หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงประกาศใช้ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ณ ทำเนียบรัฐบาล ได้เห็นชอบประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศใช้แล้ว โดยจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม ไปจนถึงปลายเดือนเมษายน เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน โดยเบื้องต้นจะใช้ 14 มาตราในการควบคุมสถานการณ์ ก็มีหลายๆ คนมีความสงสัยว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คืออะไร?เราก็เลยเอาความหมายของคำว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาอธิบายให้เพื่อนๆ ศึกษากันว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คืออะไร มีข้อห้ามอะไรบ้าง? และผู้ที่ขัดต่อ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะได้รับโทษอะไรพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) หรือ รัฐกำหนด (Emergency Decree) หมายถึง กฎหมายรูปแบบหนึ่งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามที่รัฐธรรมนูญวางไว้ว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตรา ซึ่งจะต้อง ได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน พระราชกำหนดมีผลใช้บังคับได้ดังพระราชบัญญัติ ดังนั้นพระราชกำหนดจึงแก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิกพระราชบัญญัติได้
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน คืออะไร มีข้อห้ามอะไรบ้าง?
พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือ กฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่รัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์ที่อาจกระทบต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อความปลอดภัยของประเทศ
ข้อห้าม ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ม.9)
ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด
ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน
ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่ายหรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีตนบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือยานพาหนะ
ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ
ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่เพจ>>รีวิวสล็อตออนไลน์