหนึ่งมีพรรษา 60 อีกรูปหนึ่งมีพรรษา 59 สนิทสนมกลมเกลียวกันมาก ทั้งสองรูปจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งหนึ่ง อุดมสมบูรณ์ด้วยภัตตาหาร

ต่อมา มีพระมาใหม่อีกรูปหนึ่ง มาขออยู่ในวัดนั้นด้วย เพราะเห็นว่าเป็นวัดที่มีลาภสักการะมาก พออยู่ได้ไม่นาน ก็มีความคิดที่จะขับไล่พระเถระทั้ง 2 รูปนั้น
จึงเข้าไปหาทีละรูปแล้ว พูดว่า เมื่อวันที่กระผมมาที่นี่ พระเถระรูปนั้น บอกผมว่า คุณเป็นคนดี จะคบหาสมาคมกับพระมหาเถระ ต้องพิจารณาให้ดีก่อน พูดเหมือนกับรู้ความลับ ความเสียหายของท่าน เสร็จแล้ว ก็เข้าไปหาอีกรูปหนึ่ง พูดอย่างเดียวกันนั้น

ครั้งแรกๆ ทั้ง 2 รูป ต่างไม่เชื่อถ้อยคำยุยงของพระผู้มาใหม่นั้น แต่พอนานไป กลับเกิดความบาดหมางกัน ในที่สุดแล้วก็แตกแยกกัน ต่างคนต่างออกจากวัด พระรูปนั้น จึงได้ครองวัดนั้นแต่เพียงรูปเดียว

เมื่อพระเจ้าอาวาสรูปใหม่นั้นมรณภาพแล้ว ไปเกิดในนรกชั้นอเวจี พ้นจากนรกนั้นแล้ว ไปเกิดเป็นเปรต มีส่วนร่างกายเหมือนมนุษย์ทุกอย่าง แต่มีศีรษะเหมือนสุกร ต้องเสวยทุกข์อยู่ตลอดเวลายาวนาน

เรื่องนี้จึงเป็นตัวอย่างให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า การพูดทำให้คนแตกสามัคคีกันนั้น เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์โทษแก่ตนอย่างมากมาย เป็นบาปหนัก

วิบากกรรมของคนที่ชอบพูดส่อเสียด

การพูดส่อเสียดหมายถึง พูดให้แตกแยก พูดพาดพิง พูดให้ร้ายฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบา ที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ

๑. ชอบตำหนิตนเอง
กล่าวคือ เมื่อได้ทำอะไรผิดมักอุทานออกเป็น คำพูที่ตำหนิตนเอง เช่น "บ้าจัง" หรือ "แย่ จริง" บางคนกลัวเพื่อนฝูงจะหยิบยืมเงิน ทอง มักชอบพูดเป็นทำนองว่าตนเองไม่มี เงินหรือบางคนชอบพูดว่าตนเองไม่ดีอย่างโน้นอย่างนี้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นเพราะอดีตชาติชอบตำหนิและส่อเสียดผู้อื่นไว้ อำนาจนี้จึงทำให้ ชาติต่อ ๆ ไปกล้าที่จะตำหนิตนเองซึ่งเป็นชีวิตที่เรารักที่สุดได้

๒. มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง
หลายท่านอาจเคยประสบพบเห็นมาว่าเมื่อมี เรื่องราวอะไรเกิดขึ้น หรือมีข้าวของอะไร เสียหาย เด็กบางคนมักจะถูกพ่อแม่ดุเป็น ประจำทั้ง ๆ ที่เด็กคนนั้นไม่ได้ทำอะไรผิดเลย หรือขณะที่เด็ก ๆ เล่นกัน เมื่อมีเรื่องราวเกิดขึ้นเด็กบางคนต้องตกเป็นผู้ เสียหาย ถูกฟ้องทั้งที่ตนเองเป็นฝ่ายถูก นั่นคือไม่ว่าจะมีความผิดใด ๆ เกิดขึ้น แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำก็จะถูกมองว่าเป็นคนผิด นักโทษที่ถูกตำรวจ จับและต้องถูกกักขัง บางรายก็ไม่ได้กระทำผิดจริง แต่กลับถูกส่งฟ้อง เพราะสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นหลักฐานสำคัญทำให้ถูกจับ การถูก กักขังก็เป็นผลเนื่องจากอดีตชาติเป็นคนที่ชอบกักขังสัตว์มาก่อนนั่นเอง

๓. ถูกบัณฑิตติเตียน
กล่าวคือไม่ว่าจะทำการงานอะไร แม้งานที่ คิดว่าเสร็จสมบูรณ์ดีแล้ว ก็ยังมีช่องโหว่ทำ ให้ได้รับคำตำหนิจากหัวหน้างาน หรือเด็ก บางคนที่ถูกพ่อแม่ครูอาจารย์ดุเป็นประจำ

๔. แตกกับมิตรสหาย
เช่น คนมีพฤติกรรมบางอย่างที่ ใคร ๆ ไม่ชอบหรือเป็นคนที่เข้ากับ ใคร ๆ ไม่ได้ แม้มีเพื่อนก็มีเหตุทำให้ ต้องมีเรื่องแตกแยกในที่สุด ทั้งนี้ เป็นเพราะอดีตชาติได้เคยส่อเสียด คนอื่นเอาไว้มาก อำนาจนี้จึงทำให้ ต้องได้รับผลคือ ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย เป็นการแตกกับมิตร สหายนั่นเอง อกุศลกรรมในข้อนี้ถ้าพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว หลาย ๆ คนยังประพฤติและปฏิบัติกันอยู่ เช่น การกล่าวถึงบุคคลอื่นในทางที่ไม่ดี การกระทำนี้จะสร้างความสันทัดให้ติดตัวไป และในที่สุดจะผลักดันให้มี การกระทำทางวาจา เช่น หลาย ๆ คนเมื่อมีเสียงดังจากภาชนะที่ตกหล่น มักจะส่งเสียงร้องโทษแมว อันนี้เป็นผลของความสันทัดในการส่อเสียด เริ่มต้นจากการว่าแมวแล้วอาจส่อเสียดคนอื่น ๆ ต่อไปได้อีก เมื่อได้กระทำ กรรมเช่นนั้นย่อมได้รับผลดังที่กล่าวมาแล้ว
pepsi5510
#2
อ่านแล้วดีมากเลย..

ขอบคุณในบทความแนะนําครับ.
organ_kaviya
#3
ขอบคุณค่ะ อ่านเเล้วดีจัง
PrimmRose
#4
คุณ PREZZO มีเรื่องดีๆมาแชร์กันเสมอ ขอบคุณค่ะ:o
Meesook
#5
บทความดีจังค่ะ เป็นข้อที่ต้องคิดในการสื่อสารในเวปบอร์ดมากๆ ด้วยค่ะ ขอบคุณนะคะ :)
noinoi5
#6
อ่านแล้วให้รู้สึกละอายแก่ตนเอง....แต่ก็ยังวนเวียนในวิบากกรรมนี้อยู่
อันติฉินนินทา...มิอาจไปห้ามผู้ใดได้....
เราเองนั้นไซร้..จะเลิกพูดจาส่อเสียด...หรือว่าเทียบเคียงผู้อื่นเพื่อนึกสนุก
แต่จะเปลี่ยนเป็นพูดสรรเสริญผู้อื่นแทน

ขอบคุณบทความดีๆจกคุณprezzoค่ะ...และขออนุญาตยืมบทความนี้นะคะ
เพื่อนำไปใช้ในงานติดไว้ให้ลูกน้องที่ออฟฟิศอ่าน...:p
apinya40
#7
ขอบคุณสำหรับบทความดีดีค่ะ
due
#8
[SIZE="5"]ใครที่อ่านบทความนี้แล้ว อย่าเพิ่งนึกถึงคนอื่นว่าใครมีนิสัยแบบนี้บ้าง
แต่ให้ดูตัวเราเองก่อน ว่าเราเป็นคนแบบนี้หรือเปล่า แล้วแก้ที่ตัวเราก่อน
จะได้ไม่ต้องพบวิบากกรรมที่เกิดจากการพูดส่อเสียด

สาธุ ขอบคุณน้องป๊อปสำหรับบทความดีๆ ที่นำมาเตือนสติกันอยู่เสมอๆค่ะ:)
hut2211
#9
การคิดและกระทำกับใครแบบไหนย่อมได้รับผลแบบนั้นเป็นธรรมดาครับ
แทนทีจะกล่าวว่าร้าย นินทา ยุยงคนอื่น
เปลี่ยนเป็นอธิฐานให้คนอื่นได้ดีและยินดีกับการที่เค้าได้ดี แทนดีกว่า
ความดีนั้นย่อมกลับมาสู่ผู้อธิฐานเป็นธรรมดา และใจก็ใสสบายกว่า
และยังเป็นการพัฒนาจิตใจเราเองด้วยอย่างหนึ่ง
ลองทำดู คุณ ๆ ทำได้ครับ ค่อย ๆ ฝึกวันละนิด
จิตที่นึกจะตำหนิหรือติเตียนคนอื่น(หรือคิดไม่ดีกับคนอื่น) ก็จะค่อย ๆ ลดลง
และ เบาสบายขึ้นครับ :D

ขอบคุณพี่ป๊อป สำหรับบทความดี ๆ ที่นำมาฝากกันครับ :D
mamee
#10
ขอบคุณมากนะคะ
TEDDY07
#11
ขอบคุณมากๆจ๊ะ
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3