มาทำความรู้จักโรคนิ้วล็อค โรคฮิตของคนส่วนใหญ่ในวัยทำงาน
โดย chutikan
chutikan
#1
โรคนิ้วล็อค ความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้ตามปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพต้องใช้มือหรือนิ้วในการจับสิ่งของในการทำงานเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพครูที่จะต้องจับปากกา หรือชอล์กเขียนกระดานเป็นเวลานานๆ หรือช่างตัดผมที่จะต้องใช้มือ หรือนิ้ว ในการจับกรรไกรไว้ตลอด

นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มหนุ่มสาวชาวออฟฟิศ และวัยทำงานหลาย ๆ คนก็มักจะประสบปัญหา โรคนิ้วล็อค เช่นเดียวกัน เนื่องจากต้องต้องใช้มือในการพิมพ์งานด้วยคอมพิวเตอร์ จับเมาส์เวลานานๆ หรือแม้แต่การใช้สมาร์ทโฟนในชีวิตประจำวัน เนื่องจากการออกแรงกำแน่น ๆ แล้วทำต่อเนื่องกันซ้ำ ๆ เป็นเวลาครั้งละนาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ อีกด้วยเช่นกัน



โรคนิ้วล็อค
“เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว ภาวะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ปลอกเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้วหนาตัวขึ้น เอ็นบวม ทำให้ปลอกรัดเอ็นมากขึ้น ”

สาเหตุ
อาจเกิดจากการใช้แรงงอนิ้วมากๆ หรือกำนิ้วแน่นมากๆ ทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นมาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหรือการเสื่อมของเซลล์ร่วมด้วย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยร่วมกับโรคเบาหวาน รูมาตอยด์

อาการแบ่งเป็น
ระยะที่ 1 :
มีอาการปวดตึง งอสะดุดบ้าง กดเจ็บ บริเวณข้อโคนนิ้วทางด้านหน้ายังงอเหยียดได้เต็มที่
ระยะที่ 2 : งอนิ้วสะดุด นิ้วติดเหยียดไม่ออกต้องช่วยง้างออก
ระยะที่ 3 : งอนิ้วไม่ได้ หรืองอได้แล้วนิ้วติดเหยียดไม่ออกต้องช่วยง้างออก
ระยะที่ 4 : นิ้วติดอยู่นาน ข้อนิ้วยึดติด

การรักษา
อาการระยะที่ 1 และ 2
อาจรักษาหายได้โดย

- การกินยา NSAID
- แช่น้ำอุ่น
- ทายา ค่อย ๆ บริหารเหยียดนิ้วทุกวัน

อาการขั้นที่ 3 และ 4
- ฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็น ซึ่งจะต้องผสมยาชาเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยปวดมาก
- บริหารเหยียดนิ้ว และไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง ถ้าไม่หายหรือหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีก แนะนำให้ผ่าตัดเนื่องจากการฉีดยาบ่อย ๆ จะทำให้เอ็นเปื่อยและขาดได้

การผ่าตัดรักษา
ควรผ่าตัดในห้องผ่าตัด ใช้ยาชาฉีดบริเวณแผลผ่าตัด เปิดแผลด้านหน้าข้อโคนนิ้วที่จะผ่าตัด แยกหลอดประสาทออกไปด้านข้างจนเห็นปลอกหุ้มเอ็นชัดเจน ใช้ใบมีดตัดปลอกหุ้มเอ็น จากนั้นเย็บปิดแผล ผู้ป่วยจะงอนิ้วได้ปกติทันทีโอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนแทบไม่มีเลย

การดูแลหลังผ่าตัด
ผู้ป่วยควรกำมือบ่อยๆ และยกมือสูงๆ ไม่ควรให้แผลถูกน้ำ โดยทั่วไปจะตัดไหมประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด

การป้องกันโรคนิ้วล็อค
1.ไม่หิ้วของหนักเช่น ถุงพลาสติก ตะกร้า ถังน้ำ แต่หากจำเป็นควรมีผ้าขนหนูรอง และให้น้ำหนักตกที่ฝ่ามือหรือใช้วิธีอุ้มประคองหรือนำใส่รถลาก
2.ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อค ควรซักผ้าด้วยเครื่อง
3.นักกอล์ฟที่ต้องตีแรง ตีไกล ควรหลีกเลี่ยงใช้ก้านเหล็กตีกอล์ฟขณะปวด ควรเปลี่ยนก้านไม้กอล์ฟเป็นก้าน Fiber ชั่วคราว
4.หลีกเลี่ยงงานที่มีแรงสั่นสะเทือน หรือควบคุมเครื่องจักร เช่น ไขควง กรรไกรตัดกิ่งไม้ เลื่อย ค้อน ควรใส่ถุงมือหรือหุ้มด้ามจับให้นุ่มขึ้น
5.ควรหลีกเลี่ยงการยกของด้วยมือเปล่า และควรใช้เครื่องทุ่นแรง เช่น รถเข็น รถลาก
6.งานที่ต้องทำต่อเนื่องนาน ๆ ควรพักมือเป็นระยะ

วิธีคลายปวดจากข้อนิ้วล็อค
1.ขยับนิ้ว+แช่มือในน้ำอุ่นตอนเช้า ๆ 5-10 นาที
2.เมื่อต้องกำหรือจับสิ่งของแน่น ๆ ควรดัดแปลงอุปกรณ์ให้ด้ามจับนุ่มขึ้น

โรคนิ้วล็อคพบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ที่ต้องหยิบจับสิ่งของหรืออุปกรณ์อย่างต่อเนื่องนานๆ หรือใช้มือหิ้วของหนักๆ หากมีอาการเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้วมือ เวลางอนิ้วแล้วเหยียดขึ้นเองไม่ได้ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที

ปลดล็อค นิ้วล็อค ด้วยการผ่าตัดในห้องผ่าตัด ปลอดเชื้อ ปลอดภัย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนนทเวช ยินดีให้คำปรึกษาและรักษาโดยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.nonthavej.co.th/Trigger-Finger.php
ดูกระทู้ทั้งหมดในชุมชน จาก  Downtown ดูกระทู้ในหมวด ดูกระทู้ในหมวดย่อย
กระทู้แนะนำจากการคัดเลือกอัตโนมัติ
1
2
3